CLS-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 36
  • รายการ
    การลดระยะเวลาการเติมสินค้าหน้าชั้นวางโดยใช้ระบบคัมบัง กรณีศึกษา ธุรกิจค้าปลีก
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) กุสุมา ไชยโชติ
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการเติมสินค้าบนชั้นวางของหาแนวทางการลดระยะเวลาเติมสินค้าบนชั้นวางสำหรับธุรกิจค้าปลีกโดยชะระบบคัมบัง โดยการนำหลักการ ECRS ช่วยในการวิเคราะห์ลดความสูญเปล่าและนำระบบคัมบัง มาช่วยในการเบิกสินค้าแบบทันเวลาพอดี จากการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากสองสาเหตุคือกระบวนการทำงานและโครงสร้างของอาคาร ผลที่ได้จากการปรับปรุงด้วยเทคนิค ECRS สามารถลดระยะเวลาการทำงานได้โดยเฉลี่ย 8.29 นาที โดยการเบิกสินค้ารอบบ่าย รอบเย็น รอบพิเศษ ก่อนปรับปรุงด้วยเทคนิค ECRS มีขั้นตอน 30 ขั้นตอน หลังปรับปรุงเหลือ 26 ขั้นตอน ระยะทางการเคลื่อนย้ายลดลงจาก 397.6 เมตร เป็น 397.4 เมตร รอบด่วนก่อนลูกค้าปรับปรุงมีขั้นตอน 23 ขั้นตอน หลังปรับปรุงพบว่าเหลือ 20 ขั้นตอน ระยะการเคลื่อนย้ายลดลงจาก 355.5 เมตร เป็น 352 เมตร กระบวนการทำงานที่ปรับปรุงโดยระบบคัมบัง สามารถลดระยะเวลาการทำงานได้โดยเฉลี่ย 42.04 นาที กิจกรรมการเบิกสินค้านอกระบบรอบบ่าย รอบเย็น รอบพิเศษ ก่อนปรับปรุงมี ขั้นตอน 30 ขั้นตอน หลังปรับปรุงด้วยระบบคัมบัง Kanban พบว่าเหลือ 12 ขั้นตอน ระยะทางการเคลื่อนย้ายเพิ่มขึ้นจาก 397.6 เมตร เป็น 449.7 เมตร รอบด่วนก่อนลูกค้าก่อนปรับปรุงมีขั้นตอน 23 ขั้นตอน หลังปรับปรุงพบว่าเหลือ 12 ขั้นตอน แต่ระยะทางการเคลื่อนย้ายเพิ่มขึ้นจาก 355.5 เมตร เป็น 449.7 เมตร เนื่องจากพนักงานหน้าร้านต้องเดินขึ้นลงลิฟต์มากขึ้น
  • รายการ
    การนำเข้าหม้อไอน้ำสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร กรณีศึกษา : ผู้ผลิตอาหารแปรรูป
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) สวัสดิ์ชัย สุพลดี
    การวิจัยเรื่อง การนำเข้าหม้อไอน้ำสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร วัตถุประสงค์ 1.เพื่อวิเคราะห์มูลค่าเทียบเท่าปัจจุบัน 2.เพื่อวิเคราะห์การใช้งานในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร และ 3.เพื่อคัดเลือกหม้อไอน้ำที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด ในการลงทุนเลือกซื้อหม้อไอน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมที่ประกอบธุรกิจในการผลิตและแปรรูปอาหาร หม้อไอน้ำที่ใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเป็นขนาดเล็กประมาณ 1-2 ตัน ซึ่งเป็นหม้อไอน้ำชนิดท่อไฟ เป็นขนาดเล็กใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย การดูแลบำรุงรักษาง่าย และเชื้อเพลิงที่ใช้กันก็จะเป็น น้ำมันเตา แก๊สธรรมชาติ และแก๊สแอลพีจี ซึ่งก็หาได้ง่ายภายในประเทศ ดังนั้นการจะเลือกลงทุนซื้อหม้อไอน้ำควรทำการวิเคระห์มูลค่าเทียบเท่าปัจจุบัน เพื่อเปรียบเทียบดูหม้อไอน้ำว่าจะเลือกลงทุนหม้อไอน้ำ ขนาดเท่าไหร่เพื่อให้ได้หม้อไอน้ำที่มีประสิทธิภาพ และประหยัดเชื้อเพลิงเหมาะสำหรับใช้งานกับอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร
  • รายการ
    แนวทางการวางผังการจัดการตู้คอนเทนเนอร์เปล่า กรณีศึกษาลานบริการตู้คอนเทนเนอร์แห่งหนึ่งในประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ศศิยา กลั่นบัวหอม
    การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแนวทางการวางผังการจัดการตู้คอนเทนเนอร์เปล่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปล่อยตู้คอนเทนเนอร์เปล่าด้วยหลักการ FIFO กรณีศึกษาลานบริการตู้คอนเทนเนอร์แห่งหนึ่งในประเทศไทย เพื่อทำการวิเคราะห์ วางแผน และปรับปรุงพื้นที่ในการจัดวางตู้คอนเทนเนอร์เปล่าให้เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เครื่องมือในการวิจัย คือ แผนผังก้างปลา, การสังเกต, หลักการ FIFO, การจัดการพื้นที่คลังสินค้า และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษา พบว่าขั้นตอนในการจัดเก็บ และปล่อยตู้คอนเทนเนอร์ไม่เป็นไปตามหลักการ FIFO เนื่องจากพื้นที่ในการจัดเก็บไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถแยกประเภท เและอายุของตู้คอนเทนเนอร์เปล่าได้ และพนักงานไม่เข้าใจหลักการทำงาน FIFO ผู้ศึกษาจึงได้กำหนดแนวทางในการปรับปรุง โดยการจัดแผนผังของพื้นที่ในการวางตู้คอนเทนเนอร์เปล่าใหม่ ด้วยวิธีการปรับพื้นที่ในการจัดวางตู้เปล่าให้เพิ่มขึ้น ให้สามารถคัดแยกประเภทและอายุของตู้ได้ ซึ่งช่วยลดปัญหาของพื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอ และสามารถจัดเก็บและปล่อยตู้ได้ตามหลักการ FIFO มีการอธิบาย ทำความเข้าใจกับพนักงานถึงหลักการทำงานตามหลักการ FIFO ส่งผลให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ที่ลูกค้ากำหนด คือไม่เกินร้อยละ 2 สรุปการวิจัยนี้ มีการแก้ปัญหาการจัดการพื้นที่ในการวางตู้คอนเทนเนอร์เปล่า และการนำหลักการ FIFO เข้ามามีส่วนช่วยในการจัดเก็บตู้เปล่า เพื่อช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการปล่อยตู้ที่ไม่เป็นไปตามหลักการ FIFO ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน และสามารถทำให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
  • รายการ
    การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดส่งเลือดสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) กมลวรรธน์ อโนมากุล
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งเลือดด่วนสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยลดระยะเวลาการจัดส่งเลือดด่วน โดยใช้แนวคิดลีน (LEAN) ร่วมกับ Flow Process Chart และการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (RCA : Root Cause Analysis) แล้วนำหลักการลดความสูญเสีย (ECRS) มาประยุกต์ใช้เพื่อสามารถนำส่งเลือดด่วนได้ทันเวลาที่กำหนด จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาพบปัญหาที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) กระบวนการจัดส่งเลือดมีขั้นตอนซับซ้อนหลายขั้นตอน 2) การขาดการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ และ 3) โครงสร้างของอาคารสถานที่มีข้อจำกัด ทำให้กระบวนการจัดส่งเลือดมีความล่าช้า จากนั้นใช้แนวคิดลีน เข้ามาปรับปรุงกระบวนการโดยสามารถลดเวลาในการจัดส่งเลือดด่วนก่อนการปรับปรุงเฉลี่ย 129 นาที ระยะทางเฉลี่ย 403.57 เมตร โดยมีกระบวนการทั้งหมด 24 ขั้นตอน หลังปรับปรุงกระบวนการแล้วพบว่า ใช้เวลาในการจัดส่งเลือดด่วนเฉลี่ย 109 นาที สามารถลดเวลาในการจัดส่งเลือดด่วนได้ 20 นาที ใช้ระยะทางในการจัดส่งเลือดด่วนเฉลี่ย 403.57 เมตร สามารถลดระยะทางในการจัดส่งเลือดด่วนได้ 4 เมตร โดยมีกระบวนการลดลง 1 ขั้นตอน โดยทำให้ไม่มีขั้นตอนของการรอคอยในกระบวนการ ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อปรับกระบวนการทำงานแล้วขั้นตอนการรอคอยถูกปรับปรุงเป็นขั้นตอนการทำงานในกระบวนการแทน
  • รายการ
    การเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยีบาร์โค้ด กรณีศึกษาธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) พุมรินทร์ พรหมเพชร
    ปัจจุบันธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีสินค้ารวมทั้งหมด 2,053 SKU ความถี่ในการหยิบสินค้า 50 ออเดอร์ ๆ ละ 20-100 SKU ขึ้นไปต่อวัน จากการทำงานพบปัญหาการหยิบสินค้าที่ผิดพลาดและขาดการบันทึกข้อมูลที่ถูกต้อง ทำให้ผู้วิจัยศึกษาและทดลองการนำเทคโนโลยีบาร์โค้ด เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดความผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า เพื่อลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน เพิ่มความแม่นยำถูกต้องและรวดเร็ว ใช้งานร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ STOCK DATABASE แบบ REAL TIME และโปรแกรม RECHECK FORM เอกสารตรวจนับสินค้าอัตโนมัติ ที่จัดเก็บข้อมูลในระบบ SERVER ขององค์กรทำหน้าที่เชื่อมโยงกระจายข้อมูลให้ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลแบบ REAL TIME ไปใช้ประโยชน์ได้ และตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ งานวิจัยนี้ได้นำโปรแกรม STOCK DATABASE แบบ REAL TIME มาปรับปรุงขั้นตอนการทำงานรูปแบบใหม่สามารถลดกระบวนการทำงาน ลดช่องว่างของกระบวนการทำงานให้สั่นลง ลดเวลาการทำงานจากเดิมใช้เวลา 60 นาที เมื่อปรับปรุงการทำงานใหม่ใช้เวลาเหลือเพียง 25 นาที ลดค่าใช้จ่ายในการหยิบสินค้าที่ผิดพลาดก่อนปรับปรุงผิดพลาดจำนวน 151 ครั้ง เป็นเงิน 100,797 บาท หลังปรับปรุงผิดพลาด 45 ครั้ง เป็นเงิน 45,563 บาท เฉลี่ยประหยัดค่าใช้ได้จ่าย 55.24 % ซึ่งประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีบาร์โค้ดมาพัฒนาในการบริหารจัดการคลังสินค้าที่มีความแม่นยำสูงเหมาะสำหรับธุรกิจเพิ่งเริ่มต้นที่มีขนาดเล็ก หรือธุรกิจ SME เพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในการให้บริการได้อย่างมืออาชีพ
  • รายการ
    การจัดการเส้นทางโลจิสติกส์ท่องเที่ยวเพื่อเดินทางสู่อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) วริศา ขาวสอาด
    การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการเดินทางท่องเที่ยวเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และเพื่อศึกษาการจัดการเส้นทางโลจิสติกส์ท่องเที่ยวเพื่อเดินทางสู่เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอเขาค้อและเจ้าหน้าที่จากสำนักส่งเสริมการท่องเที่ยว จังหวัดเพชรบูรณ์ อีกทั้งการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. นักท่องเที่ยวมีปัญหาอุปสรรคในการเดินทางท่องเที่ยวเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยที่นักท่องเที่ยวไม่ทราบข้อมูลการเดินทางท่องเที่ยวเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์โดยขนส่งสาธารณะ ได้แก่ การเดินทางโดยรถทัวร์โดยสาร และเครื่องบิน ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับตารางเวลาเดินทาง ค่าใช้จ่าย และวิธีการเดินทาง เป็นต้น 2. การจัดการเส้นทางโลจิสติกส์ท่องเที่ยวเพื่อเดินทางสู่เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์นักท่องเที่ยวสามารถมีทางเลือกในการเดินทางไปยังเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยขนส่งสาธารณะ ทั้งรถทัวร์โดยสาร และเครื่องบิน ซึ่งการเดินทางโดยรถทัวร์ขนส่งสาธารณะที่ใช้เวลาเดินทางถึง 8.48 ชั่วโมง และมีค่าใช้จ่ายเพียง 482 บาท และการเดินทางโดยเครื่องบินที่ใช้เวลาเดินทางเพียง 2.78 ชั่วโมง และมีค่าใช้จ่ายถึง 1,039 บาท ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถนำข้อมูลไปพิจารณาทางเลือกเพื่อใช้ในการวางแผนในการเดินทางท่องเที่ยวเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • รายการ
    แนวทางการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเมืองรอง กรณีศึกษา : จังหวัดนครนายก
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ปิยาพัชร วัฒนแสงประเสริฐ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเมืองรอง กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก เพื่อหาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงยกระดับความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้น และ เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก รวมทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในภาพรวมมีอายุ 25-34 ปี ทางด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวนครนายก 2-3 ครั้ง เพื่อความเพลิดเพลิน/พักผ่อนหย่อน และ มีรูปแบบการเดินทางมาเที่ยวจังหวัดนครนายกในลักษณะวางแผนการเดินทางโดยการปรึกษาเพื่อน/คนรู้จัก มีระยะเวลาการท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก 2 วัน 1 คืน เลือกใช้พาหนะในการเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดนครนายกโดยใช้ รถยนต์ ได้รับทราบข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต/Social Media เลือกพักรีสอร์ท ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการมาท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก มากกว่า 2,000 บาท นักท่องเที่ยวโดยภาพรวมอยู่ในในระดับความพึงพอใจมาก ต่อองค์ประกอบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในภาพรวม โดยสรุป ผลการวิจัยเกี่ยวกับระดับศักยภาพโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเมืองรอง กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก สามารถนําไปเป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนาการจัดการระบบการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก เพื่อใหเกิดประสิทธิภาพใน การดำเนินงานและมีศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดต่อไป เพื่อทำหน้าที่และบทบาทดังกล่าวร่วมกัน
  • รายการ
    การเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารกับพนักงานขับรถบรรทุกในธุรกิจรับเหมาถมดิน
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ภัทรานิษฐ์ วัฒนาจินดาวงศ์
    การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารกับพนักงานขับรถบรรทุก ในธุรกิจรับเหมาถมดิน มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาการใช้รถบรรทุก ในธุรกิจรับเหมาถมดิน และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้อุปกรณ์สื่อสารกับพนักงานขับรถบรรทุก ในธุรกิจรับเหมาถมดิน ซึ่งบริษัท เป็นบริษัทรับเหมาถมดินที่ให้บริการทั่วทั้งกรุงเทพฯ บริษัทยังขาดการจัดการด้านการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการขับเคลื่อนธุรกิจ ที่ผ่านมาบริษัทประสบปัญหาบ่อยครั้งในเรื่องของการสื่อสารระหว่างพนักงานขับรถ กับหัวหน้างานและผู้บริหารรวมถึงบริษัทยังขาดการเก็บข้อมูลในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลจากการวิจัยที่ได้ในครั้งนี้จะนำไปใช้เป็นแนวทาง เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ปัญหาและพัฒนาของบริษัท ให้มีการสื่อสาร ที่ดีและมีประสิทธิภาพ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ตรงกันเกิดความรักความสามัคคีเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันและเสริมสร้างความรู้สึกผูกพันต่อองค์กร อีกทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานภายในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น อันจะส่งผลในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันต่อ คู่แข่งขันในโลกธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้น
  • รายการ
    การพัฒนาส่วนต่อขยายระบบรางในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) พัชรปรัตถ์ ขาวสอาด
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาส่วนต่อขยายระบบรางในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ และ เจ้าหน้าที่จากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งการศึกษาจากแอกสารและงาน วิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. จังหวัดเชียงใหม่มีปัญหาเกี่ยวกับการจราจรหนาแน่น ก่อให้เกิดการจราจรติดขัดเป็นอย่างมาก ดังนั้นจังหวัดเชียงใหม่จึงผุดโครงการรถไฟฟ้ารางเบาเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด ในจุดที่มีการจราจรหนาแน่น ซึ่งประกอบด้วยโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย ได้แก่ สายสีแดง สายสีเขียว และสายสีน้ำเงิน แต่ยังพบปัญหาเกี่ยวกับจุดเชื่อมต่อของสถานีรถไฟฟ้าไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น อำเภอสันกำแพง 2. แนวทางการพัฒนาส่วนต่อขยายระบบรางในจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างจุดเชื่อมต่อห้าง สรรพสินค้าพรอมเมดา – อำเภอสันกำแพง ระยะทาง 10.9 กิโลเมตร และตั้งชื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูประกอบด้วย 7 สถานี เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อสถานีห้างสรรพสินค้าพรอมเมดา สถานีโรงแรมดาราเทวี สถานีบ้านศิลาดล สถานี M Sport Club สถานีอุตสาหกรรมทำมือบ่อสร้าง สถานีสวนน้ำ Water Park และสถานีช่วงสันกำแพงและพบจุดเชื่อมต่อสายสีเขียวสถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่
