มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายสัตว์เลี้ยง ศึกษากรณีสัญญาซื้อขายสุนัข
dc.contributor.author | ธนภรณ์ ฦาแรง | th_TH |
dc.date.accessioned | 2566-08-08T04:13:08Z | |
dc.date.available | 2023-08-08T04:13:08Z | |
dc.date.issued | 2566 | |
dc.description.abstract | สารนิพนธ์เรื่องมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายสัตว์เลี้ยง ศึกษากรณีสัญญาซื้อขายสุนัข มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมา แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายสุนัข (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายสุนัขของระหว่างประเทศ ต่างประเทศ และประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายสุนัข (4) แนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายสุนัข จากการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับนิยามคำศัพท์ของสัญญาซื้อขายสุนัข พบว่า การที่ประเทศไทยไม่ได้บัญญัตินิยามความหมายของสัญญาซื้อขายสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขไว้ และไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขายสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัข ทำให้การพิจารณาถึงความหมายดังกล่าวจึงต้องเป็นไปตามเนื้อหาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งใช้บังคับแก่การซื้อขายสินค้าทั่วไป และกรณีปัญหานี้ยังทำให้ไม่อาจกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายสัตว์เลี้ยงที่ควรมีต่อผู้ซื้อได้ รวมถึงปัญหาการพิจารณาว่าการซื้อขายสัตว์เลี้ยงกรณีใดบ้างที่ควรได้รับความคุ้มครอง (2) ปัญหาการทำสัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัข พบว่ากฎหมายซื้อขายของประเทศไทยในปัจจุบันไม่มีแบบฟอร์มมาตราฐานเพื่อกำหนดรายละเอียดสำคัญในการซื้อขายอย่างชัดเจนโดยสัญญาอาจเกิดขึ้นได้โดยการตกลงด้วยวาจา ทั้งผู้ขายก็ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแถลงข้อเท็จจริงหรือรับรองสุขภาพของสุนัขว่าเหมาะสมต่อการซื้อขาย ความไม่ชัดเจนของสัญญาดังกล่าวนำมาสู่ปัญหาการพิจารณาว่าผู้ขายผิดสัญญาตามที่ตกลงต่อผู้ซื้อหรือไม่ ทั้งการใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้ขายรับผิดตามสัญญาโดยนำคดีมาฟ้องต่อศาลก็เป็นการยากต่อการนำสืบถึงความตกลงนั้น (3) ปัญหาการกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัข พบว่าตามกฎหมายไทยยังไม่มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดของผู้ขายหรือผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายสัตว์เลี้ยงเป็นการเฉพาะและภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่อาจทำให้ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองเพียงพอ จึงทำให้เกิดเป็นปัญหากรณีการหลอกลวง ฉ้อโกง ปกปิดข้อความจริงเกี่ยวกับสุขภาพของสุนัข และส่งมอบสุนัขที่ไม่เหมาะสมต่อการจำหน่าย เอาเปรียบผู้ซื้อหรือผู้บริโภค ทำให้ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้รับความเสียหาย ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะว่าประเทศไทยควรมีกฎหมายเฉพาะเพื่อรองรับการซื้อขายสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัข ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญ ดังนี้ (1) กำหนดคำนิยามของสัญญาซื้อขายสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขให้ชัดเจนเพื่อกำหนดขอบเขตการให้ความคุ้มแก่สัญญาซื้อขายสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัข รวมถึงหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัข (2) การกำหนดหลักเกณฑ์การทำสัญญาตามแบบที่กฎหมายกำหนด ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวสุนัขและคำรับรองสุขภาพของสุนัข และ (3) กำหนดหน้าที่ผู้ขายสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขไว้เป็นการเฉพาะแยกต่างหากจากหน้าที่ผู้ขายกรณีทั่วไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | Sripatum University | th_TH |
dc.identifier.citation | ธนภรณ์ ฦาแรง. 2566. "มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายสัตว์เลี้ยง ศึกษากรณีสัญญาซื้อขายสุนัข." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9308 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.subject | สัญญาซื้อขาย | th_TH |
dc.subject | สุนัข | th_TH |
dc.title | มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายสัตว์เลี้ยง ศึกษากรณีสัญญาซื้อขายสุนัข | th_TH |
dc.title.alternative | LEGAL MEASURES ON THE SALE AND PURCHASE CONTRACT OF PETS: STUDY THE CASE OF SALE AND PURCHASE CONTRACT OF DOGS | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 19
กำลังโหลด...
- ชื่อ:
- 2 บทคัดย่อ ไทย อังกฤษ.pdf
- ขนาด:
- 94.9 KB
- รูปแบบ:
- Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.71 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: