การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทารกในครรภ์มารดา ศึกษากรณีการทำแท้งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2563

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการหาคำตอบถึงการเริ่มต้นของความเป็นมนุษย์ที่นำไปสู่การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพื่อการวิเคราะห์ถึงปัญหาการทำแท้ง โดยการวิเคราะห์ได้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยเอกสาร ข้อค้นพบการวิจัยคือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิทธิมนุษยชนที่มีการรับรองในกฎหมายระหว่างประเทศและในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่เป็นปัญหาก็คือการเริ่มต้นของความเป็นมนุษย์ ซึ่งตามหลักศาสนาและปรัชญาพบว่าเริ่มตั้งแต่ เมื่ออยู่ในครรภ์มารดา โดยเชื่อว่าจุดเริ่มต้นของความเป็นมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อมีดวงจิตวิญญาณเข้าไปสถิตในตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์มารดา และปรัชญาจีนนับอายุแรกเกิดของทารก เป็น 1 ปี โดยนับตั้งแต่การปฏิสนธิในครรภ์มารดาเรื่อยมาจนคลอดเป็นเวลา 1 ปี ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มีความสัมพันธ์กับการทำแท้งซึ่งมีกฎหมายกำหนดไว้แล้ว 2 แนวทาง คือ อนุญาตให้มีการทำแท้งเสรีหรือกำหนดให้การทำแท้งเป็นความผิดทางอาญา ซึ่งประเทศไทยกฎหมายอาญากำหนดให้การทำแท้งเป็นความผิดอาญาตาม มาตรา 301-304 และมีข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 305 ซึ่งหากนำเอาหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาใช้แล้ว การทำแท้งต้องไม่ให้เป็นเสรีโดยไม่มีข้อยกเว้น เพื่อแสดงถึงการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

คำอธิบาย

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, การทำแท้ง, กฎหมายอาญา

การอ้างอิง

อธิป ลิ้มไพบูลย์. 2563. "การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทารกในครรภ์มารดา ศึกษากรณีการทำแท้งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.