ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัด

dc.contributor.authorเพชรพลอย สุทธิมาth_TH
dc.date.accessioned2566-04-21T04:15:04Z
dc.date.available2023-04-21T04:15:04Z
dc.date.issued2566
dc.descriptionตารางประกอบth_TH
dc.description.abstractสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดอัตราดอกเบี้ย ผิดนัด เนื่องจากพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ได้มีการปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยผิดนัดให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่ในกรณีที่กฎหมายไม่ได้กำหนดกรอบเพดานอัตราดอกเบี้ยผิดนัดสูงสุดไว้ ทั้งการให้ศาลตีความว่าข้อตกลงในสัญญาที่ให้สิทธิเจ้าหนี้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดเป็นเบี้ยปรับ และหลักเกณฑ์การทบทวนการกำหนดการคิดดอกเบี้ยผิดนัด พบว่ายังมีปัญหาอุปสรรคและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาการกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่สูงเกินสมควรไม่มีประสิทธิภาพและเกิดความเป็นธรรมอย่างแท้จริง ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาการที่กฎหมายไม่ได้กำหนดกรอบเพดานอัตราดอกเบี้ยผิดนัดสูงสุด ในประเด็นนี้กฎหมายกำหนดให้คู่สัญญาตกลงเรียกดอกเบี้ยกันได้ โดยมิได้กำหนดกรอบเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไว้ เป็นการเปิดช่องให้คู่สัญญาตกลงเรียกดอกเบี้ยผิดนัดสูงสุดเพียงใดก็ได้ อันอาจทำให้ลูกหนี้ที่มักจะเป็นผู้ที่มีอำนาจต่อรองน้อยกว่าเป็นผู้เสียเปรียบ (2) ปัญหาการให้ศาลตีความว่าข้อตกลงในสัญญาที่ให้สิทธิเจ้าหนี้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดเป็นเบี้ยปรับ ในประเด็นนี้เมื่อสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้ ซึ่งมีข้อเคลือบแคลงว่าการปรับใช้กฎหมายของศาลดังกล่าวถูกต้องตามหลักกฎหมายเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญาซึ่งเกิดจากเจตนาของคู่สัญญาหรือไม่ อีกทั้ง การใช้ดุลพินิจในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เหมือนกันในแต่ละคดีหรือในแต่ละศาลจะทำให้เกิดความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจไม่อาจยึดถือเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ (3) ปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การทบทวนการกำหนดการคิดดอกเบี้ยผิดนัด ในประเด็นนี้หลักการที่ให้กระทรวงการคลังพิจารณาทบทวนอัตราดอกเบี้ยทุก 3 ปี อาจไม่มีความยืดหยุ่นและไม่ทันต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ดังนั้น จึงเห็นควรเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบด้วย (1) กำหนดให้มีกรอบเพดานอัตราดอกเบี้ยผิดนัดสูงสุดให้มีความชัดเจนและมิให้คู่สัญญาทำข้อตกลงยกเว้นเป็นอย่างอื่นได้ (2) บัญญัติกฎหมายให้ศาลมีอำนาจปรับลดดอกเบี้ยผิดนัดตามสัญญาได้ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดประชุมหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาหาแนวทางการกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อเป็นแนวทางให้ศาลมีคำวินิจฉัยไปในทิศทางเดียวกัน และหากโจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยผิดนัดโดยปล่อยระยะเวลาผิดนัดให้เนิ่นนานเกินสมควร ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยผิดนัดตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด (3) กำหนดระยะเวลาการทบทวนอัตราดอกเบี้ยผิดนัดทุกรอบระยะเวลาหนึ่งปี เพื่อให้มีความยืดหยุ่นไม่ผันผวนจนเกินไปและทันต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบันth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.identifier.citationเพชรพลอย สุทธิมา. 2566. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัด." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9099
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectหนี้เงินth_TH
dc.subjectอัตราดอกเบี้ยผิดนัดth_TH
dc.subjectเบี้ยปรับth_TH
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดth_TH
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS REGARDING DEFAULT INTEREST RATESth_TH
dc.typeThesisth_TH

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 13
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
หน้าปก (Final).pdf
ขนาด:
40.11 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
บทคัดย่อ (Final).pdf
ขนาด:
87.26 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
Abstract (Final).pdf
ขนาด:
64.38 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
กิตติกรรมประกาศ (Final).pdf
ขนาด:
52.29 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
สารบัญ (Final).pdf
ขนาด:
103.67 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: