การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจของนโยบายภาครัฐ : กรณีศึกษาความเป็นไปได้ ในการลงทุนปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย

dc.contributor.authorสุภาวดี โพธิยะราช
dc.date.accessioned2552-02-16T04:50:13Z
dc.date.available2552-02-16T04:50:13Z
dc.date.issued2547
dc.descriptionได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัยสำหรับบุคลากรภายใน ปีการศึกษา 2546en_US
dc.description.abstractยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศจำนวนมาก จนปัจจุบันรัฐบาลได้มีโครงการส่งเสริมการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกร ในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด จำนวน 300,000 ไร่ โดยผู้วิจัยได้เลือกศึกษา สำรวจ เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราจำนวน 133 ราย ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา พิษณุโลก แพร่ อุตรดิตถ์ และจังหวัดอุทัยธานี โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาสภาพทั่วไปทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทน ทางการเงินในการลงทุนทำสวนยาง ตลอดจนหาอายุยางพาราที่เหมาะสมในการปลูกทดแทน ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรจังหวัดพะเยา และอุทัยธานี เป็นเกษตรกรกลุ่มแรกที่ได้เริ่มทดลองปลูกยางพารา โดยปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 และมีรายได้จากการขายยางแผ่นสูงกว่าการเพาะปลูกพืชชนิดอื่น ทำให้อาชีพการทำสวนยางเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอให้กับครอบครัว ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น ลดปัญหาการโยกย้ายแรงงานเข้ามาทำงาน ในเขตเมือง ลดปัญหาการทำไร่เลื่อนลอย และยังช่วยให้พื้นที่ภาคเหนือมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามเกษตรกรชาวสวนยางได้พบปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ได้แก่ การขาดความรู้ความเข้าใจ ในการทำสวนยาง ขาดแคลนเงินทุน ในการซื้อปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ขาดข้อมูลข่าวสารด้านการตลาด - ด้านราคาซื้อ - ขายยาง และปัญหาเรื่องการป้องกันไฟป่า เป็นต้น การลงทุนทำสวนยางพาราของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือบนพื้นที่ 15 ไร่ เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนซื้ออุปกรณ์ทำสวนยางพาราโดยเฉลี่ยประมาณ 46,116 บาท/ฟาร์ม และผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการทำสวนยางพารา พบว่า ยางพาราช่วงอายุ 8-10 ปี 11-14 ปี 15 - 20 ปี และ 21 ปีขึ้นไปให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 276.82 321.74 208.97 และ 155.60 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ราคายางแผ่นที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยเท่ากับ 39.98 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อหักต้นทุนผันแปรและ ต้นทุนคงที่ต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรมีกำไรสุทธิทั้งหมด เท่ากับ 7,933.26 10,386.17 6,178.62 และ 4,127.89 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินของการปลูกยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือบนพื้นที่ 15 ไร่ ระยะเวลาเพาะปลูก 25 ปี พบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 560,230.83 บาท อัตราส่วนระหว่างมูลค่าปัจจุบันของผลได้กับมูลค่าปัจจุบันของต้นทุน (B/C) เท่ากับ 2.09 ที่อัตราคิดลด 7% และ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) เท่ากับร้อยละ 16.76 ดังนั้น การประเมินค่าทางการเงินของการทำสวนยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือ ปีเพาะปลูก 2545/2546 ให้ผลว่าเป็นโครงการที่คุ้มค่าในการลงทุน และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการโดยกำหนดให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 โดยกำหนดให้รายได้คงที่, รายได้ลดลงร้อยละ 10 โดยกำหนดให้ค่าใช้จ่ายคงที่, และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และรายได้ลดลงร้อยละ 10 ผลการศึกษาพบว่า โครงการยังคงมีความเหมาะสมและ คุ้มค่าต่อการลงทุนในทุกกรณี สำหรับการวิเคราะห์หาอายุยางพาราที่เหมาะสมในการปลูกทดแทน พบว่า ช่วงอายุยางพาราที่เหมาะสมในการปลูกทดแทนมากที่สุดคือช่วงอายุ 21 ปี และราคาขั้นต่ำ ที่จะทำให้การลงทุนทำสวนยางพาราของเกษตรกรยังคงมีความคุ้มค่าในการลงทุน เท่ากับ 15.90 บาท/กิโลกรัม ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่ารัฐควรสนับสนุนการลงทุนในการปลูกยางพาราในภาคเหนือ เพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงของเกษตรกร โดยการให้ความรู้ด้านการผลิต สินเชื่อ และด้าน การตลาดผลผลิตen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1358
dc.subjectการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินen_US
dc.subjectการลงทุนปลูกยางพาราen_US
dc.titleการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจของนโยบายภาครัฐ : กรณีศึกษาความเป็นไปได้ ในการลงทุนปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeECONOMIC ANALYSIS OF GOVERNMENT POLICY : A CASE OF FINANCIAL FEASIBILITY STUDY OF INVESTMENT IN PARA RUBBER PLANTATION FOR RAISING FARM INCOME AND FARMERS SECURITY IN NORTHERN REGION OF THAILANDen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
46 สุภาวดี.pdf
ขนาด:
1.69 MB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
รายงานวิจัย
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.73 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: