มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมธุรกิจสวนสนุก

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2562-03-08

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมธุรกิจสวนสนุกที่เป็นการ จัดตั้งแบบถาวรและแบบชั่วคราว จากการศึกษาพบว่า ธุรกิจสวนสนุกไม่มีมาตรการทางกฎหมายใน การควบคุมมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบธุรกิจสวนสนุกและมาตรฐานของเครื่องเล่นที่นำเข้ามา ให้บริการโดยมีเงื่อนไขเพียงการให้ใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสิ่งแวดล้อมและมลภาวะ เป็นพิษทางน้ำและทางอากาศ และพบว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ไม่ได้มีการ คุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจสวนสนุกซึ่งเป็นธุรกิจในด้านบริการและพระราชบัญญัติความรับผิดต่อ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ก็ไม่ได้ระบุคำจำกัดความของสินค้าที่คล อบคลุมกับความหมายของเครื่องเล่นในสวนสนุกทำให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการใช้ บริการไม่ได้รับการเยียวยาค่าเสียหายทางจิตใจและค่าเสียหายเชิงลงโทษตามที่กำหนดไว้ใน กฎหมายดังกล่าวจึงต้องอาศัยการเยียวยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด ซึ่ง เป็นภาระต่อผู้บริโภคในการพิสูจน์ความเสียหายจากเครื่องเล่น จากการศึกษาเห็นควร ให้มีกฎหมาย เฉพาะเพื่อควบคุมมาตรฐานสำหรับธุรกิจสวนสนุกที่มีการกำหนดมาตรฐานธุรกิจและเครื่องเล่น เช่นเดียวกับ Technical Standards and Safety Act, 2000 ของประเทศสหราชอาณาจักรและ The Amusement Rides Safety Regulations 2011 ของสาธารณรัฐสิงคโปร์ นอกจากนั้นควรมีกฎหมาย กำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบโดยตรงในธุรกิจสวนสนุกเช่นเดียวกับ Amusement Devices Safety Act, 1989 ของประเทศแคนนาดา รวมทั้งบทลงโทษทางอาญาแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และแก้ไขคำจำกัดความคำว่าสินค้าในพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก สินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ให้คลอบคลุมถึงสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ให้บริการด้ว

คำอธิบาย

นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำหลัก

การควบคุม, ธุรกิจสวนสนุก

การอ้างอิง