ความพึงพอใจของครูและนักเรียนต่อสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาอาชีวศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา นนทบุรี เขต 1
กำลังโหลด...
วันที่
2551
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูและนักเรียนต่อสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาอาชีวศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา นนทบุรี เขต 1 และเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูและนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 เป็นครูจำนวน 167 คน และนักเรียนจำนวน 587 คน เลือกมาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) ตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจากแบบสอบถามของสุชาติ วงศ์ยงค์ศิลป์ และพชเยนทร์ รามสูตร เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา จำแนกเป็น 5 ด้าน จำนวน 56 ข้อ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือคือหาค่าความเชื่อมั่นโดยการหาค่าอัลฟ่าตามวิธีของครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.963 และความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยค่า IOC มีค่าอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ F-test และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้ Least Significant Difference (LSD) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า
(1) ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาอาชีวศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา นนทบุรี เขต 1 โดยรสมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นนักเรียนมีความพึงพอใจระดับปานกลางในด้านอาคารสถานที่ เรื่อง ความเหมาะสมของจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียน การจัดบรรยากาศในห้องเรียนให้สอดคล้องกับวิชาที่เรียน และปริมาณโต๊ะเก้าอี้ในโรงอาหาร
(2) ครูเพศหญิงมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมด้านการจัดการเกี่ยวกับครูและบุคลลากรทางการศึกษามากกว่าครูเพศชาย และครูที่มีวุฒิสามัญมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนมากกว่าครุที่มีวุฒิทางวิชาชีพด้านการบัญชี คอมพิวเตอร์และการตลาด
(3) นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้น ปวช. มีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของสถานศึกษามากกว่าผู้ที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้น ปวส. ทั้งในภาพรวมและรายด้าน 5 ด้าน นักเรียนชายมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมมากกว่านักเรียนเพศหญิงเฉพาะด้านการบริหาร ส่วนด้านอื่น ๆ นักเรียนทั้งชายและหญิงมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมไม่ต่างกัน และนักเรียนที่เรียนในสาขาการตลาดมีความพึงพอใจต่อสถาพแวดล้อมด้านครูและบุคลลากรทางการศึกษามากกว่านักเรียนที่เรียนสาขาคอมพิวเตอร์ ส่วนนักเรียนที่เรียนสาขาอื่นๆ มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน
คำอธิบาย
คำหลัก
โรงเรียนอาชีวศึกษา, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต