การประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในอาคาร กรณีศึกษา อาคารสถานศึกษา 14 ชั้น

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2554-09-24T07:44:56Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในอาคาร โดยเลือก อาคารสถานศึกษา แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีศึกษา เนื่องด้วยเป็นอาคารที่ได้รับ ใบอนุญาตก่อสร้างในปี พ.ศ. 2532 ก่อนการบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับที่ 33 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ พ.ศ. 2532 กฎกระทรวงฉบับที่ 33 เป็นกฎหมายควบคุมอาคารที่มีการกำหนดให้อาคารสูงและ อาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องจัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัยตามที่กฎหมายกำหนด ด้วยเหตุนี้ทำให้ อาคารกรณีศึกษา ไม่ได้จัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัยตามที่กฎหมายกำหนด ความปลอดภัยด้านอัคคีภัยถือว่าเป็นส่วนสำคัญและเป็นพื้นฐานในการบริหาร ทรัพยากรอาคาร เนื่องจากอัคคีภัยถือเป็นอุบัติภัยที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ทรัพย์สิน และ ชื่อเสียงอย่างสูง โดยเฉพาะอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งมีผู้ใช้อาคารเป็นจำนวนมาก การประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัยสำหรับอาคารกรณีศึกษา จะทำให้ทราบถึง ข้อบกพร่องในด้านการป้องกันอัคคีภัย นำไปสู่การวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขและปรับปรุง การศึกษานี้ได้นำเอาข้อกำหนดด้านการป้องกันอัคคีภัยตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (แก้ไขเพิ่มเติม โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2537) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2540)) มาจัดทำเป็น แบบสำรวจและประเมิน การเก็บข้อมูลดำเนินการ โดยสอบถามข้อมูลจากผู้จัดการอาคาร แบบ และเอกสารต่าง ๆ ของอาคาร และจากการสำรวจโดยตนเอง ข้อบกพร่องและจุดเสี่ยงที่พบจาก การสำรวจและประเมินจะนำมาวิเคราะห์หาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ และนำ วิเคราะห์แนวทางในการปรับปรุงต่อไป III ผลการสำรวจและประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของอาคารกรณีศึกษา พบ ข้อบกพร่องทั้งหมด 22 รายการ จากรายการที่ทำการสำรวจทั้งหมด 42 รายการ โดยเป็นสภาพที่ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมาย 19 รายการ และปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎหมายแต่ขณะทำ การสำรวจพบว่าอยู่ในสภาพที่ใช้การไม่ได้ 3 รายการ เมื่อได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการแก้ไขปรับปรุงและเตรียมพร้อม รับมือเหตุอัคคีภัย ในการเสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงนั้น ได้คำนึงถึงความรุนแรงของผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุและความยากในการปรับปรุง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้จัดการอาคารและ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยในการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงให้อาคารมีความปลอดภัย ซึ่งความปลอดภัย ถือเป็นความต้องการพื้นฐานของผู้ใช้อาคาร และเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอในการ บริหารทรัพยากรอาคาร ในส่วนสุดท้าย ได้นำเสนอแนวทางในการจัดทำแผนการบริหารจัดการความปลอดภัย ด้านอัคคีภัย ซึ่งเป็นการกำหนดหน้าที่ของผู้รับผิดชอบ แผนการดำเนินงาน การตรวจสอบ และการ ติดตามประเมินผล ซึ่งผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปพัฒนาต่อเพื่อใช้เป็นแผนในการดำเนินงานสำหรับ อาคารในเรื่องการป้องกันอัคคีภัย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

คำอธิบาย

คำหลัก

การประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในอาคาร, อาคาร-- การบริหารความเสี่ยง, อัคคีภัยและการป้องกันอัคคีภัย

การอ้างอิง