สภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2

dc.contributor.authorรุ่งทิวา โจ๊กทำen_US
dc.date.accessioned2554-09-27T01:40:52Z
dc.date.available2554-09-27T01:40:52Z
dc.date.issued2551
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2ตามโครงสร้างระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 6 ด้าน และเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาตามขนาดของสถานศึกษา ระยะเวลาก่อตั้ง และผลการประเมิณคุณภาพภายนอก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน 3 แห่ง รวม 64 คน ขนาดใหญ่จำนวน 4 แห่ง รวม 53 คน และขนาดกลางจำนวน 20 แห่ง รวม 196 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 313 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 43 ข้อ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยด้วยวิธีการหาความตรงเชิงเนื้อหาโดยค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และการหาค่าความเที่ยงโดยค่าแอลฟ่าตามวิธีของครอนบาคเท่ากับ 0.984 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test และ F-test และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ (1) ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย (2) เมื่อเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาตามขนาดสถานศึกษาพบว่า โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนขนาดใหญ่มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าฝดรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนขนาดกลางและขนาดใหญ่พิเศษ ส่วนปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนขนาดใหญ่พิเศษมีปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนขนาดกลางและขนาดใหญ่ (3) เมื่อเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างตามระยะเวลาการก่อตั้ง พบว่า โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระยะเวลาการก่อตั้งน้อยกว่า 15 ปี มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระยะเวลาการก่อตั้งสถาบันตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ส่วนด้านปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา พบว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระยะเวลาการก่อตั้งมากกว่า 15 ปี มีปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระยะเวลาการก่อตั้งน้อยกว่า 15 ปี (4) เมื่อเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่มีระดับผลประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) อยู่ในระดับดีมากมีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาที่มีระดับผลประเมินคุณภาพภายนอกอยู่ในระดับพอใช้และดี นอกจากนี้พบว่า โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระดับผลประเมินภายนอกจาก สมศ. อยู่ในระดับพอใช้มีปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา มากกว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระดับผลประเมินภายนอกอยู่ในระดับดี และดีมาก ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะ คือ จากการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเฉพาะโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ดังนั้นในการทำวิจัยในครั้งต่อไปควรทำการวิจัยโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาข้อมูลที่มีผลทำให้โรงเรียนอาชีวศึกษาประสบความสำเร็จในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา และควรศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3173
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.subjectการประกันคุณภาพการศึกษาen_US
dc.subjectโรงเรียนอาชีวศึกษาen_US
dc.subjectศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.titleสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2en_US
dc.title.alternativeThe state and problems for education quality assurance in private vocational schools under the responsibility of Bangkok education service area office 2en_US
dc.typeThesisen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
รุ่งทิวา โจ๊กทำ.pdf
ขนาด:
7.27 MB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
Full text
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.72 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: