ปัญหาการตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยองค์กรตุลาการ: ศึกษากรณีการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่

dc.contributor.authorวรรณไชย ทองรอดen_US
dc.date.accessioned2554-08-26T08:20:59Z
dc.date.available2554-08-26T08:20:59Z
dc.date.issued2554-08-26T08:20:59Z
dc.description.abstractการศึกษาปัญหาการตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยองค์กรตุลาการ ศึกษากรณีการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาที่มา อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งกับการตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยองค์กรตุลาการ โดยมุ่งเน้นศึกษาเฉพาะอำนาจการตรวจสอบการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 เปรียบเทียบกับการตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 ตลอดจนการตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยองค์กรตุลาการในต่างประเทศ การเลือกตั้งที่เป็นไปด้วยความไม่บริสุทธิ์ยุติธรรมและไม่โปร่งใส จากการจัดการเลือกตั้งขององค์กรภายในของฝ่ายปกครองเองซึ่งได้แก่กระทรวงมหาดไทย เนื่องจากการจัดการเลือกตั้งโดยกระทรวงมหาดไทยเองทำให้ฝ่ายซึ่งมีอำนาจบังคับบัญชากระทรวงมหาดไทยอยู่ในขณะจัดให้มีการเลือกตั้งกระทำการอันไม่โปร่งใสเพื่อให้ฝ่ายตนได้เปรียบอีกฝ่ายหนึ่งและได้รับเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่ และการให้อำนาจฝ่ายตุลาการซึ่งได้แก่ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจตรวจสอบการเลือกตั้ง การพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมเป็นไปด้วยความล่าช้าทำให้ไม่ทันต่อการเปิดประชุมสภาหรือยังพิจารณาคดีไม่เสร็จก็มีการยุบสภาเกิดขึ้นเสียก่อน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งให้บรรลุวัตถุประสงค์เป็นไปตามเจตจำนงร่วมกันของประชาชนเพื่อประโยชน์สูงสุดในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงได้จัดตั้งองค์กรขึ้นทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งขึ้น เพื่อการเลือกตั้งเป็นไปด้วยความโปร่งใส เที่ยงธรรม ปราศจากการทุจริต ซึ่งได้แก่ “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” ผลการศึกษาพบว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 เกิดจากแนวความคิดการบริหารของรัฐสมัยใหม่ที่ต้องการแยกองค์กรตรวจสอบของฝ่ายบริหารออกจากการบังคับบัญชาของฝ่ายบริหารเพื่อแก้ปัญหาอันเกิดจากความล่าช้าในการตัดสินใจเนื่องจากโครงสร้างการบริหารงานแบบเดิมของฝ่ายบริหารซึ่งมักจะยึดติดอยู่กับตัวบทกฎหมาย โดยไม่พิจารณาเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมาย ปัญหาการขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องใหม่ๆ ซึ่งมีความสลับซับซ้อนทางเทคนิค และปัญหาอันเกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพของโครงสร้างการบริหารแบบเดิมในการรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของรัฐและในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงเกิดองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระขึ้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ การบัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าควรให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นการให้อำนาจศาลในการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งเดิมการจัดการเลือกตั้งอยู่ในอำนาจของฝ่ายบริหารได้แก่กระทรวงมหาดไทย ต่อมาเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 การจัดการเลือกตั้งและการวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่เป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ดังนั้น อำนาจในการจัดการเลือกตั้งและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่จึงเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร จึงต้องให้อำนาจแก่คณะกรรมการการเลือกตั้งในการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ทั้งก่อนและหลังประกาศผลการเลือกตั้ง การทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยองค์กรตุลาการต้องเป็นไปในลักษณะที่เป็นการทบทวนการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้น กล่าวคือเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้วินิจฉัยไปแล้วผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจดังกล่าวสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอความเป็นธรรม หรือเยียวยาได้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 บัญญัติให้การวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่ก่อนประกาศผลการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุด เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาซึ่งมีการถกเถียงกันมาโดยตลอดว่าคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุดหรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย ที่ 52/2546 วินิจฉัยว่าการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญอันมีผลเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ได้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญถือเป็นยุติ ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 9/2549 ว่าเป็นที่ยุติไม่ได้หมายความว่าเป็นยุติโดยไม่ต้องถูกตรวจสอบโดยองค์กรตุลาการ ดังนั้น การบัญญัติให้การวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่ก่อนประกาศผลการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุดนั้น จึงเป็นการบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้งมากเกินไปทำให้ผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่สามารถได้รับการเยียวยา ไม่สอดคล้องกับหลักของนิติรัฐ นิติธรรม และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จากปัญหานี้มีแนวคิดให้แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่ควรให้การสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้งเป็นที่สุด โดยให้องค์กรตุลาการสามารถตรวจสอบได้ โดยที่บัญญัติให้ศาลปกครองซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐและเป็นศาลที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายมหาชนเป็นศาลที่มีเขตอำนาจในคดีเลือกตั้ง จากการศึกษาเปรียบเทียบการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศสาธารณรัฐอินเดีย พบว่าทุกประเทศล้วนมีองค์กรตุลาการเข้ามาตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ทั้งสิ้น ผู้ศึกษาขอเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา โดยให้อำนาจวินิจฉัยสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ไม่ว่าก่อนหรือหลังประกาศผลการเลือกตั้งเป็นของคณะกรรมการการเลือกตั้งในขณะเดียวกันการใช้อำนาจดังกล่าวของคณะกรรมการการเลือกตั้งจะต้องสามารถตรวจสอบและทบทวนได้โดยองค์กรตุลาการ ซึ่งได้แก่ศาลปกครองซึ่งเป็นศาลที่มีความเชี่ยวชาญในคดีที่เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม และมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเจตจำนงของประชาชนen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2595
dc.subjectการตรวจสอบen_US
dc.subjectการใช้อำนาจen_US
dc.subjectคณะกรรมการการเลือกตั้งen_US
dc.subjectการเลือกตั้งen_US
dc.subjectองค์กรตุลาการen_US
dc.titleปัญหาการตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยองค์กรตุลาการ: ศึกษากรณีการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่en_US
dc.typeThesisen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 11
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
1title.pdf
ขนาด:
39.32 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
2abstract.pdf
ขนาด:
78.39 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
3acknow.pdf
ขนาด:
44.9 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
4content.pdf
ขนาด:
68.88 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
5chap1.pdf
ขนาด:
99.05 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.72 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: