อิทธิพลการพยากรณ์ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร ของกลุ่มพนักงานที่ส่งผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา พนักงานในองค์กรผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
dc.contributor.author | ทิวา เทียนเบ็ญจะ | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-11-26T09:48:32Z | |
dc.date.available | 2557-11-26T09:48:32Z | |
dc.date.issued | 2557-11-26T09:48:32Z | |
dc.description | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาอิทธิพลการพยากรณ์ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร ของกลุ่มพนักงานที่ส่งผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา พนักงานในองค์กรผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อค่านิยมในการทำงานของพนักงาน 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความผูกพันในการทำงาน 4) เพื่อศึกษาปัจจัย คุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร ที่มีอิทธิพลในการพยากรณ์ ต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานในองค์กรที่ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 277 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามในการวิจัย จำนวน 5 ส่วน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t-test, ANOVA และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) จากการศึกษาทำให้ทราบว่า พนักงานในองค์กรผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง และมีอายุระหว่าง 18 - 35 ปี (Generation Y) มีสถานภาพสมรส / อยู่ด้วยกัน และพนักงานส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี หรือเทียบเท่า รวมถึงมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 50,000 บาท มีอายุงานในองค์การปัจจุบัน ระหว่าง 0 - 3 ปี และเป็นพนักงานระดับชั้นต้น /บริการ อีกทั้งอยู่ใน ระดับปฏิบัติการ (ระดับ1-5) และจากการศึกษาทำให้ พบว่า พนักงานมีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน และ ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง รวมถึงมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง จากการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานในองค์กรที่ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กร พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุงานในองค์การปัจจุบัน และระดับตำแหน่งที่ต่างกันส่งผลต่อ คุณภาพชีวิตในการทำงาน แตกต่างกัน และด้านอายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุงานในองค์การปัจจุบัน ระดับตำแหน่งที่ต่างกันส่งผลต่อ ค่านิยมในการทำงานแตกต่างกัน รวมถึงปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุงานในองค์กรปัจจุบัน และระดับตำแหน่งที่ต่างกันส่งผลต่อ ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานแตกต่างกัน ในการทดสอบการพยากรณ์พบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานด้านความรอบรู้ในงาน ด้านความสามารถในการใช้วัสดุอุปกรณ์ และด้านการมาทำงานและตรงต่อเวลา และปัจจัยค่านิยมในการทำงาน มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานโดยรวมของพนักงาน และมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงาน ด้านปริมาณ ด้านคุณภาพงาน ด้านความสามารถในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ด้านความประพฤติและการปฏิบัติงานตามระเบียบวินัย ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ และด้านการพัฒนาตนเอง รวมถึง ปัจจัยความผูกพันต่อองค์กร มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานโดยรวมของพนักงานและมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานด้านความสามารถในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ด้านความสามารถในการเรียนรู้งานใหม่ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการมาทำงานและตรงต่อเวลา ด้านการพัฒนาตนเอง | en_US |
dc.description.sponsorship | หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4518 | |
dc.subject | คุณภาพชีวิตในการทำงาน | en_US |
dc.subject | พนักงานในองค์กรผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ | en_US |
dc.title | อิทธิพลการพยากรณ์ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร ของกลุ่มพนักงานที่ส่งผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา พนักงานในองค์กรผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.type | Article | en_US |