มาตรการทางกฎหมายในการขายทอดตลาดกรณีอาหารที่ถูกยึดหรืออายัด
กำลังโหลด...
วันที่
2565
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงปัญหาการจัดการทรัพย์สินที่ยึดหรือจากการกระทำความผิดอาหารและยา (กฎหมายเฉพาะ) ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 44 ไม่ได้กำหนดมาตรการในการจัดการกับทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้ ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดนั้นเป็นทรัพย์สินที่ไม่เหมาะสมเก็บรักาาไว้ ในกรณีเป็นของเสียง่าย ใกล้หมดอายุ หรือกรณีเก็บไว้จะเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหาย หรือเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาเกินค่าของสิ่งนั้น เนื่องจากทรัพย์ที่ยึด หรือ อายัดไว้นั้น จะต้องเก็บรักษาไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 ซึ่งระยะเวลาที่ยาวนาน อาจทำให้เกิดความเสียหาย จนไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่กำกับดูแลในการต้องชดใช้ราคาหรืออาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของทรัพย์สินนั้น ในกรณีที่ภายหลังแล้วศาลสั่งให้คืนทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดนั้น
คำอธิบาย
คำหลัก
ยึดหรืออายัด, ขายทอดตลาด
การอ้างอิง
รุ่งนภา พึ่งเคหา. 2564. "มาตรการทางกฎหมายในการขายทอดตลาดกรณีอาหารที่ถูกยึดหรืออายัด." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.