ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2553-05-18T09:04:45Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสถานภาพกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนหลังจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และ พ.ศ.2550 ซึ่งมีการใช้บังคับ ได้กำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ มีการกระจายอำนาจการบริหารการจัดการศึกษาให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นได้มีโอกาสส่วนร่วมในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขปรับปรุง พ.ศ.2545 รวมทั้งระเบียบและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานการจัดการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งทำให้มีผลกระทบโดยตรงเกี่ยวกับสถานภาพความเป็นนิติบุคคลจึงเกิดปัญหา หลายประการ อาทิเช่น สถานภาพความเป็นนิติบุคคลของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนซึ่งยัง ไม่มีกฎหมายรับรองสถานภาพให้เป็นนิติบุคคล ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงาน ปัญหาในด้านงบประมาณ ขาดความคล่องตัวในการบริหารจัดการไม่สามรถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งปัญหาเกี่ยวกับ การประกันคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ข้อมูลที่ค้นพบในการจัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับความเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีกฎหมายกำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่และให้อำนาจอิสระคล่องตัว เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการศึกษาทั้งในด้านงบประมาณและการบริหารงาน และการใช้อำนาจตามกฎหมาย อำนาจในการตัดสินใจที่เบ็ดเสร็จภายในหน่วยงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริการสาธารณะการพัฒนาเยาวชนเกี่ยวกับการศึกษา ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขว่าควรมีกฎหมายกำหนดให้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่ได้รับพระราชทานแล้วเป็นนิติบุคคล โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนด้านการศึกษา ซึ่งข้อเสนอแนะที่สำคัญอีกประการคือ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จะต้องจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐานของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อมีหน้าที่ในการกำกับดูแล ติดตามและประเมินผลการศึกษาตลอดจนการพัฒนาปรับปรุงการจัดการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศในด้านการบริหารงานควรมีการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษาจากส่วนกลางลงไปสู่โรงเรียนหรือสถานศึกษาโดยตรง มีความอิสระและคล่องตัวในการบริหารจัดการศึกษา พัฒนาบุคลากรในด้านวิชาการ สามารถนำผลงานวิชาการเพื่อ เลื่อนวิทยฐานะหรือปรับให้สูงขึ้นเหมือนหน่วยงานการศึกษาสังกัดอื่น ด้านงบประมาณสามารถตั้ง และรับงบประมาณเอง โดยเสนอผ่านหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อให้การบริหารงบประมาณพัฒนาให้ ครูตำรวจตระเวนชายแดนต้องมีใบประกอบวิชาชีพครูและวุฒิปริญญาด้านการศึกษา เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการบริการสาธารณะเป็นที่ยอมรับในสังคมและในด้านการประกันคุณภาพการ จัดการศึกษาตลอดจนมาตรฐานของครูตำรวจตระเวนชายแดน ประเด็นสุดท้ายที่ขอเสนอแนะคือ ถ้าหากไม่สามารถมีกฎหมายรองรับสถานภาพของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตามกฎหมาย ว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติบัญญัติไว้ ก็เห็นควรถ่ายโอนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้กับ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารการจัดการศึกษา เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น อันเป็นประโยชน์สูงสุดต่อเยาวชนและประเทศชาติต่อไป

คำอธิบาย

คำหลัก

กฎหมาย, การจัดการศึกษา, โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

การอ้างอิง