มาตราการทางกฏหมายเกี่ยวกับกรรมการวัดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2562-03-07

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษามาตราการทางกฏหมายเกี่ยวกับกรรมการวัดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 จากการศึกษาพบว่าการตั้งผู้จัดประโยชน์ของวัดในรูปแบบของกรรมการตามกฏกระทรวง ฉบับที่2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 เนื่องจากพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ได้กำหนดให้วัดเป็นนิติบุคคลโดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดตามมาตรา31 และมาตรา 37 (1) ได้กำหนดให้เจ้าอาวาสมีหน้าที่บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี ซึ่งการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดได้มีการกำหนดวิธีบริหารจัดการทั้งในส่วนของอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์โดยกำหนดให้เจ้าอาวาสตั้งไวยาวัจกรหรือประโยชน์ของวัด ซึ่งในทางปฏิบัติเจ้าอาวาสจะแต่งตั้งผู้จัดประโยชน์ของวัดในรูปแบบกรรมการวัดให้เป็นผู้ดูแลและมีส่วนร่วมในการบริหารวัด จากการแต่งตั้งดังกล่าวนำมาซึ่งปัญหาการยักยอกเงินของวัดหรือมีผลประโยชน์ในกิจการงานของวัด ตลอดจนความไม่ชัดเจนในแนวทางปฏิบัติกัหน้าที่ตามที่กฏหมายได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาในด้านรูปแบบของการแต่งตั้งคณะกรรมการวัด การกำหนดคุณสมบัติ การกำหนดอำนาจหน้าที่ การกำหนดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งและความรับผิดทางอาญาที่ไม่มีความเหมาะสม สืบเนื่องมาจากการที่กฏหมายไม่ได้กำหนดรายละเอียดไว้จึงทำให้ต้องนำประมวลกฏหมายเพ่งและพาณิชย์ในเรื่องตัวแทนมาอนุโลมปรับใช้ จึงมีผลทำให้เจ้าอาวาสสามารถที่จะแต่งตั้งบุคคลใดๆที่ตนเห็นว่าสมควรขึ้นมาทำหน้าที่เป็นกรรมการวัดได้ ดังนั้นจึงเห็นควรให้มีการแก้ไขกฏกระทรวงดังกล่าว โดยให้มีการกำหนดรูปแบบการแต่งตั้งคณะกรรมการให้ชัดเจนทั้งในเรื่องของคุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ความรับผิดทางอาญา เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารวัดในพุทธศาสนาและสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของวัดในปัจจุบัน

คำอธิบาย

นิติศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำหลัก

กรรมการวัด, พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505

การอ้างอิง