ปัญหากฎหมายการทำธุรกิจเกี่ยวกับวัตถุอันตราย: ศึกษากรณีการคุ้มครองผู้บริโภค

dc.contributor.authorอรพรรณ ปางแก้วen_US
dc.date.accessioned2555-03-09T09:32:04Z
dc.date.available2555-03-09T09:32:04Z
dc.date.issued2555-03-09T09:32:04Z
dc.description.abstractในปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมการประกอบกิจการ การใช้งานและการจัดการเกี่ยวกับของเสียที่เกิดขึ้น จากวัตถุอันตรายอยู่บ้างแต่ในทางความเป็นจริงกลับพบว่าได้เกิดปัญหาต่าง ๆ จากเกี่ยวกับสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายหลายประการด้วยกันคือ ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าซึ่งเป็นวัตถุอันตรายนั้น แทนที่จะให้มีการแสดงให้ผู้บริโภคทราบถึงความไม่ปลอดภัยและต้องใช้เท่าที่จำเป็น กลับมีการใช้สื่อโฆษณาเพื่อแสดงให้เห็นว่าสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายต่าง ๆ เหล่านั้นก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตได้ดีเพียงใด และไม่สนใจว่าผู้บริโภคจะใช้สินค้านั้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังไม่มีกฎหมายที่ควบคุมเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายอย่างเพียงพอ หรือในกรณีที่เกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหาย หรือกำหนดอายุความในการเรียกร้องค่าเสียหายของผู้บริโภคจะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับผู้ประกอบการเกี่ยวกับสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายนั้น ก็ควรจะต้องมีระยะเวลาที่ยาวนานกว่าอายุความในการฟ้องเรียกร้องทางละเมิดโดยทั่วไป เนื่องจากลักษณะของความเสียหายที่แตกต่างจากความเสียหายทั่วไป ซึ่งอายุความเดิมที่ได้มีการกำหนดไว้นั้นจึงไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากวัตถุอันตราย และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้วหากเป็นความเสียหายที่เกิดโดยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ประกอบการแล้ว ก็ควรที่จะมีบทลงโทษในทางแพ่งด้วย เช่น การกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษเกี่ยวกับสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายด้วย นอกจากนี้การจัดการของเสียอันตรายที่เกิดจากการใช้งานในครัวเรือนนั้นตอนนี้ยังไม่มีกฎหมายที่ออกมาควบคุมการใช้งานแต่ประการใด ดังนั้นเพื่อให้มีการจัดการอย่างถูกวิธีหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงต้องมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมออกมาเพื่อจัดการของเสียที่เกิดจากวัตถุอันตรายดังกล่าว ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงจะต้องมีการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายบางประการเพื่อให้สอดคล้องกับการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าที่เป็นวัตถุอันตราย กล่าวคือ ในเรื่องเกี่ยวกับการโฆษณาก็ควรจะให้มีกฎหมายที่ควบคุมเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และให้อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือในเรื่องของอายุความและค่าเสียหายก็ควรมีการบัญญัติให้อายุความมีระยะเวลาที่นานกว่าการเรียกค่าเสียหายทั่วไปและควรให้มีการบัญญัติถึงค่าเสียหายเชิงลงโทษในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นการลงโทษผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย ส่วนในเรื่องของการจัดการของเสียที่เกิดจากวัตถุอันตรายในส่วนของการใช้งานจากผู้บริโภคในภาพครัวเรือนนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่อาจแก้ไขได้ด้วยวิธีการด้านภาษี กล่าวคือ การเก็บภาษีจากผู้บริโภคเพิ่มเติมล่วงหน้าเพื่อจัดการของเสียที่จะเกิดขึ้นจากการใช้วัตถุอันตรายในภายหลัง เป็นต้นen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3370
dc.subjectปัญหากฎหมายen_US
dc.subjectวัตถุอันตรายen_US
dc.subjectคุ้มครองผู้บริโภคen_US
dc.subjectผู้บริโภคen_US
dc.titleปัญหากฎหมายการทำธุรกิจเกี่ยวกับวัตถุอันตราย: ศึกษากรณีการคุ้มครองผู้บริโภคen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 11
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
1title.pdf
ขนาด:
95.71 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
2abstract.pdf
ขนาด:
142.44 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
3acknow.pdf
ขนาด:
98.17 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
4content.pdf
ขนาด:
189.34 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
5chap1.pdf
ขนาด:
185.75 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.72 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: