การศึกษาปัญหาการบริหารงานก่อสร้าง กรณีศึกษาเทศบาลนคร ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

dc.contributor.authorสุกิจ อินทร์เจริญen_US
dc.date.accessioned2557-11-20T08:25:58Z
dc.date.available2557-11-20T08:25:58Z
dc.date.issued2557-11-20T08:25:58Z
dc.descriptionมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา วิเคราะห์ในเรื่องของคุณภาพบุคลากรและการบริหารงานก่อสร้างของสำนักการช่างเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ บุคลากรของสำนักการช่างเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม เดือนตุลาคม 2556 จำนวน 32 ชุด และนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Coefficient Correlation) โดยกำหนดค่านัยสำคัญ (Significance) ที่ระดับค่า p <.05 หรือระดับค่าความเชื่อมั่นทางสถิติที่ร้อยละ 95 และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression Analysis) การศึกษาครั้งนี้พบว่า ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ในส่วนงานการช่างของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 40-49 ปี มีสถานภาพ สมรส/อยู่ด้วยกัน มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีสายงานอยู่ส่วนโยธา มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1-5 ปี และมีรายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท มีคุณภาพของบุคลากรประกอบด้วย ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงาน ด้านการควบคุม ด้านการประเมินผล ด้านความรู้ ด้านความสามารถ ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน และด้านมนุษย์สัมพันธ์ มีผลต่อการบริหารงานก่อสร้างของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยรวมพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานกับประสิทธิภาพในการทำงาน พบว่าปัจจัยทั้งความสัมพันธ์การบริหารงานก่อสร้างของเทศบาลนครปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรีจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัจจัยทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ การบริหารงานก่อสร้างด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงาน ด้านการควบคุม ด้านการประเมินผล ด้านความรู้ ด้านความสามารถ และด้านทักษะในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานก่อสร้างของเทศบาลนครปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรีทิศทางเดียวกันโดยมีความสัมพันธ์กันในทางบวก กล่าวคือเมื่อบุคลากรมีคุณภาพในแต่ละด้านสอดคล้องกับการบริหารงานก่อสร้างก็จะทำให้เทศบาลนครปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรีมีการบริหารงานก่อสร้างประสิทธิภาพที่ดีด้วยดีขึ้นด้วย สำนักการช่างเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ควรมีแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้แก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้มีการทำงานร่วมกันและการแลกเปลี่ยนแนวความคิดการทำงานเป็นทีม รวมทั้งการส่งเสริมให้บุคลากรได้ถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการการทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและสามารถพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4497
dc.subjectปัญหาการบริหารงานก่อสร้างen_US
dc.subjectเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีen_US
dc.titleการศึกษาปัญหาการบริหารงานก่อสร้าง กรณีศึกษาเทศบาลนคร ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีen_US
dc.typeArticleen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
บทความ แบบประเมิน สุกิจ CM-2556.pdf
ขนาด:
55.52 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.73 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: