การไต่สวนมูลฟ้องกับการคุ้มครองสิทธิของจำเลยตามกฎหมาย
dc.contributor.author | ชาลิสา เดชโภคินันท์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2565-11-09T07:34:14Z | |
dc.date.available | 2022-11-09T07:34:14Z | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.description.abstract | ในปัจจุบัน การปฏิบัติต่อผู้ถูกกล่าวหาต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้หากในชั้นไต่สวนมูลฟ้องศาลได้ประทับฟ้องบุคคลใดไว้ในกระบวนการพิจารณาของศาลแล้ว ย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลนั้น ซึ่งอาจจะต้องถูกคุมขังในระหว่างพิจารณาหากไม่ได้รับการประกันตัว ผลของการไต่สวนมูลฟ้องจึงอาจทำให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้กระทำผิดได้ โดยในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวคิด วิธีปฏิบัติและสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในกระบวนการไต่สวนมูลฟ้องในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ซึ่งศาลมักจะไม่ทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อน เพราะเห็นว่าการที่พนักงานอัยการฟ้องคดีย่อมมีการตรวจสอบมาแล้วโดยเริ่มต้นการสอบสวนจากพนักงานสอบสวน และตรวจสอบโดยพนักงานอัยการอีกครั้งก่อนที่จะมาฟ้องคดียังศาล อันไม่เป็นไปตามหลักการตรวจสอบการดำเนินการของพนักงานอัยการ Due Process of Law เมื่อไต่สวนมูลฟ้องเป็นการกลั่นกรองคดีก่อนเข้าสู่กระบวนการพิจารณา และเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้กล่าวหาไม่ให้ตกเป็นจำเลยในคดีอาญาโดยไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ ก็ควรที่จะต้องมีการไต่สวนมูลฟ้องคคดีก่อน ไม่ใช่การดำเนินการอยู่ภายใต้หลักความเชื่อใจแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้กระบวนการไต่สวนมูลฟ้องในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ให้สิทธิจำเลยบางอย่างแต่ก็มีข้อบกพร่องในส่วนที่จำกัดสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยในชั้นไต่สวนอยู่พอสมควรกล่าวคือ การไม่ดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยอย่างแท้จริง โดยมองช่องว่างทางกฎหมายเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือหรือจำเลยควรต้องได้รับการช่วยเหลือจากรัฐในการจัดให้มีทนายความมาช่วยเหลือในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เพราะสิทธิการมีทนายความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องถือว่ามีความสำคัญอันเป็นไปตามหลัก Right to Counsel โดยเมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะมีทนายความมาช่วยเหลือได้ แต่สิทธิดังกล่าวจะมีขึ้นได้นั้นต้องเป็นกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้จัดหาทนายความมาเอง รัฐไม่ได้เป็นผู้จัดหาทนายความให้ ล้วในทางกลับกัน หากเป็นกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นบุคคลที่ไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอ ยากจน เป็นผู้ที่ไม่รู้กฎหมายแล้ว สิทธินั้นก็จะไม่เกิดขึ้นกับผู้ต้องหาหรือจำเลย ซึ่งเป็นการสอดคล้องกับสิทธิตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง นอกจากนี้การที่ศาลสามารถรับฟังพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมาประกอบการพิจารณาพิพากษาจำเลยโดยที่ไม่มีทนายความมาช่วยเหลือ ก็จะเป็นผลเสียแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยอันเกิดจากการไม่ได้รับสิทธินี้ด้วย | th_TH |
dc.description.sponsorship | Sripatum University | th_TH |
dc.identifier.citation | ชาลิสา เดชโภคินันท์. 2559. “การไต่สวนมูลฟ้องกับการคุ้มครองสิทธิของจำเลยตามกฎหมาย.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8616 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.subject | การไต่สวน | th_TH |
dc.subject | มูลฟ้อง | th_TH |
dc.subject | การคุ้มครองสิทธิ | th_TH |
dc.subject | จำเลย | th_TH |
dc.subject | กฎหมาย | th_TH |
dc.title | การไต่สวนมูลฟ้องกับการคุ้มครองสิทธิของจำเลยตามกฎหมาย | th_TH |
dc.title.alternative | THE PRELIMINARY HEARING AND THE RIGHT PROTECTION OF THE DEFENDANTS | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 12
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.71 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: