การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) ที่มีผลต่อประสิทธิภาพ การทำงานของพนักงาน: กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
dc.contributor.author | กิตติพงษ์ สิงห์ผดุงศักดิ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2562-03-08T02:45:08Z | |
dc.date.available | 2019-03-08T02:45:08Z | |
dc.date.issued | 2562-03-08 | |
dc.description | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของพนัก งานที่มีต่อการดำเนินกิจกรรมการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนทีส่วนร่วม จำแนกตามลักษณะประชากร ศาสตร์ (TPM) 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของพนักงานเกี่ยวกับการบำรุงรักษา ทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างความรู้ความเข้าใจของพนักงานเกี่ยวกับการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) กับ ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานจากการใช้เทคนิคการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือพนักงานที่ทำงานในบริษัท ไทยซัมมิท อีสเทิร์นซี บอร์ด โอโต้พาร์ท อินดัสตรี จำกัด จังหวัดระยอง จำนวนของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ 286 คน โดยจำนวนของกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเปิดตารางของ Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ แต่ในการวิจัยครั้งนี้ได้เพิ่มกลุ่มตัวอย่างเป็น 300 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD.) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One way ANOVA) และการหาค่าความสัมพันธ์โดย ใช้ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของพนักงานในการทำกิจกรรมการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) ในด้านประโยชน์ที่ได้จากการใช้เทคนิคการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ ในระดับมากและในด้านภาระจากการใช้เทคนิคการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ ในระดับน้อยที่สุด 2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมของพนักงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการ ปรับปรุงเฉพาะเรื่อง รองลงมาด้านความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมและด้านการบำรุงรักษาด้วย ตนเองตามลำดับ 3. พนักงานที่มีเพศ ตำแหน่ง ระยะเวลาในการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการ บำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p> .05) 4. พนักงานที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05) 5. พนักงานที่มีเพศ ตำแหน่ง ระยะเวลาในการทำงานต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การบำรุง รักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (p > .05) 6. พนักงานที่มีอายุต่างกันมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบำรุง รักษาทวีผลที่ทุกคนมี ส่วนร่วม (TPM) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05) 7. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมกับประสิทธิภาพ การทำงานของพนักงานในภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 (p < .05) และ .01 (p < .01) โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ และเป็นไปในทิศทาง เดียวกัน | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6015 | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.subject | การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม | en_US |
dc.subject | ประสิทธิภาพ | en_US |
dc.subject | การผลิต | en_US |
dc.title | การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) ที่มีผลต่อประสิทธิภาพ การทำงานของพนักงาน: กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ | en_US |
dc.title.alternative | TOTAL PRODUCTIVE MAINTENANCE AFFECTING WORK EFFICIENCY OF PRODUCTION OPERATORS: A CASE STUDY ON AUTO PART FACTORY | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |