ปัญหากฎหมายคุ้มครองแรงงา: ศึกษากรณีการย้ายสถานประกอบกิจการของนายจ้าง เวลาพักและสัญญาจ้างมีกำหนดเวลาซึ่งมิใช่เป็นธุรกิจปกติของนายจ้าง
dc.contributor.author | ประเสริฐศักดิ์ ทึมหลวง | |
dc.date.accessioned | 2553-05-18T09:11:36Z | |
dc.date.available | 2553-05-18T09:11:36Z | |
dc.date.issued | 2553-05-18T09:11:36Z | |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยศึกษาเฉพาะกรณีการย้ายสถานที่ประกอบกิจการของนายจ้าง การจัดเวลาพักและการจ้างงานแบบมีกำหนดเวลา ซึ่งมิใช่เป็นธุรกิจปกติของนายจ้าง ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้บัญญัติคุ้มครองลูกจ้างไว้ ว่ากฎหมายขาดความเหมาะสมหรือมีจุดบกพร่องใดที่ควรแก้ไขให้ครอบคลุมปัญหาในทางปฎิบัติเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งนายจ้างและลูกจ้างรวมถึงสังคมการใช้แรงงานของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าการย้ายสถานประกอบกิจการของนายจ้างไปตั้ง ณ ที่แห่งอื่นอันเป็นเหตุให้ลูกจ้างได้รับผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตของตนเองหรือครอบครัวและลูกจ้างไม่ประสงค์ย้ายไปทำงานกับนายจ้าง ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่นั้น สามารถยกเลิกสัญญาจ้างกับนายจ้างและขอรับค่าชดเชยจากนายจ้างตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 118 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้ แต่ในทางปฎิบัติไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการพิจารณาว่าลูกจ้างที่จะยกเลิกสัญญาจ้างได้นั้นจะต้องได้รับผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของตนเองหรือครอบครัวมากน้อยเพียงใดจึงยกเลิกสัญญาได้ จึงทำให้นายจ้างใช้เป็นเหตุในการปฎิเสธการยกเลิกสัญญากับลูกจ้างได้ และพบว่ากฎหมายมิได้คุ้มครองไปถึงการย้ายสถานที่ทำงานของลูกจ้างไปทำงาน ณ ที่แห่งอื่นที่นายจ้างมีอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งลูกจ้างเหล่านั้นได้รับผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของตนเองหรือ ครอบครัวไม่อาจยกเลิกสัญญาและขอรับค่าชดเชยพิเศษได้ จึงเป็นช่องว่างของกฎหมายให้นายจ้างที่จะปฎิเสธการจ่ายค่าชดเชยพิเศษ ทำการตั้งสถานประกอบกิจการ ณ ที่แห่งอื่นก่อนที่จะสั่งย้ายลูกจ้างไปทำงาน ทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิในการยกเลิกสัญญาและเสียสิทธิในการรับค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และในเรื่องการจัดเวลาพักให้ลูกจ้าง พบว่ากฎหมายมิได้มีข้อกำหนดห้ามมิให้นายจ้างออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งจำกัดสิทธิและเสรีภาพของลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างขาดอิสระในการใช้ชีวิตส่วนตนในระหว่างเวลาพักตามเจตนารมณ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ รวมถึงประเด็นปัญหาสัญญาจ้างแบบมีกำหนดเวลาในงานซึ่งมิใช่ธุรกิจปกติของนายจ้าง ลูกจ้างเหล่านี้โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในการหางานทำประจำไม่ได้ จึงยินยอมรับทำงานแบบสัญญาจ้างมีกำหนดเวลา แต่ลูกจ้างเหล่านี้ไม่ได้รับความคุ้มครองในเรื่องการจ่ายค่าชดเชย ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานกำหนด เพราะกฎหมายคุ้มครองไม่ถึง การคุ้มครองแรงงานสัญญาจ้างงานลักษณะนี้ออกไปแตกต่างจากการจ้างงานในธุรกิจปกติ โดยลักษณะงานเช่นนี้จะมีความใกล้เคียงกันกับงานในปกติของธุรกิจของนายจ้าง ทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการคุ้มครองแรงงานจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน จึงไม่สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่จะได้รับจากรัฐตามที่กำหนดเอาไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2550 มาตรา 30 ในวิทยานิพนธ์เล่มนี้ผู้เขียนได้เสนอแนวทางแก้ไขไว้สามประการ โดยให้แก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 120 ให้มีหลักพิจารณาผลกระทบของลูกจ้างที่จะยกเลิกสัญญาจ้างกับนายจ้างไว้อย่างชัดเจนและให้คุ้มครองไปถึงกรณีการย้ายลูกจ้างไปทำงานในสถานประกอบกิจการอื่นๆ ที่นายจ้างมีอยู่แล้วด้วย และให้แก้ไขมาตรา 27 วรรคแรกโดยการเพิ่มเติมข้อห้ามมิให้นายจ้างออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งจำกัดสิทธิและเสรีภาพลูกจ้างในระหว่างเวลาพัก เว้นแต่มีเหตุอันสมควรและได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและได้เสนอให้ยกเลิกมาตรา 118 วรรคสามและวรรคสี่ ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เพื่อให้การคุ้มครองลูกจ้างที่ทำสัญญาจ้างแบบมีกำหนดเวลาในงานที่มิใช่ธุรกิจปกติหรือทางการค้าของนายจ้างให้ได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันเหมือนกับสัญญาจ้างในงานที่เป็นธุรกิจปกติหรือทางการค้าของนายจ้าง อันจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการใช้แรงงานมากยิ่งขึ้นเดิม | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1717 | |
dc.subject | กฎหมาย | en_US |
dc.subject | การคุ้มครองแรงาน | en_US |
dc.subject | การย้ายสถานประกอบกิจการ | en_US |
dc.subject | นายจ้าง | en_US |
dc.subject | สัญญาจ้าง | en_US |
dc.title | ปัญหากฎหมายคุ้มครองแรงงา: ศึกษากรณีการย้ายสถานประกอบกิจการของนายจ้าง เวลาพักและสัญญาจ้างมีกำหนดเวลาซึ่งมิใช่เป็นธุรกิจปกติของนายจ้าง | en_US |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 13
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.72 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: