ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรม ที่อยู่ในรูปแบบของ NON-FUNGIBLE TOKENS
dc.contributor.author | ณัฐนิชา ฝอยทอง | th_TH |
dc.date.accessioned | 2566-06-16T04:26:46Z | |
dc.date.available | 2023-06-16T04:26:46Z | |
dc.date.issued | 2566 | |
dc.description | ตารางและรูปภาพประกอบ | th_TH |
dc.description.abstract | สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการให้คุ้มครองงานศิลปกรรมที่อยู่รูปแบบของ Non- Fungible Tokens (NFTs) การนำงานศิลปกรรมมาสร้างเป็น NFTs เป็นวิธีการในการสร้างสรรค์ การนำเสนอ การจำหน่ายและการเป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ในรูปแบบใหม่โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสัญญาอัจฉริยะและบล็อกเชน NFTs ได้นำเสนอแนวคิดของการทำให้สินทรัพย์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่ซ้ำกันและไม่สามารถทดแทนกันได้เป็นโทเคนดิจิทัล (เรียกว่า “Tokenization”) ปัจจุบันงานอันมีลิขสิทธิ์จำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานศิลปกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวถูกนำมาสร้างมาเป็น NFTs (ในฐานะที่เป็น “สินทรัพย์อ้างอิงของ NFTs”) อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ยังไม่มีการกล่าวถึงงานศิลปกรรมที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs ยิ่งไปกว่านั้นในประเทศไทยยังไม่มีคดีที่มีประเด็นแห่งคดีเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานงานศิลปกรรมที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs ขึ้นสู่ศาล งานวิจัยฉบับนี้มุ่งจะศึกษาและวิเคราะห์ปัญหากฎหมาย 4 ประเด็น ได้แก่ 1) NFTs ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นงานศิลปกรรมเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือไม่ 2) งานศิลปกรรมที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs จะได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยอย่างไร 3) การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs และ 4) การซื้อขาย NFTs ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นงานศิลปกรรมบนแพลตฟอร์ม NFT Marketplaces ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทย ขอบเขตการศึกษาของงานวิจัยฉบับนี้จำกัดเฉพาะการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมประเภทจิตรกรรมและงานภาพถ่ายที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs โดยศึกษาจากความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศอังกฤษและกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทย โดยงานวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยทางเอกสารโดยศึกษาจากตำรา งานวิจัย บทความทางวิชาการและคดีที่เกี่ยวข้องรวมทั้งข้อมูลและองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าการสัมมนาทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า 1) NFTs เป็นโทเคนดิจิทัลซึ่งถือเป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น NFTs โดยตัวเองจึงไม่ใช่งานอันมีลิขสิทธิ์แต่อย่างใด NFTs อาจมีความสัมพันธ์กับงานศิลปกรรมที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงของ NFTs ในแง่ที่ว่า NFTs เป็นวิธีการหรือรูปแบบการแสดงออกซึ่งความคิดหรือเป็นวัตถุสื่อกลางที่ใช้ในการบันทึกงานงานศิลปกรรมอันเป็นงานมีลิขสิทธิ์ที่ถูกบันทึกหรือบรรจุไว้ใน NFTs เหล่านั้นเท่านั้น 2) งานจิตรกรรมหรืองานภาพถ่ายที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs สามารถได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หากเข้าเงื่อนไขการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายกำหนด 3) การละเมิดลิขสิทธิ์ที่อาจเกิดแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานศิลปกรรมที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs ได้แก่ (1) การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมที่เกิดขึ้นก่อนที่มีการนำงานศิลปกรรมมาสร้างเป็น NFT (2) การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการนำงานศิลปกรรมมาสร้างเป็น NFTs และ (3) การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs เนื่องจากการละเมิดเงื่อนไขการใช้งานของ NFTs นอกจากนี้ ประเทศไทยและประเทศอังกฤษยังไม่มีการฟ้องร้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ในงานอันมีลิขสิทธิ์ใด ๆ ที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs แม้มีการฟ้องร้องคดีในลักษณะดังกล่าวในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่คดีทั้งหมดได้ยุติลงด้วยการที่คู่ความตกลงระงับข้อพิพาทกันโดยที่ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีที่มีความเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์ที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs โดยตรงและ 4) การซื้อขาย NFTs ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นงานศิลปกรรมบน NFT Marketplaces ในกรณีที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 อาจเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงได้แก่ (1) กรณีการซื้อขาย NFTs ที่คู่สัญญาได้ตกลงกันโดยชัดเจนให้มีการโอนลิขสิทธิ์ในงานจิตรกรรมหรืองานภาพถ่ายที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงของ NFTs ด้วย และ (2) กรณีการซื้อขาย NFTs พร้อมใบอนุญาตให้ใช้งาน NFTs ซึ่งมีลักษณะเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิในงานจิตรกรรมหรืองานภาพถ่ายที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงของ NFTs | th_TH |
dc.description.sponsorship | Sripatum University | th_TH |
dc.identifier.citation | ณัฐนิชา ฝอยทอง. 2565. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรม ที่อยู่ในรูปแบบของ NON-FUNGIBLE TOKENS." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9201 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.subject | ลิขสิทธิ์ | th_TH |
dc.subject | งานศิลปกรรม | th_TH |
dc.subject | งานจิตรกรรม | th_TH |
dc.subject | งานภาพถ่าย | th_TH |
dc.subject | สินทรัพย์ดิจิทัล | th_TH |
dc.subject | บล็อกเชน | th_TH |
dc.subject | สัญญาอัจฉริยะ | th_TH |
dc.subject | Non- Fungible Token | th_TH |
dc.title | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรม ที่อยู่ในรูปแบบของ NON-FUNGIBLE TOKENS | th_TH |
dc.title.alternative | LEGAL PROBLEMS REGARDING COPYRIGHT PROTECTION ON ARTISTIC WORKS DIGITIZED IN THE FORM OF NON-FUNGIBLE TOKENS | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 14
กำลังโหลด...
- ชื่อ:
- (1) ปกในภาษาไทย (เหมือนปกนอก).pdf
- ขนาด:
- 39.87 KB
- รูปแบบ:
- Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
- ชื่อ:
- (3) ใบรับรองสารนิพนธ์ (เซ็นแล้ว).pdf
- ขนาด:
- 82.79 KB
- รูปแบบ:
- Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
- ชื่อ:
- (4) บทคัดย่อ ไทย-อังกฤษ.pdf
- ขนาด:
- 104.41 KB
- รูปแบบ:
- Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
- ชื่อ:
- (5) กิตติกรรมประกาศ.pdf
- ขนาด:
- 56.54 KB
- รูปแบบ:
- Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.71 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: