ปัจจัยก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม และปัญหาการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ตามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดระยอง
กำลังโหลด...
วันที่
2543
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ตามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดระยอง จำแนกตามระดับชั้นยศ ประสบการณ์ และเขตพื้นที่ของที่ตั้งสถานีตำรวจภูธร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในจังหวัดระยอง จำนวน 333 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับปัจจัยก่อให้เกิดอาชญากรรม ปัญหาการป้องกันอาชญากรรม และปัญหาการปราบปรามอาชญากรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-text)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม โดยส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมาก ได้แก่ การลักลอบค้ายาเสพติดเพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยอื่น ๆ อยุ่ในระดับปานกลาง
2. ปัญหาการป้องกันอาชญากรรม โดยส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ขาดแคลนด้านงบประมาณและผู้ปฏิบัติงานขาดขวัญกำลังใจ นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลาง
3. ปัญหาการปราบปรามอาชญากรรม โดยส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ยานพาหนะ เครื่องมือสื่อสารมีไม่เพียงพอ และขาดขวัญกำลังใจ นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลาง
4. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีชั้นยศสัญญาบัตรและชั้นประทวน มีปัญหาการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมแตกต่างกัน โดยชั้นยศประทวนมีปัญหามากกว่าชั้นยศสัญญาบัตร
5. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีประสบการณ์มากและประสบการณ์น้อย มีปัญหาการป้องกันอาชญากรรมแตกต่างกัน โดยผู้ที่มีประสบการณ์มากมีปัญหามากว่าผู้ที่มีประสบการณ์น้อย
6. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีที่ตั้งของสถานีตำรวจภูธรในเขตเสี่ยงภัยมากและเขตเสี่ยงภัยน้อย มีปัญหาการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมแตกต่างกัน โดยผู้ที่อยู่ในเขตเสี่ยงภัยมากมีปัญหามากกว่าผู้ที่อยู่ในเขตเสี่ยงภัยน้อย
คำอธิบาย
คำหลัก
การป้องกันและปราบปราม, อาชญากรรม