ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระบบเกษตรพันธสัญญาตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ.2560

dc.contributor.authorวิภารัตน์ กล่อมทองen_US
dc.date.accessioned2562-05-22T07:02:31Z
dc.date.available2019-05-22T07:02:31Z
dc.date.issued2562
dc.descriptionวิภารัตน์ กล่อมทอง. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระบบเกษตรพันธสัญญาตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ.2560. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562.en_US
dc.description.abstractสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระบบเกษตรพันธสัญญาตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560 ของประเทศไทยโดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ โดยระบบเกษตรพันธสัญญาตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560 ในปัจจุบันยังขาดความสมดุลและไม่เป็นธรรม ขาดกลไกในการถ่วงดุลทั้งองค์กรกลางภาครัฐและบทบัญญัติของกฎหมายที่ชัดเจนรองรับการประกอบการในระบบเกษตรพันธสัญญาทำให้เกิดพฤติกรรมเอารัดเอาเปรียบและการทำสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับสัญญาระหว่างเกษตรกรและผู้ประกอบธุรกิจที่ยังมีปัญหาเรื่องความเป็นธรรมและมิได้คุ้มครองเกษตรในฐานะผู้มีอำนาจต่อรองที่น้อยกว่า ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการการลงโทษ ที่กำหนดบทลงโทษไม่ครอบคลุมและไม่เพียงพอ ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในระบบเกษตรพันธสัญญาที่ก่อให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกันระหว่างเกษตรกรและผู้ประกอบการ รวมถึงปัญหาที่ไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่อยู่ในระบบเกษตรพันธสัญญา ดังนั้น จึงควรมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้มีบทบัญญัติเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะการคุ้มครองเกษตรกรซึ่งไม่มีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการทำเกษตรพันธสัญญา จากการศึกษาพบว่า ต่างประเทศ มีการตรากฎหมายโดยมีการกำหนดวิธีการและขั้นตอนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสร้างความชัดเจน ความสมบูรณ์ และการบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพและมีข้อกำหนดของสัญญาการผลิตทางการเกษตร ซึ่งมีความเข้าใจง่ายความชัดเจนสามารถอ่านและเข้าใจได้โดยง่าย การจัดทำสัญญาต้องมิให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบและการกระทำของผู้ประกอบการต้องกระทำโดยคำนึงถึงเกษตรกร แต่กฎหมายในประเทศไทยนั้น ยังพบว่าการทำการเกษตรพันธสัญญานั้น เป็นการทำสัญญาระหว่างคู่สัญญาที่มีความไม่เท่าเทียมกันในทางเศรษฐกิจ คือระหว่างเกษตรกรกับบริษัทเอกชนซึ่งเป็นผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่า มีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายกว่า มีความรู้มากกว่า ดังนั้นบริษัทจึงมีอำนาจต่อรองที่เหนือกว่าเกษตรกรและนำไปสู่การทำสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับเกษตรกรรวมทั้งการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.identifier.citationวิภารัตน์ กล่อมทอง. 2562. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระบบเกษตรพันธสัญญาตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ.2560." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6207
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_วิภารัตน์ กล่อมทอง_T183607en_US
dc.subjectเกษตรพันธสัญญาen_US
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระบบเกษตรพันธสัญญาตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ.2560en_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS CONCERNING CONTRACT FARMING SYSTEM UNDER THE CONTRACT FARMING PROMOTION AND DEVELOPMENT ACT B.E.2560en_US
dc.typeOtheren_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 14
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
1.ปก (ภาษาไทย).pdf
ขนาด:
129.5 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
2.ปก (ภาษาอังกฤษ).pdf
ขนาด:
48.15 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
3.บทคัดย่อ (ภาษาไทย).pdf
ขนาด:
192.88 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
4.บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ).pdf
ขนาด:
166.3 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
5.กิตติกรรมประกาศ.pdf
ขนาด:
172.07 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: