การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการจัดให้มีพื้นที่จอดรถของอาคารชุด ในเมืองใหญ่: ศึกษากรณีเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
dc.contributor.author | ธนารัฐ แก้วพฤกษ์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2565-01-31T07:21:48Z | |
dc.date.available | 2022-01-31T07:21:48Z | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.description.abstract | สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด หลักการ และทฤษฎี เกี่ยวกับการจัดให้มีพื้นที่จอดรถยนต์ในอาคารชุดศึกษากรณีเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมจำนวนพื้นที่จอดรถยนต์ในอาคารชุดของไทยและต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการจัดให้มีพื้นที่จอดรถในอาคารชุดเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร และแนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายการบังคับใช้เกี่ยวกับการจัดให้มีพื้นที่จอดรถในอาคารชุดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับส่งเสริมจำนวนพื้นที่จอดรถในอาคารชุด พบว่า มีการตรากฎกระทรวงฉบับที่ 7 พ.ศ. 2517 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาใช้บังคับในการส่งเสริมและกำหนดจำนวนพื้นที่จอดรถยนต์ในอาคารชุดไว้ แต่ยังจำกัดจำนวนที่กำหนดไว้ ส่งผลผู้พักอาศัยใช้รถยนต์ส่วนตัวมากกว่ารถบริการสาธารณะ เพราะไม่มีที่จอดรถ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหารถติดและเกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม (2) ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมอาคารในการตรวจสอบและส่งเสริมจำนวนที่จอดรถในอาคารชุด กรณีเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร พบว่า พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 18 ไม่ได้กำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมอาคารเกี่ยวกับการตรวจสอบและส่งเสริมจำนวนที่จอดรถในอาคารชุด ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุดไม่มีความสนใจในเรื่องที่จอดรถภายในอาคารชุด (3) ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจการลงโทษของคณะกรรมการควบคุมอาคารในกรณีที่ฝ่าฝืนการสร้างที่จอดรถยนต์ในอาคารชุด กรณีเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร พบว่า พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 18 ไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับอำนาจการลงโทษของคณะกรรมการควบคุมอาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครไว้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการอาคารชุดไม่เกรงกลัวต่อการกระทำผิดไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการจัดให้มีพื้นที่จอดรถ ดังนั้น เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่จอดรถภายในอาคารชุด กรณีเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฉบับที่ 7 พ.ศ. 2517 โดยกำหนดให้มีการบังคับใช้ดังนี้ (1) กำหนดขั้นต่ำของพื้นที่จอดรถภายในอาคารชุด เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1 ห้องชุด ต้องมีพื้นที่จอดรถอย่างน้อย 1 คัน (2) ให้คณะกรรมการมีอำนาจในการตรวจสอบและส่งเสริมจำนวนที่จอดรถภายในอาคารชุด (3)ให้คณะกรรการมีอำนาจในการลงโทษผู้ประกอบการอาคารชุดที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดให้มีพื้นที่จอดรถ | th_TH |
dc.description.sponsorship | Sripatum University | th_TH |
dc.identifier.citation | ธนารัฐ แก้วพฤกษ์. 2564. "การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการจัดให้มีพื้นที่จอดรถของอาคารชุด ในเมืองใหญ่: ศึกษากรณีเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร." บทความ นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7981 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.subject | อาคารชุด | th_TH |
dc.subject | พื้นที่จอดรถยนต์ | th_TH |
dc.title | การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการจัดให้มีพื้นที่จอดรถของอาคารชุด ในเมืองใหญ่: ศึกษากรณีเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร | th_TH |
dc.title.alternative | LAW ENFORCEMENT ON PARKING SPACE ARRANGEMENT IN LARGE CITY: CASE STUDY OF CONDOMINIUM IN BANGKOK METROPOLIS | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |