ปัญหากฎหมายในการใช้ดุลพินิจในการสอบสวน: ศึกษากรณีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
กำลังโหลด...
วันที่
2567
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
ประมวลกฎหมายยาเสพติด มีการกำหนดฐานความผิดโดยอาศัยพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของผู้ต้องหาเป็นหลัก แต่กลับไม่มีบทนิยามศัพท์เกี่ยวกับพฤติการณ์ที่เป็นเหตุฉกรรจ์ในความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด ทำให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจดุลพินิจในการสอบสวนต้องใช้ดุลพินิจในการตีความพฤติการณ์ต่าง ๆ ด้วย จึงทำให้เกิดความแตกต่างในการตีความและการตั้งข้อกล่าวหา
จากการศึกษาบทบัญญัติประมวลกฎหมายยาเสพติด ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553 หลักสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตามรัฐธรรมนูญและทฤษฎีอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกับเปรียบเทียบแนวทางการบังคับใช้กฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบ Civil Law อาทิประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่นแล้ว พบว่า การกำหนดฐานความผิดโดยอาศัยพฤติการณ์ในการกระทำความผิดนั้น สอดคล้องกับหลักการลงโทษที่ได้สัดส่วนและกฎหมายสากล แต่รูปแบบการสอบสวนของต่างประเทศที่ไม่แยกอำนาจสอบสวนออกจากอำนาจฟ้องเช่นประเทศไทยนั้นทำให้อัยการทำหน้าที่ในลักษณะกำกับดูแลทิศทางการสอบสวนและตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนไปในตัว การบังคับใช้กฎหมายที่ให้อำนาจดุลพินิจในการตีความอย่างกฎหมายยาเสพติดจึงชัดเจนและไปในแนวทางเดียวกันมากกว่าของประเทศไทย
คำอธิบาย
คำหลัก
การใช้ดุลพินิจในการสอบสวน, ความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด
การอ้างอิง
ณิชกานต์ เปลี่ยนวงศ์. 2567. “ปัญหากฎหมายในการใช้ดุลพินิจในการสอบสวน: ศึกษากรณีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.