การจัดระดับและการจัดอันดับความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามการรับรู้ของผู้ประเมินภายนอก
dc.contributor.author | สุบิน ยุระรัช | |
dc.date.accessioned | 2554-02-08T09:06:04Z | |
dc.date.available | 2554-02-08T09:06:04Z | |
dc.date.issued | 2554 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ออกแบบโดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมโดยวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ คือ (1) เพื่อจัดระดับและอันดับความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามการรับรู้ของผู้ประเมินภายนอก (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับและอันดับความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนระหว่างกลุ่มผู้ประเมินภายนอก และ (3) เพื่อศึกษาวิธีการจัดระดับร่วมกับการจัดอันดับเพื่ออธิบายความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มี 3 กลุ่ม คือ (1) ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 20 คน (2) ผู้ประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา จำนวน 325 คน และ (3) ผู้แทน สมศ. จำนวน 3 คน เครื่องมือวิจัยมี 4 ประเภท ได้แก่ (1) แบบบันทึกการสังเคราะห์เอกสาร (2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (3) แบบสอบถามความคิดเห็น และ (4) แบบตรวจสอบคุณภาพการประยุกต์ใช้วิธีการจัดระดับร่วมกับการจัดอันดับ โดยมีระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองตามขอบข่ายของข้อมูลและกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งตามระยะของการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 (สำรวจ) ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 (วิเคราะห์และเปรียบเทียบ) ใช้สถิติเชิงเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงสรุปอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และสถิตินอนพาราเมตริก คือ การทดสอบของฟรีดแมนและการหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องของเคนดอลล์ และระยะที่ 3 (แปลความหมายและอธิบาย) ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการจัดระดับและอันดับความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1.1 ผลการจัดระดับความสำคัญ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า กิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความพร้อมของระบบและกลไก ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการเตรียมทรัพยากรสนับสนุน และด้านเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม (20 กิจกรรม) พบว่า กิจกรรมที่มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด มี 5 กิจกรรม ได้แก่ (1) การจัดให้มีฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ (2) การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ (3) การจัดให้มีเจ้าภาพ/หน่วยงานกลาง/คณะทำงาน ที่รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ (4) ผู้บริหารมีส่วนร่วมในกิจกรรมการทำประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ และ (5) การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพโดยทบทวนข้อเสนอแนะจากผู้ประเมินคุณภาพภายในและภายนอก 1.2 ผลการจัดอันดับความสำคัญ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 ด้านการพัฒนาบุคลากร อันดับที่ 2 ด้านความพร้อมของระบบและกลไก อันดับที่ 3 ด้านเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพ และอันดับที่ 4 การเตรียมทรัพยากรสนับสนุน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม พบว่า มีจำนวน 4 กิจกรรมที่มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามอันดับความสำคัญ ได้แก่ อันดับที่ 1 การจัดให้มีฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ อันดับที่ 2 การจัดให้มีเจ้าภาพ/หน่วยงานกลาง/คณะทำงาน ที่รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ อันดับที่ 3 ผู้บริหารมีส่วนร่วมในกิจกรรมการทำประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ และอันดับที่ 4 การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ 2. ผลการเปรียบเทียบระดับและอันดับความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนระหว่างกลุ่มผู้ประเมินภายนอก 2.1 ผลการเปรียบเทียบระดับความสำคัญ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การรับรู้ของผู้ประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษาจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ ประธานคณะผู้ประเมิน กรรมการประเมิน และเลขานุการ เกี่ยวกับกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพทั้ง 4 ด้าน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม พบว่า (1) กรรมการประเมินรับรู้ว่า การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ มีระดับความสำคัญมากที่สุด ขณะที่เลขานุการรับรู้ว่ามีความสำคัญอยู่ในระดับมาก (2) ประธานคณะผู้ประเมินรับรู้ว่า การจัดให้มีระบบการจัดการความรู้เรื่องการประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ มีระดับความสำคัญมากที่สุด ขณะที่เลขานุการรับรู้ว่ามีความสำคัญอยู่ในระดับมาก และ (3) ประธานคณะผู้ประเมินและกรรมการประเมินรับรู้ว่า การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพโดยทบทวนข้อเสนอแนะจากผู้ประเมินคุณภาพภายในและภายนอก มีระดับความสำคัญมากที่สุด ขณะที่เลขานุการรับรู้ว่ามีความสำคัญอยู่ในระดับมาก 2.2 ผลการเปรียบเทียบอันดับความสำคัญ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายกิจกรรม พบว่า ผู้ประเมินภายนอก 3 กลุ่มมีการรับรู้เกี่ยวกับอันดับความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไม่แตกต่างกัน 3. ผลการตรวจสอบคุณภาพของการประยุกต์ใช้วิธีการจัดระดับร่วมกับการจัดอันดับเพื่ออธิบายความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พบว่า การประยุกต์ใช้วิธีการจัดระดับร่วมกับการจัดอันดับมีคุณภาพครบถ้วนใน 4 ประเด็น คือ (1) มีความถูกต้องครอบคลุม (2) มีประโยชน์ (3) มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และ (4) มีความเหมาะสม | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2050 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | en_US |
dc.subject | การประกันคุณภาพ | en_US |
dc.subject | การปรับปรุงคุณภาพ | en_US |
dc.subject | ผู้ประเมินภายนอกระดับอุดมศึกษา | en_US |
dc.subject | การจัดระดับ | en_US |
dc.subject | การจัดอันดับ | en_US |
dc.title | การจัดระดับและการจัดอันดับความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามการรับรู้ของผู้ประเมินภายนอก | en_US |
dc.title.alternative | The Importance Rating and Ranking of the Needed Quality Improvement Activities in Private Higher Education Institutions as Perceived by External Assessors | en_US |