S_PAY-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 82
  • รายการ
    ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลเมืองนครนายกอำเภอเมืองนครนายก จังหวดนครนายก : THE SATISFACTION OF RECIPIENTS SERVICES FROM NAKHON NAYOK MUNICIPALITY, NAKHON NAYOK DISTRICT, NAKHON NAYOK PROVINCE
    (2559-08-24T07:33:52Z) จักรพันธ์ แจ้งเหตุผล
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลเมืองนครนายก อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ในรอบปี 2558 2) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลนครเมืองนครนายก ในรอบปี 2558 จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนผู้มารับบริการจากเทศบาลเมืองนครนายก จำนวน 400 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเป็นขั้นตอน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป คำนวณหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ใช้ค่าสถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis Of Variance) เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเทศบาลเมืองนครนายก อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ทางด้านการส่งเสริมอาชีพและรายได้ และด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการสาธารณูปโภค ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม และสวัสดิการสังคม ด้านงานการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย และด้านการจัดการศึกษา ศาสนา กีฬา และวัฒนธรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลเมืองนครนายก อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก พบว่า ประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกันมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มอายุทั้ง 4 กลุ่ม พบว่า ความพึงพอใจโดยภาพรวมและความพึงพอใจในด้านต่างๆทุกด้าน มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการจัดระเบียบชุมชนสังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย และ ด้านการจัดการศึกษา ศาสนา กีฬา และวัฒนธรรม ซึ่งประชาชนมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ประชาชนกลุ่มอายุ มากกว่า 69 ปี มีความพึงพอใจต่อการจัดระเบียบชุมชนสังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อยมากกว่ากลุ่มอายุ 36-50 ปี และประชาชนกลุ่มอายุ 18 – 35 ปี มีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษา ศาสนา กีฬา และวัฒนธรรม มากกว่า กลุ่มอายุ 36 – 50 ปี
  • รายการ
    การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำไฮ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู : PARENTS’PARTICIPATION IN PARTICIPATORY EDUCATIONAL MANAGEMENT CONDUCTED WITH CHILD DEVELOPMENT CENTER OF NAKHAMHAI SUB-DISTRICT ADMINISTRATION ORGANIZATION, MUANG DISTRICT, NONG BUALAMPHU PROVINCE
    (2559-08-22T08:54:19Z) ณัฏฐพัชร์ อัครวสุวัฒน์
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาคำไฮ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภูเพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของ องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำไฮ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษา ถึงปัญหาอุปสรรคการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำไฮ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำไฮ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ปีการศึกษา 2558 จำนวน 150 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมี จำนวน 150 คน ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวน้อยกว่า 3 คน มีอายุระหว่าง 25-35 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีรายได้ของครอบครัวต่ำกว่า 15,000 /เดือน อาชีพที่สร้างรายได้หลักของครอบครัว มีอาชีพเกษตรกร ค่าใช้จ่ายในการศึกษา ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการศึกษาน้อยกว่า 5,000 บาท/ภาคเรียน การมีส่วนร่วมของของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาร่วมกับศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำไฮ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวม อยู่ในระดับน้อยถึงระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการติดตามประเมินผลการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง อยู่ในระดับปานกลาง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการที่ศูนย์พัฒนาเด็ก การมีส่วนร่วมในการวางแผน และด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่บ้าน มีส่วนร่วมของปกครองอยู่ในระดับน้อย ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ปกครองที่มีจำนวนบุตรต่างกัน อาชีพที่สร้างรายได้หลักของครอบครัวต่างกันมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาคำไฮ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง, การจัดการศึกษา, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  • รายการ
    ประสิทธิผลระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา : ระบบสารสนเทศฐานข้อมูล/เครือข่าย ด้านการป้องกันการทุจริต ของสำนักงาน ป.ป.ช.: INFORMATION SYSTEM EFFECTIVENESS CASE STUDY : DATABASE/NETWORK OF PREVENTING CORRUPTION INFORMATION SYSTEM OF THE OFFICE OF THE NATIONAL ANTI-CORRUPTION COMMISSION
    (2559-08-22T08:35:59Z) ฐานิศร์ วิริยธนานนท์
    การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ เพื่อให้ทราบถึงประเด็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา: ระบบสารสนเทศฐานข้อมูล/เครือข่าย ด้านการป้องกันการทุจริต ของสำนักงาน ป.ป.ช.โดยมุ่งเน้นศึกษากลุ่มประชากรที่ดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานป้องกันการทุจริต ในสำนักงาน ป.ป.ช. ที่มีเป็นผู้ใช้งานระบบดังกล่าวโดยตรง จำนวน 109 คน แยกเป็นขอบเขตด้านต่างๆ ได้แก่ ขอบเขตด้านตัวแปร ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ การศึกษา ตำแหน่ง ระดับตำแหน่ง อายุการทำงาน การอบรมการใช้งานระบบ ปัจจัยด้านผู้ใช้ระบบ ได้แก่ ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ปัจจัยด้านเครื่องมือ ได้แก่ ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประสิทธิภาพของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และปัจจัยด้านระบบ ได้แก่ ความซับซ้อนในการใช้งาน ความเสถียรของระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าเฉลี่ย (Mean) เปรียบเทียบความแตกต่างของความเห็นต่อประสิทธิผลระบบฐานข้อมูล/เครือข่าย ด้านการป้องกันการทุจริต ของสำนักงาน ป.ป.ช. ได้แก่ เพศ การศึกษา ตำแหน่ง ระยะเวลาในการปฏิบัติราชการ สังกัด การอบรมการใช้ระบบ t-test และ One-Way Analysis of Variance (One-Way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญเท่ากับ 0.05 หรือระดับความเชื่อมั่นทาง สถิติ 95% และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้ใช้ระบบ ปัจจัยด้านเครื่องมือ และปัจจัยด้านระบบ โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน
