ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการครอบครองและการใช้สเปรย์พริกไทย ในการป้องกันตัว

dc.contributor.authorจิรายุ สุคันโธth_TH
dc.date.accessioned2566-08-09T02:52:44Z
dc.date.available2023-08-09T02:52:44Z
dc.date.issued2566
dc.description.abstractสารนิพนธ์นี้ศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการครอบครองและการใช้สเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัว ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการครอบครองและการใช้สเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัว (2) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการครอบครองและการใช้สเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัวของต่างประเทศและประเทศไทย (3) ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการครอบครองและการใช้สเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัว (4) แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการครอบครองและการใช้สเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัว ผลการศึกษาพบปัญหาดังนี้ (1) ปัญหาเกี่ยวกับการครอบครองสเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัว พบว่า การที่กฎหมายกำหนดให้สารแคปไซซินซึ่งเป็นสารประกอบสำคัญในสเปรย์พริกไทยเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เป็นสารควบคุม ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย หากผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ทั้ง ๆ ที่สเปรย์พริกไทยเป็นอุปกรณ์สำหรับการใช้เพื่อป้องกันตัวได้ดีที่สุด จึงทำให้ประชาชนในสังคมไม่สามารถใช้สิทธิและเสรีภาพในการป้องกันชีวิตหรือทรัพย์สินของตนเองได้ตามกฎหมาย (2) ปัญหาเกี่ยวกับการใช้สเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัว พบว่า เมื่อกฎหมายไม่ได้อนุญาตให้บุคคลใดสามารถมีสเปรย์พริกไทยไว้ในความครอบครองได้ บุคคลนั้นก็ไม่มีสิทธิที่จะนำสเปรย์พริกไทยมาใช้ได้เช่นกัน แม้ว่าจะเป็นการนำมาใช้ในการป้องกันตัวก็ตาม เนื่องจากว่าในสเปรย์พริกไทยมีสารแคปไซซินซึ่งเป็นสารเคมีที่มีเหตุผลในการห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้เพื่อขัดขวางระบบการทำงานของร่างกายเป็นการชั่วคราวเพื่อการป้องกันตัวหรือทำร้ายผู้อื่น ซึ่งสารดังกล่างเมื่อมีการสัมผัสจะทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณที่สัมผัส แสบจมูก แสบตา ไอหรือจาม ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปได้เองภายในไม่กี่นาที และไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต กฎหมายจึงไม่ควรกำหนดผู้ที่มีสเปรย์พริกไทยไว้ในครอบครองเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย หากการใช้นั้นมีวัตถุประสงค์เพียงแค่การป้องกันตัว (3) ปัญหาเกี่ยวกับบทกำหนดโทษในการครอบครองและการใช้สเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัว พบว่า ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ได้กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามในกรณีที่ห้ามมีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง โดยอัตราโทษที่นำมาบังคับกับผู้กระทำความผิดนั้นเป็นอัตราโทษที่สูงเกินไป ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับพฤติการณ์แห่งคดีสำหรับการใช้เพื่อป้องกันตัว และไม่ได้มีจุดประสงค์ในการนำไปทำร้ายผู้อื่น ทำให้ไม่มีผู้ใดกล้าที่จะมีสเปรย์พริกไทยไว้ในความครอบครองเพราะเกรงกลัวต่อบทลงโทษทางกฎหมาย หากมีเหตุการณ์เกิดขึ้นเฉพาะหน้าแล้ว ก็ไม่สามารถป้องกันตัวเองจากภยันตรายได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหากฎหมายดังกล่าว โดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 กำหนดให้ (1) บุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดสามารถซื้อเครื่องพ่นป้องกันตัว (สเปรย์พริกไทย) ไว้ในความครอบครองได้ โดยจะมี การกำหนดจำนวนหน่วยการครอบครอง และจำกัดปริมาณน้ำหนักสุทธิของเครื่องพ่นป้องกันตัว (2) กำหนดให้บุคคลที่มีสเปรย์พริกไทยไว้ในครอบครองสามารถใช้สเปรย์พริกไทยได้เฉพาะสำหรับการใช้เพื่อป้องกันตัวเท่านั้น และกำหนดให้สเปรย์พริกไทยต้องมีฉลากระบุคำเตือน คำแนะนำการใช้ การปฐมพยาบาล การจัดเก็บ และหมายเลขโทรศัพท์โทรฟรีไว้ติดต่อในกรณีที่ต้องการความช่วยเหลือ (3) กำหนดให้มีมาตรการในการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติกฎหมายในการครอบครองหรือการใช้สเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัว โดยเสนอให้มีการแก้ไขลดอัตราโทษให้เหมาะสมกับแต่ละกรณีth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.identifier.citationจิรายุ สุคันโธ. 2566. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการครอบครองและการใช้สเปรย์พริกไทย ในการป้องกันตัว." ผลงานนักศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9310
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectสเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัวth_TH
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการครอบครองและการใช้สเปรย์พริกไทย ในการป้องกันตัวth_TH
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS RELATING TO THE POSSESSION AND USE OF PEPPER SPRAY FOR SELF-DEFENSEth_TH
dc.typeThesisth_TH

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
บทความสารนิพนธ์ (จิรายุ สุคันโธ).pdf
ขนาด:
448.69 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: