ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการสรรหาและที่มาของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

dc.contributor.authorพิจิตร เกิดจร
dc.date.accessioned2553-05-18T08:54:50Z
dc.date.available2553-05-18T08:54:50Z
dc.date.issued2553-05-18T08:54:50Z
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึง ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการสรรหาและที่มาของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกและฉบับเดียวของไทย ที่ได้กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามีที่มาอยู่ใน 2 แนวทางคือ มาจากการเลือกตั้ง 76 คน และมาจากการสรรหา โดยคณะกรรมการสรรหา 74 คน เหตุที่ต้องกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากระบบสรรหาก็เพราะว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ.2540 ซึ่ง กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งนั้น ถูกมองว่า ทำให้ได้สมาชิกวุฒิสภาที่มีความยึดโยง กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันก่อให้เกิดรัฐสภาในระบบเครือญาติเพราะว่าการเข้าสู่ตำแหน่งของสมาชิกวุฒิสภาจำต้องอาศัยฐานคะแนนเสียงของสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร หรือ ฐานเสียงของพรรคการเมือง และเมื่อได้รับเลือกแล้ว ก็จำต้องมีความผูกพันหรือผูกโยงและต้องตอบ แทนประโยชน์ให้ กับกลุ่มคะแนนเสียงที่ตนเองได้พึ่งพิง ทำให้สมาชิกวุฒิสภาเกิดความไม่เป็นกลาง ในการที่จะปฏิบัติหน้าที่ คณะร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 จึงได้พยายามแก้ ปัญหาโดยกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบครึ่ง หนึ่งให้มีที่มาจากการสรรหาโดยกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า “คณะกรรมการสรรหา” จำนวน 7 คน ซึ่งคณะกรรมการสรรหาทั้ง 7 คนนี้ ก็มาจาก ประธานองค์กรอิสระต่างๆ จำนวน 4 องค์กรด้วยกันคือ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานคณะ กรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน และมาจากตุลาการศาลต่างๆ อีก 3 ศาลคือ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุดและประธานศาลรัฐธรรมนูญ จากการศึกษาพบว่า สมาชิกวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นอกจากจะมีอำนาจหน้าที่ ในการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายแล้ว วุฒิสภายังมีอำนาจในการแต่งตั้ง ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรตรวจสอบต่างๆ อีกด้วย จะเห็นได้ว่าวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 นี้มีอำนาจมากในการที่จะให้คุณให้โทษต่อบุคคลในหลายหน่วยงาน แม้กระทั่งมีอำนาจในการที่จะถอดถอนวุฒิสมาชิกด้วยกัน เองด้วยซึ่งอำนาจของ สมาชิกวุฒิสภานั้นถือว่าเป็น 1 ใน 3 ของอำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจของประชาชน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ว่า “อำนาจ อธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย...”ดังนั้นเมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน แต่ประชาชนกลับไม่มีโอกาสในการที่จะใช้แต่กลับตกไป อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งมีเพียง 7 คนเท่านั้น ซึ่งบุคคลทั้ง 7 ต่างก็ไม่มีความเชื่อมโยงกับประชาชนแต่ประการใด แต่กลับไปมีความสัมพันธ์กับอำนาจของตุลาการเพราะเหตุว่าคณะกรรมการสรรหาส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด ก็มีที่มาจากองค์กรตุลาการทั้งสิ้น และการที่ให้คณะกรรมการสรรหาไปผูกโยงกับองค์กรตุลาการจึงทำให้อำนาจตุลาการได้ก้าวล่วงเข้าไปสู่อำนาจของนิติบัญญัติโดยตรง อันจะทำให้หลักทฤษฎีเรื่องของการแบ่งแยกอำนาจ ขององค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้งสาม คืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการผิดแปลกไป ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีการยกร่างในขณะประเทศ ชาติอยู่ในภาวะรัฐประหาร ของกลุ่มรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ประธานคณะกรรมการสรรหาบางส่วนเช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นต้น ก็ได้รับการแต่งตั้งมาจากคณะปฏิรูปการปกครอง อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งในภายหลัง ประธานคณะ กรรมการเหล่านี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการสรรหา อันพอจะวิเคราะห์ได้ว่าการกล่าวอ้างที่ว่าสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ถูกกล่าวหาว่าไม่มีความเป็นกลาง จึงไม่น่าจะมีเหตุ ผลมากนัก เพราะหากดูผลของการสรรหาของสมาชิกวุฒิสภา ที่มาจากคณะกรรมการสรรหาทั้ง 7 คนนี้ ก็ไม่อาจบอกได้ว่า จะได้สมาชิกวุฒิสภาที่มีความเป็นกลางอย่างไรทั้งไม่มีหลักประกันใดๆ ที่ จะบ่งบอกว่า บุคคลผู้เป็นคณะกรรมการสรรหาก็มีความเป็นกลางเช่นกัน จากปัญหาที่พบในการศึกษาดังกล่าวเห็นว่า ประเทศไทย ยังใช้ระบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนการได้มาซึ่งสมาชิกเพื่อมาทำหน้าที่ในด้านนิติบัญญัติก็ควรให้มีฐานที่มาจากประชาชนเพื่อ ความเชื่อมโยงระหว่างผู้แทนกับประชาชน ดังนั้นผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะ ให้มีการแก้ไขถึงที่มาของสมาชิกวุฒิสภาในส่วนที่มาจากการสรรหาว่า ให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ดังเช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยให้จำนวนสมาชิกวุฒิสภา เป็นไปตามสัดส่วนของประชาชนในแต่ละจังหวัดด้วยen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1715
dc.subjectกฎหมายen_US
dc.subjectคณะกรรมการสรรหาen_US
dc.subjectสมาชิกวุฒิสภาen_US
dc.subjectรัฐธรรมนูญen_US
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการสรรหาและที่มาของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550en_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 12
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
1title.pdf
ขนาด:
34.96 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
2abstract.pdf
ขนาด:
82.68 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
3acknow.pdf
ขนาด:
44.29 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
4content.pdf
ขนาด:
86.81 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
5chap1.pdf
ขนาด:
127.95 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.72 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: