ความพึงพอใจของกลุ่มผู้โดยสารชาวไทยที่เดินทางอยู่เป็นประจำในการรับบริการมื้ออาหารบนเครื่องบินโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เชิงนามธรรม

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มผู้โดยสารที่มีการเดินทางอยู่เป็นประจำในประเด็นการรับบริการอาหารบนเครื่องบินโดยวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้โดยสารชาวไทยที่เป็นสมาชิกระดับสูงของสายการบิน มีการเดินทางในเส้นทางในประเทศและต่างประเทศรวมกันเกิน 50,000 ไมล์ต่อปีหรือเทียบเท่าตามเกณฑ์ของแต่ละสายการบิน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง 20 ท่าน จากหลากหลายอาชีพ ผลการวิจัยพบว่าร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่างรู้สึกพึงพอใจโดยสามารถอภิปรายเหตุผลสนับสนุนออกมาได้เป็น 5 หัวข้อใหญ่ได้แก่ 1. มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม 2. เกิดความภาคภูมิใจในสายการบิน 3. มีความปลอดภัยมากกว่า 4. ไม่ได้มีความคาดหวังกับบริการอื่นนอกเหนือจากการขนส่ง 5. การลดต้นทุนของสายการบินซึ่งอาจนำไปสู่การลดราคาของบัตรโดยสารได้และร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างรู้สึกไม่พึงพอใจโดยสามารถอภิปรายเหตุผลสนับสนุนออกมาได้เป็น 5 หัวข้อเช่นเดียวกัน ซึ่งได้แก่ 1. ขาดความสะดวกสบายในเรื่องของการใช้งาน 2. ไม่มั่นใจในเรื่องของความสะอาด 3. ไม่มั่นใจว่าจะเป็นการสร้างขยะเพิ่มหรือไม่ 4. เสียภาพลักษณ์ของสายการบิน 5. ไม่เชื่อมั่นในนโยบายการรักษาสิ่งแวดล้อมของสายการบิน ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยได้แก่สายการบินควรพิจารณาเรื่องการสื่อสารและการให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นนี้อย่างทั่วถึงแก่ผู้โดยสารเพื่อยกระดับความพึงพอใจให้มีมากขึ้น

คำอธิบาย

-

คำหลัก

ธุรกิจสีเขียว, ความพึงพอใจของผู้โดยสาร, เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, การบริการอาหารบนเครื่องบิน

การอ้างอิง

ธรรมนูญ วิศิษฏ์ศักดิ์ และ สุธินี มงคล. (2567). ความพึงพอใจของกลุ่มผู้โดยสารชาวไทยที่เดินทางอยู่เป็นประจำในการรับบริการมื้ออาหารบนเครื่องบินโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 21(1), 318-327.