  • รายการ
    ประสิทธิผลการบริหารงานด้านศาสนสมบัติกลางของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชัยนาท :THE EFFECTIVENESS OF ADMINISTRATION ON ECCLESIASTICAL PROPERTY OF CHAINAT PROVINCIAL OFFICE OF BUDDHISM
    (2559-08-22T08:13:00Z) ญาณสุวัฒน์ อินท่าทอง
    การศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานด้านศาสนสมบัติกลางของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชัยนาท การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารงาน จำนวน 4 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผนงาน 2) ด้านกระบวนการให้บริการ 3) ด้านการปฏิบัติงาน ของบุคลากร 4) ด้านสถานที่ให้บริการ เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้เช่าศาสนสมบัติกลาง ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาประสิทธิผลการด้านศาสนสมบัติกลาง ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชัยนาทมาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้การปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยรวบรวมจากการแจกแบบสอบถามไปยังผู้เช่าศาสนสมบัติกลาง ในเขตพื้นที่จังหวัดชัยนาท จำนวน 50 คน ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลการการบริหารงานด้านศาสนสมบัติกลางของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชัยนาท ทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผนงาน 2) ด้านกระบวนการให้บริการ 3 ) ด้านการปฏิบัติงานของบุคลากร 4) ด้านสถานที่ให้บริการ อยู่ในระดับดีมาก และผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ต่างกัน ความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารงานด้านศาสนสมบัติกลางของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชัยนาท ไม่แตกต่างกัน
  • รายการ
    ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อน้ำผักและน้ำผลไม้พร้อมดื่มของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร= A STUDY OF MARKTING MIX ON PURCHASING VEGETABLE AND FRUIT DRINKING JUICE IN BANGKOK
    (2558-01-19T09:36:55Z) ณัฐชากุล บุญฤทธิ์
    การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลือกซื้อน้ำผลไม้พร้อม ดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกซื้อน้ำผักและน้ำผลไม้พร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครโดยท้าการศึกษาจากผู้บริโภคที่ซื้อน้ำผักและ/ หรือน้ำผลไม้พร้อมดื่มในเขตกรุงเทพมหานคร และเนื่องจากไม่สามารถกำหนดจำนวนผู้ซื้อที่แท้จริงได้ จึงหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ Taro Yamane ความเชื่อมั่น 95% กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามที่ออกแบบมา 2ด้านคือ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และส่วนประสมทางการตลาด โดยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักทฤษฎีไม่อ้างอิงไม่น่าจะเป็น (Non-probability Sampling)แบบวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก(Convenience Sampling)ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามาประมวลผลโดยโปรแกรม สำเร็จรูปทางสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เป็นการบรรยายลักษณะที่สำคัญของข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง โดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมานเป็นสถิติที่ใช้ทดสอบ โดยการวิเคราะห์ ค่าความสัมพันธ์Chi-square ในระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัท และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป การเลือกซื้อส่วนมากรูปแบบเป็นน้ำผลไม้ ส่วนมากนิยมซื้อรสน้ำส้ม ยี่ห้อทิปโก้ ดื่มน้ำผัก และน้ำผลไม้พร้อมดื่มเพื่อแก้กระหาย/ให้ความสดชื่นโดยตัวเองเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลซื้อมากที่สุด ซื้อในช่วงกลางวัน จากร้านสะดวกซื้อในขนาด 200-300 มล. ลักษณะเป็นกล่อง และซื้อน้ำผักและน้ำผลไม้พร้อมดื่ม 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ในส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อพบว่าราคาของผลิตภัณฑ์เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ในส่วนของผลการทดสอบสมมติฐานด้านประชากรศาสตร์พบว่า เพศ มีความสัมพันธ์กับความบ่อยครั้ง อายุมีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาในการซื้อ สถานภาพมีความสัมพันธ์กับประเภทของน้ำผัก และน้ำผลไม้พร้อมดื่ม ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับประเภทของน้ำผัก และน้ำผลไม้พร้อมดื่ม อาชีพมีความสัมพันธ์กับความบ่อยครั้งในการซื้อ รายได้มีความสัมพันธ์กับขนาดที่ซื้อ และส่วนประสมทางการตลาดคือ ด้านผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับความบ่อยครั้งในการซื้อ ด้านราคามีความสัมพันธ์กับขนาดที่เลือกซื้อ ด้านการจัดจำหน่ายมีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาในการซื้อ ด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์กับยี่ห้อน้ำผักและน้ำผลไม้พร้อมดื่มที่เลือกซื้อ
  • รายการ
    การศึกษาความพึงพอใจในงานของบุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน = THE STUDY OF JOB PERFORMANCE SATISFACTION OF DEPARTMENTOFALTERNATIVE ENERGY DEVELOPMENT AND EFFICIENCY
    (2558-01-19T09:05:14Z) สุปราณี อนุศาสตร์
    การศึกษาเรื่องความพึงพอใจในงานของบุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในงานของบุคลากร และ 2)เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในงานของบุคลากร จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research)โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 174 คน ซึ่งกำหนดโดยใช้สูตรการคำนวณของทาโรยามาเน่(Yamane)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaire)แบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล และตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในงานของบุคลากร ผู้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test และค่าสถิติ F-test หรือความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และทดสอบค่าเฉลี่ยความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1)บุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มีความพึงพอใจในงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้านทั้งหมด 7 ด้านนั้น บุคลากรมีความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำคือ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความมั่นคงและปลอดภัย และด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านที่เหลืออีก 4 ด้าน บุคลากรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูง ไปต่ำ ได้คือ ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านสวัสดิการ และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านค่าตอบแทน 2)บุคลากรที่มีปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล มีความพึงพอใจในงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่หากพิจารณารายด้านพบว่า บุคลากรที่มี เพศ ระดับการศึกษารายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจในงานรายด้านแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  • รายการ
    แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของข้าราชการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน = THE MOTIVATION TO STUDY FOR A MASTER’S DEGREE OF THE GOVERNMENT OFFICER IN THE DEPARTMENT OF ALTERNATIVE ENERGY DEVELOPMENT AND EFFICIENCY
    (2558-01-19T08:43:38Z) สมฤทัย ไทยนิยม
    การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่อง แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของข้าราชการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยศึกษาจากปัจจัยส่วนบุคคลที1แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ อายุราชการ ระดับตำแหน่งงาน รายได้ ต่อเดือน แหล่งทุนสนับสนุน ว่ามีผลต่อแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของข้าราชการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานหรือไม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที1ใช้ในการศึกษาคือ ข้าราชการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 174 คน ซึ่งกำหนดโดยใช้สูตรการคำนวณของทาโรยามาเน่ (Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม ผู้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที1ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และส่วนเบี1ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่า 1. มีเพศชายมากกว่าเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 62.1 อายุระหว่าง 36 - 45 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.4 ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 56.9 ซึ1งมีอายุราชการ 15 ปี ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 37.4 โดยมีตำแหน่งงานระดับชำนาญการมาีกที่สุด คิดเป็นร้อยละ 56.3 มีรายได้ต่อเดือน 30,001 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 31.0 และมีแหล่งเงินทุนที1นำมาใช้ในการศึกษาต่อมาจากตนเอง คิดเป็นร้อยละ 48.9 2.การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ1ือศึกษาเรื่อง แรงจูงใจในการศึกษาต่อ ระดับปริญญาโทของข้าราชการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยศึกษาจากปัจจัยส่วนบุคคลที1แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ อายุราชการ ระดับตำแหน่งงาน รายได้ต่อเดือน แหล่งทุนสนับสนุน ว่ามีผลต่อแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของข้าราชการกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานหรือไม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที1ใช้ในการศึกษาคือ ข้าราชการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 174 คน ซึ1งกำหนดโดยใช้สูตรการคำนวณของทาโรยามาเน่ (Yamane) เครื1องมือที1ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม ผู้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที1ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลีย(X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) จากการศึกษาพบว่า 1. มีเพศชายมากกว่าเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 62.1 อายุระหว่าง 36 - 45 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.4 ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 56.9 ซึ1งมีอายุราชการ 15 ปี ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 37.4 โดยมีตำแหน่งงานระดับชำนาญการมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 56.3 มีรายได้ต่อเดือน 30,001 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 31.0 และมีแหล่งเงินทุนนำมาใช้ในการศึกษาต่อมาจากตนเอง คิดเป็นร้อยละ 48.9
  • รายการ
    ความพึงพอใจที่มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของลูกค้าที่มาใช้บริการธนาคารกสิกรไทย สาขาสี่แยกราชวงศ์ = A CUSTOMER EFFECTING ON MIX OF THE SERVICES OF KASIKORN BANK SI YEAK RATCHAWONG BRANCH
    (2558-01-19T07:25:03Z) ประพันธ์ แถวกระต่าย
    การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการศึกษา เรื่องความพึงพอใจที่มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของลูกค้าที่มาใช้บริการธนาคารกสิกรไทย สาขาสี่แยกราชวงศ์ มีวัตถุประสงค์ การศึกษา 1.เพื่อศึกษาข้อมูลทางประชากรศาสตร์ของลูกค้าที่มาใช้บริการธนาคารกสิกรไทย สาขาสี่แยกราชวงศ์ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในส่วนประสมการตลาดของลูกค้าที่มาใช้บริการธนาคารกสิกรไทย สาขาสี่แยกราชวงศ์ และอาชีพ ว่ามีผลต่อความพึงพอใจที่มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของลูกค้าที่มาใช้บริการธนาคารกสิกรไทย สาขาสี่แยกราชวงศ์ หรือไม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ลูกค้า ที่มาใช้บริการจานวน 200 คน ซึ่งกาหนดโดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม ผู้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา คือ โดยศึกษาจากปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนปัจจัยทางประชากรศาสตร์ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิงมากกว่าเพศชายคิดเป็นร้อยละ 64.0 อายุ ระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็น ร้อยละ 33.0 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 36.5 มีรายได้ 10,001-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.5 มีอาชีพเป็นเจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 17.5 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดส่วนใหญ่ที่อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านสถานที่ ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์
  • รายการ
    ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดในการเลือกซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปในพื้นที่บูทให้เช่าในศูนย์การค้าเสริมไทยจังหวัดมหาสารคาม= MARKETING FACTORS AFFCTING PURCHASING BEHAVIORS AT SERMTHAI COMPLEX MAHA SARAKHAM PROVINCE
    (2558-01-14T12:55:01Z) พันธิตรา กลีบพิพัฒน์
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศีกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปในพื้นที่บูทให้เช่าในศูนย์การค้าในจังหวัดมหาสารคาม (2)เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของประชาชนที่เข้ามาเดินซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปในห้างสรรพสินค้าเสริมไทยจังหวัดมหาสารคาม และ(3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมในการเลือกซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปในห้างสรรพสินค้าเสริมไทยจังหวัดมหาสารคามโดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนทั่วไปที่เดินซื้อสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปในห้างสรรพสินค้าเสริมไทย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 700คนต่อการเลือกซื้อเสื้อผ้าในหนึ่งสัปดาห์ของประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่มาเลือกซื้อเสื้อผ้าจะได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 255 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ได้ประมวลผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS For Windowsและใช้สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ได้แก่ ค่าร้อยละหรือค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานตามลักษณะตัวแปร เพื่ออธิบายตัวแปรต่างๆ และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statisics) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ได้แก่ Chisquare,t-test,F-teatที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเป็นเพศหญิง ผู้ตอบแบบถามส่วนมากมีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี จำนวน 145 คน สถานภาพที่สมรสแล้วจำนวน 140 คน มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 201 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ/ธุรกิจส่วนตัวจำนวน 133 คนรายได้เฉลี่ย 25000 – 35000 บาทต่อเดือนจำนวน 172 คน พฤติกรรมผู้บริโภคของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไปซื้อเสื้อผ้าที่ห้างเสริมไทยจังหวัดมหาสารคาม โดยเฉลี่ยมากกว่า 4 ครั้งต่อเดือนจำนวน 130 คน มีค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 1001-1500 บาทต่อครั้งจำนวน 120 คนส่วนใหญ่ซื้อชุดใส่ออกงานจำนวน 80 คนโดยเหตุผลที่เลือกซื้อที่ห้างสรรพสินค้าเสริมไทยเพราะใกล้สถานที่ทำงาน/โรงเรียนจำนวน 57 คนและส่วนมากจะมาเลือกซื้อคนเดียว จำนวน 75 คน ปัจจัยภายในห้างเสริมไทย จังหวัดมหาสาคามที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้า พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ค่าระดับความคิดเห็นด้านผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย ด้านคน ด้าน Physical Evidence และด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ใผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า (1)อายุที่แตกต่างกันกับปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจาหน่าย ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านคน ด้านศักยภาพ และด้านกระบวนการไม่มีผลต่อการเลือกซื้อเลือกผ้าในห้างเสริมไทย (2)สถานภาพที่แตกต่างกันกับปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านคน ด้านศักยภาพ และด้านกระบวนการไม่มีผลต่อการเลือกซื้อเลือกผ้าในห้างเสริมไทย (3)ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันกับปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านคน ด้านศักยภาพ และด้านกระบวนการไม่มีผลต่อการเลือกซื้อเลือกผ้าในห้างเสริมไทย (4)อาชีพที่แตกต่างกันกับปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจาหน่าย ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านคน ด้านศักยภาพ และด้านกระบวนการไม่มีผลต่อการเลือกซื้อเลือกผ้าในห้างเสริมไทย (5)รายได้ที่แตกต่างกันกับปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านคน ด้านศักยภาพ และด้านกระบวนการไม่มีผลต่อการเลือกซื้อเลือกผ้าในห้างเสริมไทย
  • รายการ
    ปัญหา และ การพัฒนาระบบบัญชี ของ บริษัท หวานใจ จำกัด= A STUDY OF PROBLEM AND DEVELOPMENT OF ACCOUNTING SYSTEM OF WHANJAI COMPANY LIMITED
    (2558-01-13T12:50:40Z) จินตนา เหล่าชัยพฤกษ์
    การศึกษาเรื่องปัญหาและการพัฒนาระบบบัญชีของบริษัท หวานใจ จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าของผู้ประกอบการได้รับรู้ถึงประโยชน์ของการจัดทำบัญชีและเสริมสร้างความรู้ด้านบัญชีให้แก่ผู้ประกอบการ ให้เห็นประโยชน์ของการจัดทำบัญชี รู้รายได้ รู้รายจ่าย จ่ายอย่างไรให้เกิดปะโยชน์สูงสุด การประกอบธุรกิจจำเป็นต้องมีการจัดทำบัญชี ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้บริหารทราบถึงผลการดำเนินงาน และฐานะทางการเงินของกิจการรวมถึงสภาพคล่องทางด้านการเงิน เปรียบเหมือนเป็นการเดินทางไปยังที่ที่ไม่รู้จักแต่เรามีแผนที่ หรือ GPS ช่วยบอกตาแหน่งที่อยู่และจุดหมายปลายทาง ทำให้รู้และสามารถเตือนตัวเองได้ทันว่า มีการออกนอกเส้นทาง หรือห่างไกลจุดหมายอย่างไรสำหรับธุรกิจขนาดเล็กทั่วไป เมื่อพูดถึงการทำบัญชีเรามักจะเห็นเป็นลักษณะของการจดรายรับ รายจ่ายลงในสมุด หรือไม่ก็เก็บใบเสร็จรับเงิน ใบแจ้งหนี้และข้อมูลทางบัญชีต่างๆไว้ในกล่องหรือไม่ก็ใส่แฟ้มวางไว้ และเมื่อเวลาผ่านไปข้อมูลทางการเงินเหล่านี้ ย่อมมีมากขึ้นๆตามการเติบโตของธุรกิจ และแน่นอนว่าทำในลักษณะนี้อาจจะไม่สะดวกต่อการบริหารจัดการของผู้ประกอบการนั้นๆ ฉะนั้น คงถึงเวลาที่จะต้องพิจารณาหาระบบบัญชีมาไว้ใช้งานเพื่อช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจระบบบัญชีสำหรับธุรกิจ ไม่ใช่แค่จดใส่สมุด ใส่กล่องหรือใส่แฟ้มธรรมดา แต่เป็นระบบที่จะเก็บและจัดการข้อมูลสำคัญทางธุรกิจ ซึ่งตัวเลขต่างๆเหล่านั้นสามารถที่จะบอกสถานะเกี่ยวกับธุรกิจของผู้ประกอบการได้หลายอย่าง อย่างไรก็ดีระบบบัญชีนั้นทำได้มากกว่าแค่เก็บข้อมูล แต่สามารถใช้เป็นดัชนีทางการเงินได้อีกด้วย เนื่องจากระบบบัญชีจะมีส่วนประกอบต่างๆเหล่านี้ • สามารถเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน รายรับ รายจ่าย ค่าบริหารจัดการต่างๆ • สามารถจัดการข้อมูลได้ เช่น การจัดเรียงข้อมูล หรือค้นหาข้อมูลตามวัน ตามประเภทของรายการได้ • มีฐานข้อมูลทางบัญชี สามารถนาข้อมูลเข้าในรูปแบบฟอร์มทางบัญชีได้ หรือสามารถคำนวณได้ • มีรายงานทางการเงิน สามารถแสดงรายงาน แสดงงบดุล งบกาไรขาดทุนเทียบกับงบประมาณได้ • วิเคราะห์ ช่วยควบคุมระบบการเงิน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หรือใช้เงินทุนที่มีได้อย่างเต็มที่ ผลตอบแทนอันคุ้มค่าของการเลือกเป็นเจ้าของธุรกิจ มาพร้อมกับความรับผิดชอบในการจัดทำระบบบัญชี เพราะระบบบัญชีที่ดีจะทำให้คุณควบคุมกิจการของตนเองได้ดีขึ้นและมีกำไรมาก ขึ้นตามมา ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การที่ระบบบัญชีไม่ดีนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงิน หรือกระแสเงินสดของธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลลามไปยังการดำเนินงานของธุรกิจในอนาคตตลอดจนสะท้อนภาพลักษณ์ขององค์กรต่อสายตาบุคคลภายนอกอีกด้วย
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าฝึกอาชีพกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน = FACTORS AFFECTING THE DECISION TO PRACTICE PROFESSION WITH THE DEVELOPMENTOF SKILL DEVELOPMENT
    (2558-01-13T08:23:30Z) ปรียานุช ดีพรมกุล
    การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการศึกษา เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าฝึกอาชีพ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานมีวัตถุประสงค์การศึกษา 1.เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผู้เข้ารับการฝึกในการตัดสินใจเข้าฝึกอาชีพของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 2.เพื่อศึกษาถึงสาเหตุในการเลือกเข้ารับการฝึกอาชีพในแต่ละสาขาของผู้เข้ารับการฝึก 3.เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกต่อการให้บริการฝึกอาชีพของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานโดยศึกษาจากปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนจำนวนสมาชิกในครอบครัว ว่ามีผลต่อมีอิทธิพลต่อการเข้าฝึกอาชีพกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานหรือไม่โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้เข้ารับการฝึกอาชีพจานวน 145 คนซึ่งกำหนดโดยใช้สูตรการคำนวณของทาโรยามาเน่ (Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม ผู้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูปทางสถิติโดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา คือ ปัจจัยส่วนบุคคลส่วนใหญ่เป็น เพศชายมากกว่าเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 78.6 อายุระหว่าง 15-20ปี คิดเป็น ร้อยละ 42.1 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ ปวช. คิดเป็นร้อยละ 37.2 มีรายได้ 4,000-7,000 บาท คิดเป็นร้อยละ47 มีสมาชิกในครอบครัว 1-3 คนคิดเป็นร้อยละ 51 ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าฝึกอาชีพ อยู่ในระดับ มากที่สุด ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าฝึกอาชีพ อยู่ในระดับ มาก หลักสูตรที่เลือกฝึกมากที่สุด คือ หลักสูตรเตรียมเข้าทำงาน เพราะรายได้ที่คาดหวังจากการเข้าฝึกอาชีพมีมากที่สุด ผู้เข้ารับการฝึกมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ระดับมาก
  • รายการ
    ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ปลาเส้นของผู้บริโภค =THE MARKETING MIX FACTORS INFLUENCING THE CONSUMER PURCHASING OF FISH SNACK PRODUCTS
    (2558-01-12T12:44:14Z) ปาณิศรา สิริเอกศาสตร์
    การศึกษาเรื่อง “ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ปลาเส้นของผู้บริโภค” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาด้านปัจจัยประชากรศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านส่วนประสมทางการตลาด ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจาหน่าย และปัจจัยด้านการส่งเสริมทางการตลาด ที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ปลาเส้นของผู้บริโภค ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่เป็นทั้งเพศชายและหญิง อายุ 15 ปีขึ้นไป จานวน 200 ตัวอย่าง ที่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ปลาเส้นฟิชโชของผู้บริโภคในเขตพญาไท วิเคราะห์ผลข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ของข้อมูล และคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 69.5 มีอายุ 15 -25 ปี ร้อยละ 48.5 สถานภาพโสด ร้อยละ 60.5 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 48.5 อาชีพนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 57.5 และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000 – 20,000 บาท ร้อยละ 47.0 จากการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับความสาคัญ เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด มีระดับความสาคัญมากที่สุด ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจาหน่าย และปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ มีระดับความสำคัญมาก
  • รายการ
    การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร กองคลัง สานักพระราชวัง= WORKING SATISFACTION OF PERSONNEL,FINANCE DEPARTMENT, BUREAU OFTHE ROYAL HOUSEHOLD
    (2558-01-12T11:05:49Z) สุทธกร เฟื่องกรณ์
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกองคลัง สำนักพระราชวัง เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจใช้แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรกองคลัง สำนักพระราชวัง จำนวน 120 ราย มีการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) เพื่อนำมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS ใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนาคือ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การหาจำนวน (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) กาหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ พบว่า ระดับความสำคัญความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกองคลัง สำนักพระราชวัง ทั้ง 8 ด้าน โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีด้านที่มีระดับความพึงพอใจมากอยู่ 4 ด้าน โดยด้านความมั่นคงในงานและชื่อเสียง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านการได้รับการยอมรับนับถือมีค่าเฉลี่ยเท่ากันและด้านนโยบายในการบริหารมีค่าเฉลี่ยต่าสุด ส่วนด้านที่มีระดับความพึงพอใจปานกลาง จานวน 4 ด้าน โดยด้านสภาพแวดล้อมในการทางาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ และด้านโอกาสความก้าวหน้าในหน้าที่การทางานมีค่าเฉลี่ยต่าสุด ตามลำดับ
  • รายการ
    ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของธนาคารออมสิน สาขาสวนจิตรลดา = CUSTOMERS’SATISFACTION ON SERVICES AT GOVERNMENTSAVINGS BANK, CHITRALADA BRANCH
    (2558-01-12T09:22:53Z) หทัยรัตน์ บรรลือ
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อ คุณภาพการให้บริการของธนาคารออมสินสาขาสวนจิตรลดาและ (2) เพื่อเป็นแนวทางในการ พัฒนาและปรับปรุงการให้บริการให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการของธนาคารออมสินสาขาสวนจิตรลดา และสาขาอื่นๆมากยิ่งขึ้น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ลูกค้าของธนาคารออมสินสาขาสวนจิตรลดา มีขนาดของตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 290 คน โดยใช้สูตรคำนวณของ TaroYamane ค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5% ใช้วิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ใช้สถิติแบบพรรณนา (Descriptivestatistic)โดยการวิเคราะห์แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย( X )และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)การวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบค่าที (t-test)และการวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว(One-WayANOVA)ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41 ขึ้นไป สถานภาพสมรสระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพ ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000 - 20,000 บาท มีจำนวนครั้งที่ใช้บริการธนาคารออมสินสาขาสวนจิตรลดาเฉลี่ยต่อเดือน 4 ครั้งขึ้นไป บริการของธนาคารออมสิน สาขาสวนจิตรลดาที่ใช้บริการมากที่สุด คือบริการฝาก-ถอนเงิน และมี ระยะเวลาที่ใช้บริการธนาคารออมสินสาขาสวนจิตรลดา 1 - 3 ปี และ 10 ปีขึ้นไป
  • รายการ
    การศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าต่อส่วนประสมการตลาดบริการของ ร้าน ริว ชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์ = A STUDY OF CUSTOMERS SATISFACTION TOWARDS SERVICES MARKETING MIX OF RYU SHABU SHABU SIAM SQUARE
    (2558-01-12T09:08:28Z) วิไลวรรณ บุญวิเซ็นต์
    การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าต่อส่วนประสมการตลาดบริการของ ร้าน ริว ชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์ โดยศึกษาจากปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ว่ามีผลต่อระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของ ร้าน ริว ชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์หรือไม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ลูกค้าที่ใช้บริการร้าน ริว ชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์ จานวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-Test และ One Way ANOVA จากผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายโดยคิดเป็นร้อยละ 53.5 ซึ่งช่วงอายุของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อายุ 21 - 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 43.8 ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 50.5 มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.8 และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่ต่ากว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาทคิดเป็นร้อยละ 42.5 2. ความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้บริการร้านริว ชาบู ชาบู สาขาสยาม สแควร์จาแนกตามปัจจัยของส่วนประสมทางการตลาดภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ระดับความพึงพอใจในด้านช่องทางการจัดจาหน่ายมากสุดรองลงมาคือ ด้านภาพลักษณ์และการนาเสนอ ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการในการทางาน ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคาและด้านการส่งเสริมการขาย ลดหลั่นลงมาตามลาดับ 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้บริการร้านริว ชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์ที่มีเพศแตกต่างกัน ให้ความพึงพอใจต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมต่างกัน
  • รายการ
    ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของโรงแรมบูรพาสามยอด= CUSTOMERS SATISFACTION ON SERVICES OF BURAPA SAMYOD HOTEL
    (2558-01-12T08:58:12Z) ณัฐชนนต์ ราชรุจิทอง
    การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของโรงแรมบูรพาสามยอด โดยศึกษาจากปัจจัยบุคคลที่แตกต่างกันได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ ว่ามีผลต่อระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของโรงแรมบูรพาสามยอดหรือไม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ลูกค้า ที่เป็นกลุ่มประชาชนชาวไทยที่เข้ามาใช้บริการของโรงแรมบูรพาสามยอดจานวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาแบบสอบถาม มี่ค่าความเชื่อมั่น 95% สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviations) จากการศึกษาพบว่า 1. มีเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยคิดเป็นร้อยละ 51.8 และ 48.2 ตามลาดับ ซึ่งช่วงอายุของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อายุ 41 – 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.5 ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับต่ากว่าปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 62.7 มีอาชีพเป็นพนักงานเอกชนคิดเป็นร้อยละ51.8 และมีรายได้ต่อเดือน 15,001 – 25,000 บาทคิดเป็นร้อยละ 55.0 2. การตัดสินใจเลือกใช้บริการของโรงแรมบูรพาสามยอดภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีระดับความพึงพอใจมากด้านสถานที่ตั้งและช่องทางจัดจาหน่าย (Place) ด้านการให้บริการด้านผลิตภัณฑ์ (Products) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ด้านราคา (Price) ลดหลั่นลงมาตามลำดับ
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น :ศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตาบล (อบต.) ในจังหวัดนครปฐม=Factors affecting the progress of mission transfer to Local Government : A case study of Subdistrict Administration Organization in Nakhonpathom Province
    (2558-01-07T08:57:15Z) รังสรรค์ อินทน์จันทน์
    การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตาบล (อบต.) ในจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจ 6 ด้าน 2) ศึกษาปัจจัยแวดล้อมทางการบริหารจัดการ 3) วิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างสถานภาพส่วนบุคคลกับความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจ 4) วิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณระหว่างปัจจัยแวดล้อมทางการบริหารจัดการกับความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจ และ 5) ค้นหาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการถ่ายโอนภารกิจที่เหมาะสม โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากพนักงาน อบต. จำนวน 300 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจาก นายก อบต., ปลัด อบต., และข้าราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 21 คน ผลการวิจัยพบว่า การถ่ายโอนภารกิจด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีความก้าวหน้ามากที่สุด โดยมี นโยบายในการบริหารจัดการการถ่ายโอนภารกิจ (ขั้นตอนระดมพลัง) เป็นปัจจัยแวดล้อมทางการบริหารจัดการที่มีค่ามากที่สุด รองมาคือทรัพยากรทางการบริหาร (งบประมาณ) วัฒนธรรมองค์การ (การมีส่วนร่วม และการทำงานเป็นทีม) โดยภาวะผู้นา (เผด็จการแบบมีศิลป์) มีค่าน้อยที่สุด ผลวิจัยนำมาสู่ข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ (1) ศึกษาเงื่อนไขแต่ละบริบทอย่างถ่องแท้ (2)นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนภารกิจตามลำดับ(3)พัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ อบต. อย่างสม่าเสมอ 2)ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (1)สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ทุกฝ่ายเข้าใจได้ตรงกัน (2) ปรับปรุงข้อกฎหมายให้ทันสมัย (3) ไม่ควรกาหนดเงื่อนไขการทำงานที่รัดตัวผู้ปฏิบัติมากจนเกินไป (4) พัฒนาทรัพยากรบุคคลของท้องถิ่นทุกระดับ โดยเฉพาะผู้บริหาร อบต. ที่ต้องมีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ เพื่อช่วยให้มีข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัย และนำมากำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางขององค์การ รวมถึงแสวงหาเทคนิคการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม อันจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน 3)ข้อเสนอแนะเชิงเทคนิค (1)สร้างวัฒนธรรมองค์การแบบการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม (2) สร้างผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่สามารถบริหารงานได้อย่างยืดหยุ่นตลอดเวลาตามสถานการณ์
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าในวิสาหกิจขนาด และขนาดย่อมในประเทศไทยเมื่อมีการเปิด
    (2557-12-04T09:56:15Z) วรุตม์ ธีรจันทรางกูร
    ในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การที่พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มาตรา 14 กำหนดให้มีทุนขั้นต่ำที่คนต่างด้าวใช้ในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจในประเทศไทยเป็นการขัดกับหลักการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) ของสมาชิกอาเซียนตามที่กำหนดไว้ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (AEC Blueprint) ซึ่งต้องให้มีข้อยกเว้นไว้สำหรับคนชาติสมาชิกอาเซียนด้วย ในเรื่องหน่วยงานในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปรากฏว่ามีหลายหน่วยงานและแต่ละหน่วยงานก็มีข้อมูลไม่ครบถ้วน จึงควรที่จะให้มีหน่วยงานหนึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการให้ความช่วยเหลือนี้ และตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 คณะกรรมการมีที่มาจากฝ่ายการเมืองจะขาดความเป็นอิสระ ขาดความคล่องตัว ขาดความรู้ความเชี่ยวชาญ ฉะนั้นจึงควรที่จะให้กรรมการต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่าสิบห้าปี ในสาขาวิชานิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงิน อุตสาหกรรม การบริหารธุรกิจหรือการบริหารราชการแผ่นดิน การคุ้มครองผู้บริโภค และจะต้องไม่เป็นผู้ถือหุ้น หรือเป็นผู้บริหารในสมาคมวิชาชีพ สมาคมการค้า หรือบริษัทใด ๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่าเกณฑ์กำหนดหรือบริษัทมหาชน ก่อนที่จะมาเป็นกรรมการไม่น้อยกว่าห้าปีด้วย ตามมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 เรื่องผู้ประกอบการที่มีอำนาจเหนือตลาดมีหลักเกณฑ์รายได้ที่สูงเกินไปทำให้ผู้ประกอบการที่ถูกจับตามีน้อยเกิดการใช้อำนาจเหนือตลาดเป็นการเอาเปรียบผู้ประกอบการรายอื่นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนั้นจึงต้องลดขนาดของรายได้ลง นอกจากนั้น ตามมาตรา 26 เรื่องการควบรวมธุรกิจที่ไม่มีความชัดเจนของจำนวนรายได้ 2,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาว่า คำนวณจากรายได้ของบริษัทเดียว หรือรวมถึงรายได้ของกลุ่มบริษัททั้งกลุ่ม ผู้วิจัยเห็นว่าควรมองอำนาจควบคุมที่แท้จริงทั้งกลุ่ม มิฉะนั้นจะเป็นช่องว่างของกฎหมายให้ผู้ประกอบการตั้งบริษัทใหม่ที่มีรายได้ต่ำเพื่อทำการรวมกิจการหลีกเลี่ยงการเป็นผู้มีอำนาจควบคุมตลาดได้ และการที่กำหนดให้ยอดเงินขาย/รายได้ ในปีที่ผ่านมาเป็นรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเฉพาะสินค้าใดสินค้าหนึ่งหรือบริการใดบริการหนึ่ง จะมีบริษัทใดที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวนั้นย่อมจะเป็นไปได้ยาก ควรให้มีการกำหนดให้คำนวณรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการทั้งหมดของบริษัท และตามมาตรา 29 เรื่องการแข่งขันเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าได้ถือแนวปฏิบัติของคำว่าเป็นธรรมนั้นเป็นลักษณะอย่างกว้าง ๆ ไม่สามารถใช้ได้จริง ควรที่จะให้ครอบคลุมประเด็นที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภค หรือผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนมากโดยตรงด้วย
  • รายการ
    ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิผู้ซื้อในการซื้อขายรถยนต์ใหม่
    (2557-11-26T11:34:21Z) ธนดล ถนอมนิรชรชัย
    ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้บริโภคผู้ซื้อรถยนต์ใหม่กับบริษัทผู้ขายรถยนต์ใหม่นั้น มีสาเหตุเกิดจากการไม่พยายามทาความเข้าใจกันเองของทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย และต่างก็ยึดถือข้อได้เปรียบเสียเปรียบของบทบัญญัติของกฎหมายที่มีใช้อยู่ ซึ่งตามระบบการค้าเสรีทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายต่างฝ่ายต่างมีสิทธิเสรีภาพในการที่จะทาสัญญาซื้อขายได้อย่างคล่องตัว โดยอยู่ภายใต้หลักเสรีภาพของการแสดงเจตนา ดังนั้นในสารนิพนธ์นี้จะวิเคราะห์เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายของผู้ซื้อรถยนต์ที่ชารุดบกพร่อง ดังนี้ 1) สิทธิปฏิเสธการรับชาระหนี้ 2) สิทธิปฏิเสธการชาระราคา 3) สิทธิเรียกให้ผู้ขายซ่อมแซม 4) สิทธิเรียกให้ผู้ขายส่งมอบทรัพย์ใหม่ 5) สิทธิเรียกค่าเสียหาย 6) สิทธิเรียกราคาคืนหรือสิทธิเลิกสัญญา สิ่งนี้ทาให้บทบาทของหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของภาครัฐในปัจจุบันก็ยังถูกมองว่าเป็นแค่ “เสือกระดาษ” ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและไม่สามารถทำการประสานความเข้าใจระหว่างผู้บริโภคและบริษัทรถยนต์ได้ จึงทำให้เกิดปัญหากับผู้บริโภคผู้ซื้อรถยนต์ใหม่ติดตามมาเช่นปัจจุบันนี้ จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องในรถยนต์อาจจะต้องอาศัยสื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการร้องเรียนเนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่พบปัญหารถยนต์ชารุดบกพร่องเกิดขึ้นภายหลังที่มีการส่งมอบจากการซื้อขายรถยนต์ใหม่ จึงเป็นที่มาของการศึกษาเพื่อหามาตรการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับความชารุดบกพร่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ครอบคลุมชัดเจนมากกว่าเดิม ผู้วิจัยเน้นศึกษาเฉพาะความชารุดบกพร่องตามบัญญัติกฎหมายไทย ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 มีใจความสาคัญว่า “…ผู้ขายต้องรับผิด...” ซึ่งกรณี ที่ผู้ขายต้องรับผิดนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักเกณฑ์ว่าด้วยความ รับผิดเพื่อชารุดบกพร่องไว้กว้างๆ แต่เพียงว่าในกรณีที่ทรัพย์สินที่ขายชารุดบกพร่อง ผู้ขายต้องรับผิด แต่ไม่ได้บัญญัติ ไว้ด้วยว่าที่ผู้ขายต้องรับผิดนั้น ต้องรับผิดอย่างไร ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของนักกฎหมายและศาลที่จะต้องตีความกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของผู้ขายให้ได้ความกระจ่าง โดยอาศัยบทบัญญัติกฎหมายลักษณะ ซื้อขาย ลักษณะหนี้หลักทั่วไป และลักษณะสัญญาเป็นเครื่องช่วย ซึ่งในเบื้องต้นจะต้องทาความเข้าใจให้กระจ่างเสียก่อนว่า ความรับผิดเพื่อชารุดบกพร่องของผู้ขายนั้น แท้จริงก็คือความรับผิดเพื่อการไม่ชาระหนี้นั่นเอง ทั้งนี้ เพราะหนี้ตามสัญญาซื้อขายนั้นหาได้จากัดอยู่เฉพาะเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบทรัพย์เท่านั้นไม่หากยังรวมไปถึงหนี้ส่งมอบทรัพย์โดยปราศจากความชำรุดบกพร่องซึ่งเป็นหนี้ ที่กฎหมายลักษณะซื้อขายได้รับรองไว้เป็นพิเศษ การที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบทรัพย์สินที่ขายแก่ผู้ซื้อยังไม่พอที่จะเรียกได้ว่าผู้ขายได้ชาระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ก็เรียก ได้ว่าเป็นการไม่ชาระหนี้เหมือนกันสิทธิของผู้ซื้อก่อนที่จะดาเนินการทางกฎหมาย ในปัจจุบันจากปัญหาเกี่ยวกับความชารุดบกพร่องของรถยนต์ซึ่งเมื่อผู้ซื้อไม่ได้รับการแก้ปัญหาด้วยความชอบธรรมก็ มักจะอาศัยสื่อมวลชนเป็นสื่อกลาง หากไม่ได้รับการเยียวยาแก้ไขให้ได้รับความชอบธรรมก็มีสิทธิที่จะนำเรื่องขึ้นฟ้องร้องต่อศาลได้ต่อไปตามสิทธิของผู้ซื้อผู้ศึกษาวิจัยได้ศึกษาผลกระทบในเรื่องนี้ และขอเสนอแนะให้แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยที่เกี่ยวกับเรื่องความชารุดบกพร่องในตัวทรัพย์ที่ชารุดบกพร่อง ให้ครอบคลุมถึงทรัพย์ที่ไม่มีคุณสมบัติตามที่ผู้ขายได้โฆษณาไว้ รวมถึงกรณีที่ผู้ขายจัดทาคู่มือบกพร่องไม่สามารถทาให้ผู้ซื้อเข้าใจถึงวิธีการและขั้นตอนในการใ ช้ทรัพย์นั้นๆ สิ่งนี้เพื่ออุดช่องว่างของ กฎหมายไทยและแก้ไขปัญหาในการตีความกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้ซื้อให้ได้รับความเป็นธรรม และควรบัญญัติสิทธิของผู้ซื้อ กรณีที่เกิดความชารุดบกพร่อง โดยระบุให้สิทธิผู้ซื้อเรียกให้ผู้ขายซ่อมแซม ทรัพย์ที่ชำรุดบกพร่อง หากผู้ขายไม่สามารถซ่อมแซมแก้ไขได้ ควรกำหนดว่าผู้ขายต้องรับผิดอย่างไรตามหลักกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่ระบุความรับผิดของผู้ขายไว้อย่างชัดเจน มีรายละเอียดสาคัญคือ สามารถเรียกให้ผู้ขายซ่อมแซมรถยนต์ที่ชำรุดบกพร่องได้ 2 ครั้ง หากเรียกให้ผู้ขายซ่อมแซมรถยนต์ที่ชำรุดบกพร่องจำนวน 2 ครั้งแล้วไม่ได้ผล ผู้ซื้อสามารถยกเลิกสัญญาหรือขอเปลี่ยนแปลงทรัพย์ใหม่ได้ หรือขอให้ลดราคาตามสัดส่วนได้หรือผู้ซื้อสามารถเรียกค่าเสียหายได้รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อต้องเสียไปเพราะเหตุทรัพย์ที่ซื้อเกิดความชารุด บกพร่อง อาทิ ค่าขนส่ง ค่าแรงงาน ค่าลาเลียง ค่าใช้จ่ายในการฟ้องคดี ค่าเสียหายที่เกิดต่อร่างกายหรือจิตใจของผู้ซื้อ
  • รายการ
    อิทธิพลการพยากรณ์ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร ของกลุ่มพนักงานที่ส่งผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา พนักงานในองค์กรผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
    (2557-11-26T09:48:32Z) ทิวา เทียนเบ็ญจะ
    การศึกษาอิทธิพลการพยากรณ์ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร ของกลุ่มพนักงานที่ส่งผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา พนักงานในองค์กรผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อค่านิยมในการทำงานของพนักงาน 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความผูกพันในการทำงาน 4) เพื่อศึกษาปัจจัย คุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร ที่มีอิทธิพลในการพยากรณ์ ต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานในองค์กรที่ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 277 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามในการวิจัย จำนวน 5 ส่วน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t-test, ANOVA และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) จากการศึกษาทำให้ทราบว่า พนักงานในองค์กรผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง และมีอายุระหว่าง 18 - 35 ปี (Generation Y) มีสถานภาพสมรส / อยู่ด้วยกัน และพนักงานส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี หรือเทียบเท่า รวมถึงมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 50,000 บาท มีอายุงานในองค์การปัจจุบัน ระหว่าง 0 - 3 ปี และเป็นพนักงานระดับชั้นต้น /บริการ อีกทั้งอยู่ใน ระดับปฏิบัติการ (ระดับ1-5) และจากการศึกษาทำให้ พบว่า พนักงานมีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน และ ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง รวมถึงมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง จากการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานในองค์กรที่ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กร พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุงานในองค์การปัจจุบัน และระดับตำแหน่งที่ต่างกันส่งผลต่อ คุณภาพชีวิตในการทำงาน แตกต่างกัน และด้านอายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุงานในองค์การปัจจุบัน ระดับตำแหน่งที่ต่างกันส่งผลต่อ ค่านิยมในการทำงานแตกต่างกัน รวมถึงปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุงานในองค์กรปัจจุบัน และระดับตำแหน่งที่ต่างกันส่งผลต่อ ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานแตกต่างกัน ในการทดสอบการพยากรณ์พบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานด้านความรอบรู้ในงาน ด้านความสามารถในการใช้วัสดุอุปกรณ์ และด้านการมาทำงานและตรงต่อเวลา และปัจจัยค่านิยมในการทำงาน มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานโดยรวมของพนักงาน และมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงาน ด้านปริมาณ ด้านคุณภาพงาน ด้านความสามารถในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ด้านความประพฤติและการปฏิบัติงานตามระเบียบวินัย ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ และด้านการพัฒนาตนเอง รวมถึง ปัจจัยความผูกพันต่อองค์กร มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานโดยรวมของพนักงานและมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานด้านความสามารถในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ด้านความสามารถในการเรียนรู้งานใหม่ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการมาทำงานและตรงต่อเวลา ด้านการพัฒนาตนเอง