S_ISI-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
  • รายการ
    การเรียนการสอนแบบไฮบริด(Hybrid Learning)กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21
    (วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 หน้าที่ 213-224, 2563-12) ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์; ภูริสร์, ฐานปัญญา; เกรียงไกร สัจจะหฤทัย
    แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 – 2579 นวัตกรรมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่าง ก้าวกระโดด และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้ครูผู้สอนมีการตื่นตัว และปรับกระบวนทัศน์ใน การจัดการเรียนการสอนจากการเรียนการสอนแบบเดิม (Teaching Paradigm) พัฒนาระบบและกระบวนการ จัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เพื่อน าประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และ ความเหลื่อมล้ าภายในประเทศ จากสาเหตุดังกล่าวจึงเป็นที่มาของบทความเรื่อง การเรียนการสอนแบบไฮบริด (Hybrid Learning) กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้1) เพื่อศึกษา การเรียนการสอนแบบไฮบริดกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไข ปัญหาและอุปสรรคของการเรียนการสอนแบบไฮบริด กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนแบบไฮบริด กับการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 จากการศึกษาพบว่า การเรียนรู้แบบไฮบริด เป็นรูปแบบการสอนอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เหมาะต่อการน ามาใช้ในการเรียนรู้ในยุคการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นลักษณะการ ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ทั้งในลักษณะเผชิญหน้า และการเรียนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ในการสร้างองค์ ความรู้ได้อย่างหลากหลาย อันก่อให้เกิดการศึกษาที่มีคุณภาพและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้เรียน
  • รายการ
    ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งกับประสิทธิผลของสถานศึกษา เครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต2.
    (วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด., 2563-08) ปนัดดา จันตุ่ย; สิรินธร สินจินดาวงศ์.
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารความขัดแย้งของสถานศึกษาเครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ 2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษาเครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้ง กับประสิทธิผลของสถานศึกษาเครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษา เครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 131 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารความขัดแย้ง ในสถานศึกษาเครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( ค่าเฉลี่ย =3.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.88) 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา เครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย =4.12,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.52 และ3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งกับประสิทธิผลของสถานศึกษาเครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 โดยรวมมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01