การลดระยะเวลาการเติมสินค้าหน้าชั้นวางโดยใช้ระบบคัมบัง กรณีศึกษา ธุรกิจค้าปลีก
กำลังโหลด...
วันที่
2565
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการเติมสินค้าบนชั้นวางของหาแนวทางการลดระยะเวลาเติมสินค้าบนชั้นวางสำหรับธุรกิจค้าปลีกโดยชะระบบคัมบัง โดยการนำหลักการ ECRS ช่วยในการวิเคราะห์ลดความสูญเปล่าและนำระบบคัมบัง มาช่วยในการเบิกสินค้าแบบทันเวลาพอดี จากการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากสองสาเหตุคือกระบวนการทำงานและโครงสร้างของอาคาร ผลที่ได้จากการปรับปรุงด้วยเทคนิค ECRS สามารถลดระยะเวลาการทำงานได้โดยเฉลี่ย 8.29 นาที โดยการเบิกสินค้ารอบบ่าย รอบเย็น รอบพิเศษ ก่อนปรับปรุงด้วยเทคนิค ECRS มีขั้นตอน 30 ขั้นตอน หลังปรับปรุงเหลือ 26 ขั้นตอน ระยะทางการเคลื่อนย้ายลดลงจาก 397.6 เมตร เป็น 397.4 เมตร รอบด่วนก่อนลูกค้าปรับปรุงมีขั้นตอน 23 ขั้นตอน หลังปรับปรุงพบว่าเหลือ 20 ขั้นตอน ระยะการเคลื่อนย้ายลดลงจาก 355.5 เมตร เป็น 352 เมตร กระบวนการทำงานที่ปรับปรุงโดยระบบคัมบัง สามารถลดระยะเวลาการทำงานได้โดยเฉลี่ย 42.04 นาที กิจกรรมการเบิกสินค้านอกระบบรอบบ่าย รอบเย็น รอบพิเศษ ก่อนปรับปรุงมี ขั้นตอน 30 ขั้นตอน หลังปรับปรุงด้วยระบบคัมบัง Kanban พบว่าเหลือ 12 ขั้นตอน ระยะทางการเคลื่อนย้ายเพิ่มขึ้นจาก 397.6 เมตร เป็น 449.7 เมตร รอบด่วนก่อนลูกค้าก่อนปรับปรุงมีขั้นตอน 23 ขั้นตอน หลังปรับปรุงพบว่าเหลือ 12 ขั้นตอน แต่ระยะทางการเคลื่อนย้ายเพิ่มขึ้นจาก 355.5 เมตร เป็น 449.7 เมตร เนื่องจากพนักงานหน้าร้านต้องเดินขึ้นลงลิฟต์มากขึ้น
คำอธิบาย
คำหลัก
เทคนิค ECRS, ระบบคัมบัง
การอ้างอิง
กุสุมา ไชยโชติ. 2560. “การลดระยะเวลาการเติมสินค้าหน้าชั้นวางโดยใช้ระบบคัมบัง กรณีศึกษา ธุรกิจค้าปลีก.” การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.