การพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนขององค์การ บริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1

dc.contributor.authorสรรเสริญ หมายสวัสดิ์en_US
dc.date.accessioned2557-11-24T09:20:02Z
dc.date.available2557-11-24T09:20:02Z
dc.date.issued2557-11-24T09:20:02Z
dc.descriptionมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “การพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1(3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์กับประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตาบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1(4)ศึกษาสมการพยากรณ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์กับประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1(5)ศึกษาปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ (6)ศึกษาแนวทางการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณคือ พนักงานระดับปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 จานวน 330 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ จานวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย (1)กลุ่มนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (2)กลุ่มปลัด/พนักงานระดับหัวหน้างานขององค์การบริหารส่วนตำบล และ (3)กลุ่มผู้บริหารส่วนราชการ/นักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านประชาคมอาเซียนและท้องถิ่น ทำการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคลและการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1.ประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ในแต่ละด้านพบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์ในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์กับประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 พบว่ามีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4.ผลการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์คือ สมรรถนะของพนักงาน องค์กรแห่งการเรียนรู้ และภาวะผู้นำ เป็นปัจจัยที่สามารถนามาสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ 5.ผลการศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคพบว่า นโยบายรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่ขาดการสนับสนุนอย่างเข้มข้นในทางการปฏิบัติจึงทำให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น (1) (1)ขาดการกำหนดเป้าหมายและแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่/ชุมชน(2)ขาดการกาหนดแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ (3)ไม่มีหน่วยงานเฉพาะสาหรับดูแลภารกิจการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยตรง (4)ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล เช่น งบประมาณ (5)ประชาชนไม่เห็นถึงความสำคัญของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (6) ทัศนคติของประชาชนชาวไทยที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านในฐานะของผู้ที่ด้อยกว่า (6)การดำเนินงานจากส่วนกลางขาดความชัดเจน และ (7)พนักงานขาดความกระตือรือร้นและแรงจูงใจในการพัฒนาตัวเอง 6.แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่สำคัญคือ 1)กำหนดเป้าหมายและแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่/ชุมชนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2) 2) พัฒนาพนักงานให้มีทักษะและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง 3) พัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 4)ให้ความรู้ด้านประชาคมอาเซียนในทุกมิติที่สามารถดำเนินการได้แก่ประชาชน 5)พัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ และ 6)ปรับปรุงโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่โดยมีการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาหรือหน่วยวิเทศสัมพันธ์en_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4507
dc.subjectการพัฒนายุทธศาสตร์en_US
dc.subjectประชาคมอาเซียนen_US
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบลen_US
dc.titleการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนขององค์การ บริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1en_US
dc.typeArticleen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
บทความสรรเสริญ-ศรีปทุม. PHD-2556.pdf
ขนาด:
164.99 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.73 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: