ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการจำนองรถยนต์
กำลังโหลด...
วันที่
2558-09-09T11:45:53Z
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
ปัจจุบันสินเชื่อโดยใช้รถยนต์เป็นหลักประกันการชำระหนี้มักจะทำในรูปแบบของสัญญาเช่าซื้อ ซึ่งผลของการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจะทำให้ผู้เช่าซื้อสามารถใช้ประโยชน์รถของตนเองได้โดยไม่ต้องส่งมอบให้แก่เจ้าหนี้ และต่อมาได้มีการออกพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2551 โดยกำหนดให้รถยนต์ที่จดทะเบียนแล้ว รถพ่วง รถบดถนน และรถแทรคเตอร์ที่จดทะเบียนแล้วให้เป็นทรัพย์สินประเภทที่จำนองเป็นประกันหนี้ได้ตามกฎหมาย
การนำรถยนต์มาจำนองเป็นประกันหนี้นั้น พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2551 ได้เพิ่มเติมมาตรา 17/1 เพียงมาตราเดียว แต่หลักเกณฑ์การจำนองรถยนต์มีขั้นตอนเป็นอย่างไรไม่มีการกล่าวไว้ให้ชัดเจน ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจำนองที่มีใช้บังคับเป็นหลักทั่วไปคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 12 ตั้งแต่มาตรา 702 ถึง มาตรา มาตรา 746 ซึ่งรถยนต์เป็นทรัพย์สินที่สามารถใช้ประโยชน์เพื่อเป็นยานพาหนะในการขนส่ง หรือขนถ่ายสินค้า รวมทั้งใช้ในกิจการงานก่อสร้าง เป็นต้น จึงทำให้รถยนต์มีกฎหมายควบคุมเป็นการเฉพาะคือ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 แต่กฎหมายดังกล่าวเป็นเพียงกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้บังคับควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บค่าภาษีประจำปีเท่านั้น จึงทำให้ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการจำนองรถยนต์เป็นประกันได้ตามกฎหมาย ดังนั้น จึงต้องมีการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การนำรถยนต์มาจำนองเป็นประกันหนี้จะต้องมีการดำเนินการอย่างไรจึงจะสามารถทำให้มีการจำนองรถยนต์เกิดขึ้นได้ตามกฎหมาย และสามารถใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้
คำอธิบาย
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คำหลัก
การจำนองรถยนต์
การอ้างอิง
พลกฤษณ์ ตันติชัยนุสรณ์. 2561. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการจำนองรถยนต์." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.