การปฏิบัติตามพันธกรณีเกี่ยวกับมาตรการบังคับใช้ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและวิชาชีพบัญชีให้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม ตามมาตรฐานสากลว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแก่การก่อการร้าย
กำลังโหลด...
วันที่
2562
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและวิเคราะห์เกี่ยวกับการฟอกเงินผ่านผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและวิชาชีพบัญชีตามคำแนะนำของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน Financial Action Task Force: FATF รวมถึงมาตรฐานสากลว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism: AML/CFT ของประเทศไทยเปรียบเทียบสหราชอาณาจักร โดยศึกษาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาและผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวที่มีต่อผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและวิชาชีพบัญชี ทั้งนี้ เพื่อเสนอแนวทางการกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย
ผลจากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ยังมิได้กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและวิชาชีพบัญชีมีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม การจัดให้ลูกค้าแสดงตน (Know Your Customer: KYC) และตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (Customer Due Diligence: CDD) ส่งผลทำให้ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีข้อบกพร่อง โดยผลการปฏิบัติข้อแนะนำข้อที่ 22 อยู่ในเกณฑ์ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวถือเป็นด่านแรกที่มีความสำคัญในการตรวจสอบลูกค้า และช่วยในการป้องกันการฟอกเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 16 โดยกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและวิชาชีพบัญชีมีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องจากการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ด้าน AML/CFT และนำไปสู่การยกระดับผลการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT ของประเทศไทย
คำอธิบาย
จันทรา พูลโภคา. การปฏิบัติตามพันธกรณีเกี่ยวกับมาตรการบังคับใช้ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและวิชาชีพบัญชีให้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม ตามมาตรฐานสากลว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแก่การก่อการร้าย. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562.
คำหลัก
ฟอกเงิน, ทนายความ, บัญชี
การอ้างอิง
จันทรา พูลโภคา. 2562. "การปฏิบัติตามพันธกรณีเกี่ยวกับมาตรการบังคับใช้ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและวิชาชีพบัญชีให้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม ตามมาตรฐานสากลว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแก่การก่อการร้าย." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.