ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจการค้ามนุษย์บนสื่ออิเล็กทรอนิกส์:ศึกษากรณีการขายบริการทางเพศบนเว็บแคม

dc.contributor.authorชัยยุทธ เลิศหทัยดีen_US
dc.date.accessioned2556-10-20T03:00:41Z
dc.date.available2556-10-20T03:00:41Z
dc.date.issued2556-10-20T03:00:41Z
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractจากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าปัญหาในปัจจุบันยังคงมีการค้าประเวณีกันมาก และมีการ พัฒนามาเป็นการค้ามนุษย์พัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีหรือที่เรียกกันว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากเดิมเป็น การเขียนให้ปรากฏตัวอักษรแต่ปัจจุบันมีกล้องที่เป็นอุปกรณ์เสริมทางคอมพิวเตอร์โดยมี อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นตัวเชื่อมโยงผ่านระบบแคมฟร็อกหรือที่เรียกว่าเว็บแคม ซึ่งทำให้การค้า มนุษย์เป็นการค้าที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีรูปแบบการสมัครสมาชิกใน ระบบดังกล่าวและสามารถเลือกคู่สนทนาโดยเห็นหน้าตากันในระบบนี้หากผู้ใช้ได้เข้าใจในระบบ ดังกล่าวและสามารถใช้ระบบอย่างถูกวิธีโดยการติดต่อสื่อสารในรูปแบบธุรกิจก็สามารถทำให้ ธุรกิจได้รับความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่บุคคลบางกลุ่มกลับนำระบบดังกล่าวมาใช้ในทางที่ ผิดกฎหมายและขยายไปถึงการก่อให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในสังคมได้ จะเห็นว่าเมื่อมีการนำเทคโนโลยีมาใช้สื่อสารไปในทางที่ผิดจากเจตนารมณ์เป็นรูปแบบ การขายบริการทางเพศลักษณะธุรกิจโดยมีการเสนอราคาและตกลงราคากันโดยใช้ระบบเว็บแคม เป็นตัวเชื่อมธุรกิจดังกล่าวนี้เป็นธุรกิจที่แอบแฝงการกระทำผิดทางเพศและส่อสื่อลามกอนาจารโดย การโชว์ร่างกายผ่านกล้องเว็บแคมเพื่อเสนอราคาที่ได้ความพอใจและชำระเงินผ่านบัตรเครดิตโดย ระบบออนไลน์เข้าบัญชี จากการดำเนินธุรกิจดังกล่าวนี้เป็นการเกิดพฤติกรรมรูปแบบใหม่บนสื่อดัง กล่าวคือการแสดงลักษณะยั่วยุทางเพศรวมไปถึงการร่วมเพศในลำดับต่อมา ซึ่งผู้รับบริการสามารถ เข้าชมได้โดยต้องมีกล้องเว็บแคมเป็นตัวเชื่อมกับอินเทอร์เน็ตจึงสามารถเข้าระบบออนไลน์ได้ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 287 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ยังไม่สามารถระบุความรับผิดของบุคคลที่ทำธุรกิจรูปแบบการขายบริการทางเพศบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นการขายบริการที่มีรูปแบบเป็นอิสรเสรี การประกอบธุรกิจดังกล่าวนี้เป็นการ นำเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาในระบบดังกล่าวมาใช้เพื่อติดต่อสื่อสารธุรกิจ แต่เมื่อธุรกิจดังกล่าวเป็น การขายบริการทางเพศเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลบหนีการกระทำความผิดจึงทำให้ปัจจุบันมีการ เสนอขายบริการทางเพศผ่านระบบดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง จึงควรมีกฎหมายลงโทษผู้ให้เช่าพื้นที่ของ ระบบดังกล่าวมารับผิดเนื่องจากยังไม่มีกฎหมายกำหนดความผิดที่ชัดเจน มาตรการความรับผิดของธุรกิจทางเพศในระบบเว็บแคมยังคงเป็นปัญหาที่ไม่สามารถนำ ตัวบทกฎหมายที่ชัดเจนมาบังคับใช้ เนื่องจาก “การค้าประเวณี” ตามพระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 เป็นการยอมให้บุคคลอื่นร่วมเพศหรือการกระทำอื่นใดเพื่อ สำเร็จความใคร่ในกามารมณ์ของผู้อื่นแต่ไม่ได้หมายรวมถึงการร่วมเพศกันโดยให้ผู้รับบริการชม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบเว็บแคม เช่นนี้จึงเกิดปัญหาว่า การกระทำเช่นนี้เป็นการค้ามนุษย์ ตามคำนิยามในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 รวมถึงผู้เช่ากับผู้ให้ เช่าพื้นที่บริการทางอินเทอร์เน็ตที่ต้องมีมาตรการทางกฎหมายในการร่วมรับผิดด้วยen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4444
dc.language.isootheren_US
dc.subjectการค้ามนุษย์en_US
dc.subjectเว็บแคมen_US
dc.subjectบริการทางเพศen_US
dc.subjectสื่ออิเล็กทรอนิกส์en_US
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจการค้ามนุษย์บนสื่ออิเล็กทรอนิกส์:ศึกษากรณีการขายบริการทางเพศบนเว็บแคมen_US
dc.typeThesisen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
11profile.pdf
ขนาด:
50.51 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
5chap1.pdf
ขนาด:
136.16 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.72 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: