การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง โดยใช้กระบวนการ EDFR
กำลังโหลด...
วันที่
2566-04-25
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์
เชิงนามธรรม
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลในพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง และ 2) เพื่อพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยเทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 2 ขั้นตอน คือ 1) EDFR รอบที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 19 คน 2) EDFR รอบที่ 2 และรอบที่ 3 การตอบแบบสอบถาม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลกลุ่มเดิม ให้พิจารณาคำตอบและยืนยันความสอดคล้องของข้อมูล หาฉันทามติ (Consensus) ของกลุ่มโดยการคำนวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลในพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย 1) คุณสมบัติในเชิงพื้นที่ คือ 1.1) ชุมชนมีความหลากหลายและโดดเด่นทางวัฒนธรรมหรือธรรมชาติ 1.2) ชุมชนมีความตระหนักรู้ในคุณค่าของชุมชนโดยเจ้าของวัฒนธรรม 2) คุณสมบัติในเชิงกระบวนการ คือ 2.1) นักท่องเที่ยวกับชุมชนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม 2.2) นักท่องเที่ยวมีประสบการณ์ตรงร่วมกับเจ้าของวัฒนธรรม 2.3) นักท่องเที่ยวเข้าใจอย่างลึกซึ้งในพื้นที่ท่องเที่ยว 2.4) ไม่ทำลายคุณค่าของชุมชนแต่กลับนำไปสู่ความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
2. การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วยหลักการพัฒนา 2 ด้าน คือ 1. ด้านการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน 5 ด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน 1.2) ด้านการจัดการเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต 1.3) ด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม 1.4) ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม 1.5) ด้านการบริการและความปลอดภัย 2. ด้านการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ 2.1) ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ 2.2) การตลาดเชิงสร้างสรรค์ 2.3) การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
คำอธิบาย
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าบนพื้นฐาน อัตลักษณ์ความเป็นไทย วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ ที่ไม่เหมือนเดิมจากการลงมือทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เอกลักษณ์ท้องถิ่นและเข้าถึงความรู้สึก ที่มีต่อชุมชน การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จะช่วยสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและทำให้คนในชุมชนเชื่อมั่นในตนเองมากยิ่งขึ้น ถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่แท้จริง (Designated Areas for Sustainable Tourism Administration, 2018) สามารถกล่าวได้ว่าการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวโดยรวม และมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปีอย่างมีนัยยะสำคัญ (Promkan, Phratheppariyattimedhi, & Girdwichai, 2019) เมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังคงได้รับความไว้วางใจให้เป็นฟันเฟืองหลักที่สำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทย รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ เน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และกระจายโอกาสในเชิงพื้นที่ให้กับท้องถิ่น (Laongpliu, 2019) ซึ่งเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2561-2565 อีกทั้งยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มี
คำหลัก
การพัฒนา, การจัดการ, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
การอ้างอิง
-