การเพิ่มผลผลิตในกระบวนการเจาะ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน
dc.contributor.author | ชวลิต มณีศรี | en_US |
dc.contributor.author | กิติกุล ปุณศรี | en_US |
dc.contributor.author | วรพล พินสำราญ | en_US |
dc.date.accessioned | 2562-02-05T07:27:34Z | |
dc.date.available | 2019-02-05T07:27:34Z | |
dc.date.issued | 2561-12-20 | |
dc.description.abstract | อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน หรือเฟอร์นิเจอร์ประเภทที่ออกแบบเหมาะสมให้มีขนาดพอดีกับพื้นที่ที่ติดตั้ง เป็นงานผลิตผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า บริษัทกรณีศึกษาเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการผลิตเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าในโครงการห้องชุดที่พักอาศัย ซึ่งมีปริมาณห้องชุดจำนวนมากและมีความต้องการที่หลากหลาย ถึงแม้ว่าจะถูกผลิตบนชิ้นส่วนพื้นฐานเดียวกันก็ตาม ปัญหาพบคือ อัตราผลผลิตที่ยังไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนและเวลาในการส่งมอบด้วย จากการวิเคราะห์เวลาการทำงานพบว่า มีจุดคอขวดของสายการผลิตที่กระบวนการเจาะ เมื่อหาสาเหตุของปัญหาด้วยแผนผังก้างปลาพบว่า เกิดจากการใช้เวลาตั้งเครื่องจักรนาน และการมอบหมายงานที่ไม่เหมาะสม การจัดสมดุลสายการผลิตและการกำจัดความสูญเปล่าจึงถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหา ภายหลังการปรับปรุงอัตราการผลิตในกระบวนการเจาะของเครื่องเจาะคอมเพิ่มขึ้นเป็น 310 แผ่น จากเดิม 144 แผ่นต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 115 ประสิทธิภาพการทำงานร้อยละ 100 และสูงกว่าค่าเป้าหมาย 300 แผ่นต่อวัน ขณะเดียวกันอัตราการผลิตในกระบวนการเจาะของเครื่องเจาะใหญ่เพิ่มขึ้นเป็น 755 แผ่น จากเดิม 655 แผ่นต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 15 ประสิทธิภาพการทำงานร้อยละ 94 และใกล้เคียงค่าเป้าหมาย 800 แผ่นต่อวัน | en_US |
dc.identifier.citation | Proceeding | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5899 | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | en_US |
dc.relation.ispartofseries | - | en_US |
dc.subject | เฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน | en_US |
dc.subject | แผนภูมิก้างปลา | en_US |
dc.subject | จุดคอขวด | en_US |
dc.subject | สมดุลสายการผลิต | en_US |
dc.subject | การเพิ่มผลผลิต | en_US |
dc.title | การเพิ่มผลผลิตในกระบวนการเจาะ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |