ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อน้ำผักและน้ำผลไม้พร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร= A STUDY OF MARKTING MIX ON PURCHASING VEGETABLE AND FRUIT DRINKING JUICE IN BANGKOK

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2558-01-26T08:50:36Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลือกซื้อน้ำผลไม้พร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกซื้อน้ำผักและน้ำผลไม้พร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครโดยท้าการศึกษาจากผู้บริโภคที่ซื้อน้ำผักและ/ หรือน้ำผลไม้พร้อมดื่มในเขตกรุงเทพมหานคร และเนื่องจากไม่ สามารถกำหนดจำนวนผู้ซื้อที่แท้จริงได้ จึงหาจำานวนกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ Taro Yamane ความเชื่อมั่น 95% กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามที่ออกแบบมา 2ด้านคือ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และส่วนประสมทางการตลาด โดยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลัก ทฤษฎีไม่อ้างอิงไม่น่าจะเป็น (Non-probability Sampling) แบบวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามาประมวลผลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เป็นการบรรยายลักษณะที่สำคัญของ ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง โดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมานเป็นสถิติที่ใช้ทดสอบ โดยการวิเคราะห์ ค่าความสัมพันธ์ Chi-square ในระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัท และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป การเลือกซื้อส่วนมากรูปแบบเป็น น้ำผลไม้ ส่วนมากนิยมซื้อรสน้ำส้ม ยี่ห้อทิปโก้ ดื่มน้ำผัก และน้ำผลไม้พร้อมดื่มเพื่อแก้กระหาย/ให้ความสดชื่นโดยตัวเองเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลซื้อมากที่สุด ซื้อในช่วงกลางวัน จากร้านสะดวกซื้อในขนาด 200-300 มล. ลักษณะเป็นกล่อง และซื้อน้ำผักและน้ำผลไม้พร้อมดื่ม 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ในส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อพบว่าราคาของผลิตภัณฑ์เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพล มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดตามลำดับ ในส่วนของผลการทดสอบสมมติฐานด้านประชากรศาสตร์พบว่า เพศ มีความสัมพันธ์กับความบ่อยครั้ง อายุมีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาในการซื้อ สถานภาพมีความสัมพันธ์กับประเภทของน้ำผัก และน้ำผลไม้พร้อมดื่ม ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับประเภทของน้ำผัก และน้ำผลไม้พร้อมดื่ม อาชีพมีความสัมพันธ์กับความบ่อยครั้งในการซื้อ รายได้มีความสัมพันธ์กับขนาดที่ ซื้อ และส่วนประสมทางการตลาดคือ ด้านผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับความบ่อยครั้งในการซื้อด้านราคามีความสัมพันธ์กับขนาดที่เลือกซื้อ ด้านการจัดจำหน่ายมีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาในการซื้อ ด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์กับยี่ห้อน้ำผักและน้ำผลไม้พร้อมดื่มที่เลือกซื้อ

คำอธิบาย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

ส่วนประสมทางการตลาด, การเลือกซื้อ, น้ำผักและน้ำผลไม้

การอ้างอิง