ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการศึกษาภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2552-08-28T07:44:41Z

ผู้เขียน

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิจัยเอกสาร ซึ่งเป็นการศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 โดยมีประเด็นในการศึกษาว่าการกำหนดหน้าที่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองในการจัดให้บุตรหรือผู้อยู่ในความดูแลได้รับการการศึกษาภาคบังคับที่กำหนดไว้ในมาตรา 11 และ มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นั้น มีความชัดเจนในการบังคับใช้หรือไม่ โดยวิเคราะห์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ข้อบังคับในพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 และ หลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ผลการศึกษาวิเคราะห์ พบว่า ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือผู้อยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 นั้น ขาดความชัดเจนที่จะนำมาใช้บังคับใช้ได้ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้ 1. ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดความหมายของคำว่าบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง 2. ปัญหาเกี่ยวกับความหมายและหน้าที่ของสถานประกอบการ 3. ปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการศึกษา 4. ปัญหาเกี่ยวกับข้อยกเว้นหน้าที่ของบิดา มารดา5. ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบการเข้าเรียนของการศึกษาภาคบังคับ 6. ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษ ส่งผลให้เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหกไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ในการเข้ารับการศึกษาภาคบังคับอย่างเสมอภาคกันตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก สามารถได้รับการศึกษา ภาคบังคับตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับต่างๆ ในพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 เพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. กำหนดบทบาทหน้าที่ของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ได้แก่ 1.1 กำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อบังคับ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองให้ปฏิบัติตาม หน้าที่ในการส่งบุตรหรือผู้อยู่ในความดูแลให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 1.2 กำหนดเหตุยกเว้นความรับผิดชอบของบิดา มารดา หรือผู้ปกครองในการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยกำหนดสาเหตุที่จะขอผ่อนผันหรือขอยกเว้นหน้าที่ไว้ให้ชัดเจน และมีระยะเวลาในการปฏิบัติที่แน่นอนและไม่นานเกินไป 1.3 กำหนดความหมายของบิดา มารดา หรหือผู้ปกครองให้ชัดเจน 2. กำหนดความหมายของสถานประกอบการให้ชัดเจนว่าหมายถึง สถานที่ซึ่งผู้ประกอบ- การใช้ประกอบกิจการเป็นประจำและหมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย ในที่นี้ เป็นการกล่าวถึงสถานประกอบการที่ไม่ใช้สถานศึกษาและกำหนดหน้าที่ของสถานประกอบการที่ชัดเจนต่อการรับผิดชอบผู้เข้าทำงานที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ 3. กำหนดรูปแบบการจัดการศึกษาภาคบังคับและผู้มีสิทธิจัดการศึกษาให้ชัดเจน 4. กำหนดหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจสอบให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 โดย 4.1 กำหนดวิธีการตรวจสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4.2 กำหนดโทษในการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบของพนักงาน เจ้าหน้าที่ 5. กำหนดให้มีมาตรการบังคับรัฐ และสถานศึกษา

คำอธิบาย

คำหลัก

การศึกษา, พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545

การอ้างอิง

คอลเลคชัน