ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินของรัฐในรูปแบบโฉนดชุมชน

dc.contributor.authorเกศรา ระจะนิตย์en_US
dc.date.accessioned2556-10-16T02:31:48Z
dc.date.available2556-10-16T02:31:48Z
dc.date.issued2556-10-16T02:31:48Z
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการจัดสรรที่ดินของรัฐในรูปแบบโฉนดชุมชนนั้นมีประเด็น ปัญหาความเสมอภาคของประชาชนเกี่ยวกับการให้สิทธิในโฉนดชุมชนและการกำหนดขอบเขต และลักษณะเกี่ยวกับความหมายของชุมชนและโฉนดชุมชนที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการโฉนดชุมชน พ.ศ.2553 นั้น และก่อให้เกิดปัญหาการจำแนก ประเภทผู้ถือสิทธิครอบครองในโฉนดชุมชนและการพิสูจน์สิทธิเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของโฉนด ชุมชนไม่อาจพิสูจน์สิทธิความเป็นเจ้าของได้และปัญหาการให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็น ผู้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการโฉนดชุมชน พ.ศ.2553 นั้น จากการศึกษาพบว่า การดำเนินการของรัฐในการจัดสรรที่ดินเกี่ยวกับโฉนดชุมชนเป็น การดำเนินการที่ขัดต่อหลักความเสมอภาคเพราะการที่รัฐมอบโฉนดชุมชนให้กับชุมชนตามที่ กำหนดไว้ในเงื่อนไขของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นการจำกัดสิทธิชุมชนอื่นที่ไม่ได้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบ ส่วนการกำหนดขอบเขตและลักษณะเกี่ยวกับ ความหมายของชุมชนและโฉนดชุมชนที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ จัดการโฉนดชุมชน พ.ศ.2553 นั้น เป็นลักษณะนามธรรมโดยปราศจากการรองรับจากกฎหมายใน ระดับพระราชบัญญัติหรือประมวลกฎหมายหมายจนทำให้ปราศจากสถานะภาพทางกฎหมายและ ไม่อาจจะประกันความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนผู้ได้รับสิทธิตามโฉนดชุมชนได้ ส่วนปัญหาการ จำแนกประเภทผู้ถือสิทธิครอบครองในโฉนดชุมชน เมื่อชุมชนใดได้โฉนดชุมชนมาถือครองแล้ว ใครที่จะสามารถเข้าไปบริหารจัดการได้ ถึงแม้ว่าตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีจะกำหนดให้อยู่ ในรูปแบบของคณะกรรมการก็ตาม แต่มิได้หมายความว่าทุกคนจะสามารถเข้าไปทำกินในพื้นที่โฉนดชุมชนได้ซึ่งขึ้นอยู่กับการกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์จากคณะกรรมการ ดังนั้นจึงมีปัญหา ทำให้ประชาชนมีการทับซ้อนบริเวณทำกินและก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในชุมชนและปัญหาการ กำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐในการดำเนินการตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่ง เป็นหน่วยงานที่มิได้มีจุดเกาะเกี่ยวในการจัดสรรที่ดินแต่กลับให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็น หน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดทำโฉนดชุมชนซึ่งอำนาจในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เกี่ยวกับที่ดินปัจจุบันเป็นอำนาจของกรมที่ดินในการดำเนินการถ้าปรากฏว่ามีการโอนโฉนดชุมชน จะมีหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบระหว่างให้สำนักนายกรัฐมนตรีหรือกรมที่ดินเป็นผู้จดทะเบียน สิทธิและนิติกรรม จากการศึกษาขอเสนอแนะว่า รัฐควรที่จะจัดสรรให้ทั่วถึงและยุติธรรม เพราะบุคคลที่อยู่ ภายในป่าก่อนมีการประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการโฉนดชุมชน พ.ศ. 2553 ถือว่าเป็นผู้บุกรุกส่วนปัญหาการพิสูจน์สิทธิในการถือครองกรรมสิทธิ์ของโฉนดและปัญหา การจำแนกประเภทผู้ถือสิทธิครอบครองในโฉนดชุมชน รัฐบาลควรออกกฎหมายในระดับ พระราชบัญญัติหรือประมวลกฎหมายรับรองสิทธิในโฉนดชุมชนและสิทธิชุมชนโดยการบัญญัติ เพิ่มเติมไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินในลักษณะของกรรมสิทธิ์ร่วมหรือโฉนดชุมชน โดยไม่มี กำหนดระยะเวลาและให้สามารถสืบทอดทางมรดกได้ โดยการกำหนดเงื่อนไขให้รัฐสามารถที่จะ เพิกถอนโฉนดชุมชนได้ทั้งแปลงหากชุมชนไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐกับชุมชนและ รัฐบาลควรจะยกระดับที่ดินเป็นพื้นที่โฉนดชุมชนได้โดยกำหนดให้ทำข้อตกลง ระเบียบและกติกา ร่วมที่ชัดเจนจะช่วยให้ชุมชนเมืองสามารถพัฒนาชุมชนได้ดียิ่งขึ้นรวมถึงจะช่วยแก้ไขปัญหาชุมชน เมืองซึ่งเป็นปัญหาของเมืองใหญ่ทั่วประเทศen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4432
dc.language.isootheren_US
dc.subjectการจัดสรรที่ดินen_US
dc.subjectการรับรองสิทธิen_US
dc.subjectโฉนดชุมชนen_US
dc.titleปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินของรัฐในรูปแบบโฉนดชุมชนen_US
dc.typeThesisen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
11profile.pdf
ขนาด:
50.79 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
5chap1.pdf
ขนาด:
151.52 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.72 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: