ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กระหว่างการสอบสวน ศึกษากรณีเด็กเป็นผู้ต้องหา

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2553-05-18T08:24:25Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

การดำเนินคดีอาญากับเด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญานั้น มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินคดีที่แตกต่างจากการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่ เพราะการดำเนินคดีอาญากับเด็กหรือเยาชนมีจุดมุ่งหมายเพื่อการฟื้นฟูสภาพทั้งร่างกายและจิตใจและให้เด็กกลับคืนสู่สังคมต่อไป มิใช่การดำเนินคดีเพื่อลงโทษให้หลาบจำดังเช่นผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่ แม้ว่าจะมีความพยายามในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กที่เป็นผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน ทั้งเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในการให้ทนายความเข้าร่วมการสอบปากคำในชั้นสอบสวน การให้ผู้ที่เด็กไว้วางใจเข้ารับฟังการสอบปากคำ การแยกการสอบสวนที่ให้กระทำเป็นสัดส่วนการถามคำให้การผู้ต้องหาที่เป็นเด็ก ต้องถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้อธิบายคำถามของพนักงานสอบสวนมิให้เด็กต้องได้รับการกระทบกระเทือนใจจากคำถามที่พนักงานสอบสวน แต่การดำเนินการในการสอบสวนเด็กที่เป็นผู้ต้องหายังมีปัญหาข้อกฎหมายที่ก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนสิทธิของเด็กที่เป็นผู้ต้องหาดังนี้ 1.ปัญหาการนำชี้สถานที่เกิดเหตุและการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ ซึ่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ทำให้ยังมีการนำผู้ต้องหาที่เป็นเด็ก นำชี้สถานที่เกิดเหตุและทำแผนประกอบคำรับสารภาพโดยเปิดเผยต่อหน้าสาธารณชน อันเป็นการประจานเด็กและตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2548 ได้วางแนวคำและตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2548 ได้วางแนวคำวินิจฉัยว่า การนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบการดำเนินคดีไม่ใช่การสอบถามปากคำและไม่ใช่การชี้ตัวผู้ต้องหาซึ่งมีบทบัญญัติโดยเฉพาะจึงไม่ต้องมี สหวิชาชีพเข้าร่วมในการดำเนินการดังกล่าว 2. แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 /2ประกอบมาตรา 133 ทวิ จะกำหนดให้การสอบปากคำเด็กที่เป็นผู้ต้องหาต้องมีบุคคลที่เด็กร้องขออยู่ด้วยในการถามปากคำ เพื่อให้เด็กมีความอุ่นใจและผ่อนคลายในขณะถูกถามปากคำ แต่เนื่องจากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้กำหนดว่าบุคคลที่เด็กร้องขอจะเป็นผู้ใด ซึ่งต่างจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศสหรัฐอเมริกาที่กำหนดให้การสอบสวนเด็กต้องกระทำต่อหน้าพ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง 3. แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จะกำหนดให้มีทนายความเข้าร่วมการสอบสวนแต่ก็มิได้มีระยะเวลาในการพบและให้คำปรึกษากับเด็กเพื่อให้เด็กทราบถึงสิทธิหน้าที่ของเด็กในการสอบปากคำ ทำให้เห็นว่าการมีทนายความเข้าร่วมการสอบปากคำเด็กในปัจจุบันได้กระทำเพื่อให้ครบองค์ประกอบตามกฎหมายเท่านั้นไม่ได้มีการดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กที่เป็นผู้ต้องหาอย่างแท้จริง ดังนั้น หากมีการกำหนดไม่ให้การนำชี้ที่เกิดเหตุและการทำแผนประกอบคำรับสารภาพในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนเป็นผู้ต้องหาในที่สาธารณชนและในกรณีที่มีการนำชี้สถานที่เกิดเหตุและทำแผนประกอบคำรับสารภาพของเด็กหรือเยาวชนที่เป็นผู้ต้องหา ต้องมีสหวิชาชีพและทนายความเข้าร่วมดำเนินการด้วย และบุคคลที่เด็กร้องขอให้เข้าร่วมการสอบสวนควรจะเป็นพ่อ แม่ หรือผู้ปกครองของเด็ก นอกจากนี้ต้องกำหนดระยะเวลาให้เด็กที่เป็นผู้ต้องหาได้พบและปรึกษาทนายความก่อนการสอบสวนด้วย

คำอธิบาย

คำหลัก

กฎหมาย, การคุ้มครอง, สิทธิเด็ก, การสอบสวน

การอ้างอิง

คอลเลคชัน