  • รายการ
    อมูลการเดินทางโดยรถรับ-ส่งสาธารณะให้กับนักท่องเที่ยวจากสนามบินสุวรรณภูมิ-อำเภอแม่สะเรียง
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ธัชพงษ์ สุวรรณลพ
    การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อเดินทางไปยังอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนเนื่องจากในปัจจุบัน การเดินทางไปยังอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนนั้นมีความยุ่งยากในการเดินทาง โดยเฉพาะสำหรับชาวต่างชาติที่จะดำเนินการเดินทางไปท่องเที่ยวที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นครั้งแรก การวิจัยในครั้งนี้จึงทำการสร้างข้อมูลในการเดินทางโดยรถรับส่งสาธารณะ โดยเริ่มต้นจากสนามบินสุวรรณภูมิไปยังจุดหมายปลายทางคืออำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทราบข้อมูลการเดินทางและสามารถเดินทางไปยังอำเภอ แม่สะเรียงได้
  • รายการ
    ธนาภรณ์ สมานทอง. 2562. "การจัดการโซ่อุปทานผ้าไหมทอมือในจังหวัดสุรินทร์เพื่อยกระดับให้เป็นสินค้า OTOP PREMIUM
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ธนาภรณ์ สมานทอง
    การวิจัยเรื่อง การจัดการโซ่อุปทานผ้าไหมทอมือ ในจังหวัดสุรินทร์เพื่อยกระดับให้เป็นสินค้า OTOP Premium มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษากระบวนการวางแผน การจัดหา การผลิต การส่งมอบ และการส่งคืนสินค้าของกลุ่มชุมชนผ้าไหมทอมือ 2.เพื่อนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานเพื่อยกระดับผ้าไหมทอมือในจังหวัดสุรินทร์ให้เป็นสินค้า OTOP Premium ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผ้าไหมทอมือในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 22 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มอาชีพมีการวางแผนการดำเนินการตามประสบการณ์การทำงาน ซึ่งไม่มีการจดบันทึกข้อมูล (2) กลุ่มอาชีพส่วนใหญ่มีการผลิตวัตถุดิบเองโดยการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ในส่วนของวัตถุดิบที่สั่งซื้อจะเลือกจากคุณภาพและตัดสินใจเลือกผู้จำหน่าย (3) กลุ่มอาชีพส่วนใหญ่ผลิตเพื่อรอจำหน่ายโดยจะทำการผลิตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัญหาที่พบระหว่างการผลิตส่วนใหญ่พบว่ามีปัญหาเรื่องการย้อมสีผิดและมีการทอผิดลาย (4) กลุ่มอาชีพส่วนใหญ่ในการขนส่งสินค้าไม่มีการบันทึกข้อมูลและจะเลือกวิธีการจัดส่งตามความต้องการของลูกค้า (5) การส่งคืนพบว่ามีจำนวนมากที่มีการส่งสินค้ากลับ เนื่องจากการถ่ายรูปสินค้าบางชิ้นเมื่อเทียบกับสินค้าจริงมีสีไม่ตรงตามที่ลูกค้าต้องการ คำสำคัญ : ผ้าไหม , SCOR MODEL
  • รายการ
    การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) สุรเดช แก้วมรกต
    การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อองค์ประกอบของการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ และเพื่อเสนอแนวทางการจัดการโซ่อุปทาน เพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยวิธีการสำรวจ (Survey Research) แบบเก็บข้อมูลช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross - Sectional Study) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง (Self - Administered Questionnaire) จำนวน 400 ตัวอย่าง
  • รายการ
    การพัฒนาสมรรถนะของพนักงานขับรถขนส่ง ตามหลัก 7R กรณีศึกษา: กลุ่มธุรกิจขนส่งสินค้า
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) สุพพัต อิสราศิวกุล
    การศึกษาค้นคว้าอิสระเล่มนี้เกิดจากการหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการปัญหาได้รับข้อร้องเรียนจากลูกค้าอันเนื่องจากการตรวจเช็ครับงานผิดพลาดทั้งงานรับงานมาไม่ครบ การปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย งานเสียหาย อุบัติเหตุในการทำงาน และการขับรถ รวมไปถึงเรื่องการส่งมอบผลิตภัณฑ์ไม่ตรงตามเวลาที่ลูกค้ากำหนด มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาและประเมินระดับความสามารถของพนักงานขับรถขนส่งใน Fleet บริษัท ABC จำกัด จัดกลุ่มระดับความยากง่ายในการทำงานของแต่ละ Customer ของลูกค้า และเพื่อจัดพนักงานขับรถขนส่งสินค้าให้ได้ทำงานกับ Customer ที่ถูกจัดกลุ่มไว้แล้ว ตามระดับความสามารถ โดยผู้วิจัยได้เลือกวิธีการประเมินระดับความสามารถของพนักงานขับรถขนส่งตามหลักการของ 7R Logistic เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการเลือกงานที่เหมาะสมกับระดับความสามารถนั้น โดยในส่วนของงานแต่ละ Customer นั้นจะใช้วิธีการประเมินจัดกลุ่มระดับความยากง่ายของแต่ละงาน เพื่อทำการจัดกลุ่มระหว่างของความสามารถของพนักงานขับรถขนส่งกับระดับความยากง่ายของงาน ด้วยวิธีการจัดลำดับ (Ranking) ซึ่งจากการศึกษาจัดกลุ่มและได้นำผลจากการจัดกลุ่มไปใช้จริง โดยได้จัดพนักงานขับรถขนส่งอยู่ในลำดับต่างๆ ไปปฏิบัติงานกับลูกค้าตามกลุ่มที่จัดเอาไว้ ผลที่ได้รับพบว่า ในปี 2562 มีข้อร้องเรียกจากลูกค้าลดน้อยลงจากเดิม 4 เดือน (มกราคม – เมษายน) 81 เคส หรือโดยเฉลี่ยเดือนละ 20 เคส โดยหลังปรับปรุงในเดือนกรกฎาคม 2562 เหลือเพียง 3 เคส เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2562 ซึ่งเป็นเดือนล่าสุดที่เก็บข้อมูลพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วทั้งหมด 7 ลูกค้าลดลงร้อยละ 83 และเมื่อเทียบจากค่าเฉลี่ยใบเคลมของทั้ง 4 เดือนที่เก็บข้อมูล (มกราคม – เมษายน) ของลูกค้าทั้ง 7 ราย ลดลงร้อยละ 85
  • รายการ
    แนวทางการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการโลจิสติกส์ด้านขนส่ง กรณีศึกษา: ธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งสินค้า
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ชยพล ผู้พัฒน์
    การวิจัยครั้งนี้มุ่งวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการขนส่งของธุรกิจผู้ให้ บริการขนส่งสินค้า 2) เปรียบเทียบระดับคุณภาพการให้บริการขนส่งของบริษัทตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านองค์กร 3) เสนอแนวทางการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการให้บริการโลจิสติกส์ด้านขนส่งของธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งสินค้า จากกลุ่มตัวอย่างลูกค้าของธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งสินค้า จำนวน 400 คน โดยมีการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.936 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ค่าสถิติ t-test, F-test และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Scheffé
  • รายการ
    การวางผังคลังสินค้าสำเร็จรูปโดยหลักการ FAST-SLOW MOVING กรณีศึกษา : บริษัท เครือเจริญ แมชชีนเนอรี่ จำกัด
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) สุมิตรา เครือวัลย์
    การวางผังคลังสินค้าสำเร็จรูปโดยหลักการ Fast-Slow Moving กรณีศึกษา บริษัท เครือเจริญ แมชชีนเนอรี่ จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ปรับปรุงการจัดวางรูปแบบแผนผังคลังสินค้าเป็นรูปแบบ Fixed Location System เพื่อลดปัญหาไม่ทราบตำแหน่งสินค้า และจัดการพื้นที่คลังสินค้าให้เป็นระเบียบ (2) แยกประเภทสินค้าสำเร็จรูปโดยหลักการ Fast-Slow Moving เพื่อลดระยะเวลาการหยิบสินค้า ดังนั้นผู้วิจัยได้จัดทำแผนผังคลังสินค้าใหม่และแยกประเภทโซนสินค้าที่มีปริมาณการส่งสูงสุดจัดไว้ด้านหน้าใกล้ที่จัดเตรียมสินค้ามากที่สุด และสินค้าที่มีปริมาณการส่งปานกลางและส่งน้อยจัดไว้ถัดออกมาตามลำดับ ซึ่งในการดำเนินงานวิจัยนี้พบว่าก่อนที่จะดำเนินงานวิจัยพนักงานส่งของประสบปัญหาการหาสินค้าไม่พบและใช้เวลาหยิบสินค้าเฉลี่ย 8.21 นาที ขนาดพื้นที่จัดเก็บสินค้ามีขนาด 109.96 ตารางเมตร หลังจากจัดทำคลังสินค้าใหม่และนำหลักการ Fast-Slow Moving มาจัดแยกประเภทสินค้าพบว่า ไม่เกิดข้อผิดพลาดของพนักงานในการหาสินค้าไม่พบ และใช้เวลาในการหาสินค้าเพียง 4.55 นาทีซึ่งลดลงจากเดิม 3.66 นาทีหรือร้อยละ 44.57และยังสามารถจัดทำพื้นที่คลังสินค้าใหม่ขนาด 37.15 ตารางเมตร ลดลงจากเดิมร้อยละ 66.21 จะเห็นได้ว่าพนักงานใช้เวลาในการหาสินค้าลดลงและไม่เกิดข้อผิดพลาดจากการหาสินค้าไม่พบ และยังสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  • รายการ
    ความพึงพอใจระบบโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ศริญญกรณ์ พวงเพ็ชร์
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวสําหรับการท่องเที่ยวในอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อระบบโลจิสติกส์สําหรับการท่องเที่ยวในอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อความพึงพอใจในระบบโลจิสติกส์สําหรับการท่องเที่ยวในอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) F-test ผลการศึกษาพบว่า..ความพึงพอใจต่อระบบโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้านการเงินมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ด้านการไหลของสารสนเทศ ด้านบุคลากร ด้านสถานที่ ด้านการให้บริการ และด้านการไหลทางกายภาพ นอกจากนี้ยังพบว่า พฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อระบบโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  • รายการ
    การออกแบบผังการจัดเก็บวัสดุและอุปกรณ์สิ้นเปลืองด้วยเทคนิค ABC
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ณัฐนนท์ รุ่งเจริญ
    จากงานวิจัยเรื่องการออกแบบผังการจัดเก็บวัสดุและอุปกรณ์สิ้นเปลืองด้วยเทคนิค ABC เครื่องมือที่นำมาใช้ในงานวิจัย คือ การออกแบบแผนผังคลังสินค้า และเทคนิคการแบ่งกลุ่มสินค้าแบบ ABC Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการแบ่งประเภทสินค้าโดยพิจารณาจากอัตราการเคลื่อนไหวของสินค้า และมูลค่าของสินค้า โดยเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2561 จนถึง เดือนมิถุนายน 2561 เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการทำงานและแผนผังคลังสินค้าใหม่ในเดือนกรกฎาคม 2561 ผลงานวิจัยพบว่า ทำให้เห็นว่าประสิทธิภาพในการดำเนินงานของส่วนงานคลังสินค้านั้นเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านความถูกต้องและความรวดเร็วในการทำงาน โดยหลังจากการปรับปรุงจำนวนครั้งในการผิดพลาดนั้นหายไปอย่างชัดเจน โดยที่จำนวนสินค้าจริงกับในระบบต้องตรงกันเสมอ ส่วนความรวดเร็วในกระบวนการเบิก-จ่ายสินค้านั้นใช้เวลาลดลงถึง 10 นาทีคิดเป็นร้อยละ 52.38 ส่งผลทำให้เจ้าหน้าที่คลังสินค้าสามารถใช้เวลาที่เร็วขึ้น เช็คสต๊อคสินค้านั้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง การดำเนินการแก้ไขปรับปรุงประสิทธิภาพคลังสินค้านี้เป็นระยะเวลา 1 เดือน จากการปรับปรุงการจัดการคลังสินค้าและการออกแบบผังการจัดเก็บสินค้าในครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงกระบวนการทำงานที่ล่าช้า และต้นทุนสินค้าที่จมอยู่ในคลังสินค้าเนื่องจากสินค้าหมดอายุก่อนการใช้งาน ซึ่งมีมูลค่าถึง 186,390 บาท ซึ่งทำให้ผู้บริหารเล็งเห็นถึงปัญหา และมีกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาต่อไป
  • รายการ
    การวางผังคลังสินค้าสำเร็จรูปด้วยเทคนิค ABC ANALYSIS กรณีศึกษา บริษัท AAA จำกัด
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) วรรณวิภา ชื่นเพ็ชร
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิค ABC Analysis ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า บริษัทกรณีศึกษา บริษัท AAA จำกัด (2) เพื่อศึกษาการลดระยะเวลาในการหยิบสินค้า โดยผู้วิจัยประยุกต์ใช้การจัดเรียงสินค้าABC Analysis โดยการออกแบบและวางผังคลังสินค้า ซึ่งในการดำเนินงานวิจัย ผลการศึกษาพบว่า นี้ พบว่าปัญหาที่เกิดจากการใช้เวลาในการเดินทางหยิบสินค้าซึ่งเกิดจากการขาดประสิทธิภาพในระบบการจัดเก็บสินค้าจึงทำให้ใช้เวลามากในการเดินทางหยิบสินค้า การจัดเรียงสินค้าด้วยเทคนิค ABC ทำให้พนักงานใช้เวลาในการเดินทางหยิบสินค้าน้อยลงโดยใช้ค่าเฉลี่ยของพนักงานจำนวน 5 คน ก่อนที่จะนำเทคนิค ABC เข้ามาช่วยในการจัดเรียงสินค้า พนักงานจำนวน 5 คน ใช้เลาในการเดินทางหยิบสินค้าเฉลี่ย 9.45 นาที และหลังจากที่มีการจัดเรียงสินค้าแบบ ABC พนักงานชุดเดิมจำนวน 5 คน ใช้เวลาในการเดินทางหยิบสินค้าเฉลี่ย 6.41 ลดลง 3.04 นาที จะเห็นได้ว่าพนักงานใช้เวลาในการหยิบสินค้าลดลง โดยการจัดเรียงสินค้าที่มียอดขายสินค้าสูงสุด (หน่วย : ลัง) ไว้ใกล้ประตูทางออก และสินค้าที่มียอดขายปานกลางหรือเคลื่อนไหวปานกลางและยอดขายสินค้าต่ำ หรือเคลื่อนไหวช้าไว้ตามลำดับ เพื่อเป็นการลดระยะเวลาและระยะทางในการเดินหยิบสินค้าได้อย่างเหมาะสม
  • รายการ
    การเพิ่มประสิทธิภาพของโซ่อุปทานสถานศึกษาเอกชนด้วยการจัดการความรู้ กรณีศึกษา : วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สุวิชา สวัสดี
    การศึกษาวิจัยเรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพของโซ่อุปทานสถานศึกษาเอกชนด้วยการจัดการความรู้ กรณีศึกษา วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุมวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาโซ่อุปทานของสถานการศึกษา กรณีศึกษา วิทยาลัยโลจิสติกส์และ ซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพโซ่อุปทานของสถานการศึกษาเอกชนด้วยการจัดการความรู้ กรณีศึกษา วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการวิจัยนี้ใช้ผู้วิจัยเลือกใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำมาวิเคราะห์ จากนั้นตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการความรู้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อปรับปรุงรูปแบบให้มีความเหมาะสม
  • รายการ
    แนวทางการลดปัญหาการเน่าเสียของผักผลไม้สดส่งออกโดยเครื่องบิน
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ศิรินันท์ พันโน
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาผักและผลไม้เสียหายในการขนส่งและเพื่อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาผักและผลไม้เสียหายในการขนส่งโดยนำแนวคิดลีนหลักการ ECRS ช่วยในการวิเคราะห์ลดความสูญเปล่าในการดำเนินงาน มาช่วยในกระบวนการการทำงานให้รวดเร็วขึ้น จากการเขียนแผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram)วิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาที่ทำให้ผักและผลไม้เสียหายเกิดขึ้นมาจาก 3 กระบวนการคือ ส่วนของบริษัทไม่มีการตรวจสอบผักและผลไม้จากชาวสวนและใช้หนังสือพิมพ์ในบรรจุหีบห่อผักและผลไม้ ส่วน Shipping การพักสินค้า ส่วน คาร์โก้ การจัดเรียงสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ การเสนอแนวทางได้จากการปรับปรุงด้วยเทคนิค ECRS โดยใช้ ส่วนของบริษัท แนวคิดการควบคุมคุณภาพ (Quality Control Q.C.) เพื่อลดโอกาสที่จะทำให้มีปัญหาผักและผลไม้เน่าเสียที่มาจากชาวสวนและการใช้ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ในการบรรจุหีบห่อผักและผลไม้ เพื่อการยืดอายุในการเก็บรักษาผักและผลไม้ ให้คงคุณค่า ความสดใหม่ ไว้ได้นานกว่าเดิมส่วนของ Shipping การจัดมาตรฐานในการทำงานไม่ให้มีการพักสินค้า ช่วยให้ลดกระบวนการรอคอยลงได้ ส่วนของ คาร์โก้ การแบ่งปันของข้อมูลข่าวสาร ความต้องการในการขนส่งต่อวัน เพื่อจัดเตรียมตู้คอนเทนเนอร์ให้เพียงพอกับความต้องการ สินค้าที่มาถึงคลังก่อนถยอยบรรจุก่อนเพื่อรอสินค้าที่เหลือเข้ามาเติมเต็มบรรจุสินค้าตามใส่ตู้คอนเทนเนอร์ LD3 ปริมาตรในการบรรจุ 4.0 ลบ.ม น้ำหนักไม่เกิน1588 กิโลกรัม แนวความคิดการจัดการทั้ง 2 แบบจะทำให้ลดช่องว่างในการทำงานและสามารถลดระยะเวลาการทำงานลงได้