การเรียนการสอนแบบไฮบริด(Hybrid Learning)กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2563-12

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 หน้าที่ 213-224

เชิงนามธรรม

แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 – 2579 นวัตกรรมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่าง ก้าวกระโดด และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้ครูผู้สอนมีการตื่นตัว และปรับกระบวนทัศน์ใน การจัดการเรียนการสอนจากการเรียนการสอนแบบเดิม (Teaching Paradigm) พัฒนาระบบและกระบวนการ จัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เพื่อน าประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และ ความเหลื่อมล้ าภายในประเทศ จากสาเหตุดังกล่าวจึงเป็นที่มาของบทความเรื่อง การเรียนการสอนแบบไฮบริด (Hybrid Learning) กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้1) เพื่อศึกษา การเรียนการสอนแบบไฮบริดกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไข ปัญหาและอุปสรรคของการเรียนการสอนแบบไฮบริด กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนแบบไฮบริด กับการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 จากการศึกษาพบว่า การเรียนรู้แบบไฮบริด เป็นรูปแบบการสอนอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เหมาะต่อการน ามาใช้ในการเรียนรู้ในยุคการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นลักษณะการ ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ทั้งในลักษณะเผชิญหน้า และการเรียนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ในการสร้างองค์ ความรู้ได้อย่างหลากหลาย อันก่อให้เกิดการศึกษาที่มีคุณภาพและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้เรียน

คำอธิบาย

คำหลัก

การเรียนการสอนแบบไฮบริด, การพัฒนาคุณภาพการศึกษา, ศตวรรษที่ 21

การอ้างอิง

ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์, ภูริสร์ ฐานปัญญา, เกรียงไกร สัจจะหฤทัย. (2563). "การเรียนการสอนแบบไฮบริด(Hybrid Learning)กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21". วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ ปีที่ 12, ฉบับที่ 3 : หน้าที่ 213-224.