LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 6 ของ 6
  • รายการ
    มาตรการตามกฎหมายเกี่ยวกับกลไกการตรวจสอบพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) วราพงษ์ ฤทธิ์ศรี
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาถึง (1) หลักการ แนวคิด และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในส่วนที่เกี่ยวกับกลไกการตรวจสอบพยานหลักฐานและความจริงในคดีอาญา และกฎหมายต่างประเทศ (2) ปัญหาความเป็นอิสระของพนักงานสอบสวนในการค้นหาความจริงและแสวงหาพยานหลักฐานในคดีอาญาในชั้นสอบสวน (3) ปัญหาการลงพื้นที่เกิดเหตุของพนักงานอัยการเพื่อตรวจสอบความจริงหรือข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในคดี (4) ปัญหาความเป็นอิสระของศาลในการตรวจสอบความจริงและพยานหลักฐานตามคำฟ้องโจทก์และในการหยิบยกพยานหลักฐานตามที่ปรากฏขึ้นจริงก่อนจะพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิด
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระยะเวลาในการออกคำสั่งทางปกครอง : กรณีศึกษาการดำเนินการทางวินัยข้าราชการตำรวจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) อุเทน นุ้ยพิน
    คำสั่งลงโทษทางวินัยถือเป็นคำสั่งทางปกครองประเภทหนึ่ง ซึ่งระยะเวลาในการพิจารณาเพื่อออกคำสั่งลงโทษทางวินัย ต้องถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้เฉพาะ แต่ต้องมีหลักเกณฑ์ประกันความเป็นธรรมไม่ต่ำกว่าที่บัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง สำหรับการพิจารณาเพื่อออกคำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการตำรวจนั้น กฎหมายตำรวจบัญญัติให้ต้องพิจารณาให้เสร็จสิ้นโดยเร็วแต่ทั้งนี้ไม่เกิน 240 วัน นับแต่วันได้รับสำนวน
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายกรณีร่วมกัน กำหนดราคาอันเป็นการผูกขาดหรือลดการแข่งขันหรือจำกัดการแข่งขัน
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) วาทิณี คำดี
    กฎหมายแข่งขันทางการค้า ถูกบัญญัติขึ้นโดยมีเจตนารมณ์ในการสนับสนุนส่งเสริมกลไกการแข่งขันของตลาดให้มีการประกอบธุรกิจให้เป็นไปอย่างเสรี และป้องกันไม่ให้มีการผูกขาดทางการค้าเกิดขึ้น การแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันต้องเกิดจากการเสนอขายสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพและราคาเหมาะสมให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งหากการแข่งขันอย่างเสรีนั้นเป็นไปตามกลไกของตลาดแล้ว ย่อมเกิดความยุติธรรมกับทั้งผู้ประกอบการด้วยกันเองและผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้น ในประเทศไทยได้บัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2480 หากแต่ยังไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้อย่างเต็มที่ เนื่องจากกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยไม่ให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าโดยเอกชน แต่จะให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมายโดยองค์กรของรัฐ จากการศึกษาพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรกำหนดให้องค์กรของรัฐมีอำนาจในการตั้งเรื่องพิจารณาความผิดของผู้ประกอบการได้โดยไม่จำต้องมีการร้องเรียนจากผู้เสียหายก่อน รวมทั้งมีอำนาจในการสอบสวนและมีคำวินิจฉัยว่ามีการกระทำที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติหรือไม่ เมื่อมีคำวินิจฉัยแล้ว ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็สามารถใช้สิทธิทางกฎหมายฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำการอันฝ่าฝืนได้ โดยกฎหมายที่บัญญัติให้เอกชนเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายนั้น บัญญัติอยู่ในพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มาตรา 69 ที่บัญญัติให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกำหนดราคาซื้อ หรือราคาขายสินค้า หรือบริการอันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขัน มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อเรียกค่าเสียหายจากผู้ประกอบการที่มีพฤติการณ์ฝ่าฝืนบทบัญญัติได้ ซึ่งหากมีคำวินิจฉัยที่ถูกพิจารณาและรับรองโดยองค์กรของรัฐแล้ว ผู้เสียหายก็ไม่จำต้องพิสูจน์ความผิดของจำเลยอีก
  • รายการ
    ปัญหาการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ศึกษากรณีผู้ใช้อานาจปกครอง
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ลัดดาวัลย์ สว่างการ
    การกระทำผิดเกี่ยวกับเพศถือเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมากในสังคมไทยโดยเฉพาะการกระทำต่อผู้อยู่ในความปกครองของตน โดยเหตุเพิ่มโทษตามมาตรา 285 ประมวลกฎหมายอาญา จำกัดเฉพาะการกระทำต่อผู้อยู่ในความปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น อีกทั้งยังไม่มีการกำหนดความรับผิดให้ครอบคลุมถึงบุคคลในครอบครัวที่อาจมีส่วนในการสนับสนุนให้เกิดการกระทำผิดดังกล่าว จึงทำให้บทบัญญัติของกฎหมายยังมีช่องว่างในการบังคับใช้ เนื่องจากการกระทำผิดเกี่ยวกับเพศไม่ได้เกิดขึ้นแก่ผู้อยู่ในความปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นแต่อาจเกิดแก่บุคคลในลักษณะอื่นได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การกระทำต่อลูกเลี้ยง บุตรบุญธรรมหรือญาติพี่น้องที่มาอยู่ในความปกครองของผู้กระทำความผิด เป็นต้น ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าหากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศแก่บุคคลที่อยู่ในลักษณะของผู้อยู่ในความปกครองตามความเป็นจริงของผู้กระทำความผิดนั้นจะไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิจากเหตุเพิ่มโทษตามมาตรา 285 ประมวลกฎหมายอาญา จึงทำให้การบังคับใช้กฎหมายในกรณีการกระทำผิดเกี่ยวกับเพศโดยผู้ใช้อานาจปกครองนั้นมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้หมดไปจากสังคมไทยได้ จึงเป็นการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์และเปรียบเทียบการบังคับใช้เหตุเพิ่มโทษในความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ในกรณีผู้ใช้อานาจปกครองตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ อาทิ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยทำการศึกษาทั้งแนวคิดทฤษฎีและในส่วนของหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว
  • รายการ
    มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการประกอบธุรกิจมัคคุเทศก์
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) เสริมศักย์ แสงมณี
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาสภาพปัญหาการควบคุมองค์กรภาคเอกชนในธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยศึกษากฎหมายต่างๆของประเทศไทยควรจะมีข้อกำหนดในการควบคุมองค์กรเอกชนอย่างไรเพื่อที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากกฎหมายในประเทศไทยเกี่ยวกับการควบคุมองค์กรภาคเอกชนในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่ พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการควบคุมองค์กรเอกชนในธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเอาไว้โดยกว้างแต่ในกฎหมายดังกล่าวยังไม่มีองค์กรที่เข้ามาดูแลรับผิดชอบโดยตรง ซึ่งปัญหาที่เกิดจากองค์กรเอกชนนั้น คือองค์กรเอกชนผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่มีความสำนึกในหน้าที่ ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีแต่ความเห็นแก่ตัว มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของนักท่องเที่ยวหรือผู้บริโภค เอารัดเอาเปรียบและความไม่เป็นธรรมที่นักท่องเที่ยวได้รับ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะโดยการให้มีการแก้ไขบทบัญญัติในพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ในเรื่องของการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมดูแลกิจการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โดยการกำหนดแผนงานที่เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ธุรกิจท่องเที่ยวและให้ความคุ้มครองความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวผู้ประกอบธุรกิจหรือที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วยการกำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมกิจการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปราม การฟอกเงินกับธุรกิจเครือข่าย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) วรทัต เรืองฤทธิ์
    การศึกษาเรื่อง “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกับธุรกิจเครือข่าย”เกิดขึ้นจากธุรกิจเครือข่ายนั้นมีลักษณะนำสินค้าและบริการมาบังหน้าเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและอวดอ้างสรรพคุณสินค้าจนเกินจริงตลอดจนเน้นการหาสมาชิกเข้าร่วมเครือข่ายเป็นหลักไม่เน้นการขายสินค้าซึ่งกำลังลุกลามไปทั่วโลกแม้ว่าพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 จะกำหนดความผิดมูลฐานไว้หลายความผิดรวมทั้งกำหนดมาตรการลงโทษผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงินที่ค่อนข้างรุนแรงแต่ก็ยังไม่อาจตีความหมายให้ความผิดมูลฐานครอบคลุมไปถึงการประกอบธุรกิจเครือข่ายได้แต่ประการใด ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายฟอกเงินมีมาตรการลงโทษผู้กระทำความผิดที่ค่อนข้างรุนแรงด้วยการกำหนดอัตราโทษขั้นต่ำและอัตราโทษอย่างสูงรวมทั้งกำหนดโทษทั้งจำทั้งปรับไว้ในคราวเดียวกันแต่ศึกษามาตรการลงโทษผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรงพ.ศ. 2545 พบว่า มาตรการลงโทษที่ใช้ลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดส่วนใหญ่จะเป็นเพียงโทษปรับเท่านั้น