CAT-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
  • รายการ
    การศึกษาการบริหารความเสี่ยงความปลอดภัยของเครื่องบินขณะลงสนามบินตามมาตรฐานองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ กรณีศึกษา พื้นทางวิ่งเปียก
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ธนากร เอี่ยมปาน
    อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศมีหน้าที่กำหนด และรักษามาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินทั่วโลก จากข้อมูลอากาศยานอุบัติเหตุขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ในปี 2016 พบว่า จำนวนอากาศยานอุบัติเหตุ ซึ่งมากกว่า 50% เกิดจากเครื่องบินออกนอกทางวิ่ง บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงความปลอดภัยของเครื่องบินขณะลงสนามบิน ตามมาตรฐานองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศกรณีศึกษาพื้นทางวิ่งเปียก ขั้นตอนการดำเนินการ โดยการศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประเมิน และนำเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงความปลอดภัยของเครื่องบินขณะลงสนามบินตามมาตรฐานองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ กรณีศึกษาพื้นทางวิ่งเปียก ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการบริหารจัดการปฏิบัติการบินของเครื่องบินเมื่อพื้นทางวิ่งเปียก ได้แก่ (1) คำนวณหาความเร็วในการลงสนามบินของเครื่องบิน (2) การพิจารณาสภาพพื้นทางวิ่งของสนามบินปลายทาง (3) คำนวณหาความเร็วไฮโดรแพลนนิ่งแบบไดนามิก (4) พิจารณาความเร็วในการลงสนามบินของเครื่องบินมีค่ามากกว่าความเร็วไฮโดรแพลนนิ่งแบบไดนามิก ซึ่งการลงสนามบินครั้งนี้เป็นการลงสนามบินในกรณีไฮโครแพลนนิ่ง และ (5) นักบินใช้เทคนิคการบินสำหรับปฏิบัติการบินลงสนามบินเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ดังนั้นผู้บริหารองค์กรการบินต้องบริหารจัดการระบบความปลอดภัยในองค์กรและจัดการอบรมให้ความรู้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันอากาศยานอุบัติเหตุ
  • รายการ
    การบริหารความผิดพลาดของมนุษย์ในการบิน
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12) ธนากร เอี่ยมปาน
    บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารความผิดพลาดของมนุษย์ในการบิน โดยมีหัวข้อที่สำคัญ คือ (1) วิวัฒนาการของความปลอดภัยการบิน (2) ทฤษฎีความผิดพลาดของมนุษย์ในการบิน (3) แนวทางการบริหารความผิดพลาดของมนุษย์ในการบิน และ (4) การวิเคราะห์อากาศยานอุบัติเหตุ Air France Flight 447 จากการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า นักบินต้องเรียนรู้การปฏิบัติงานด้านการบินและทบทวนศึกษาแนวทางการจัดการความผิดพลาดในการบิน ได้แก่ (1) ความผิดพลาดจากการทำรายการตรวจสอบ (2) ความผิดพลาดจากการติดต่อสื่อสาร (3) ความผิดพลาดจากการไม่ปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติ และ (4) ความผิดพลาดจากการวางแผนการบิน โดยในช่วงห้าปีที่ผ่านมามีการเติบโตของปริมาณการจราจรทางอากาศในแต่ละปีโดยเฉลี่ย 6.50% และนักบินมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการควบคุมบังคับเครื่องบิน จากสถิติของการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุพบว่ามีสาเหตุหลักของการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุมากกว่า 70.00% เกี่ยวข้องกับปัจจัยมนุษย์ (นักบิน) นักบินจำเป็นที่จะต้องนำความรู้ความสามารถที่ได้รับจากการเรียนการสอนมาใช้ในการบังคับควบคุมเครื่องบิน ดังนั้น นักบินต้องแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นเพื่อให้การปฏิบัติการบินมีความปลอดภัย ซึ่งความปลอดภัยทางการบินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการบิน โดยมีจุดมุ่งหมายในการรักษาชีวิตของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากรและเพิ่มผลผลิต