การเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ชนิดเส้นด้ายไนลอนฟิลาเม้นท์
dc.contributor.author | บัณฑิตา เลิศแก้ว และ สุพัฒตรา ศรีญาณลักษณ์* | th_TH |
dc.date.accessioned | 2567-07-15T09:35:37Z | |
dc.date.available | 2024-07-15T09:35:37Z | |
dc.date.issued | 2567-05-01 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness; OEE) ในกระบวนการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ชนิดไนลอนฟิลาเม้นท์ ขั้นตอนวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษากระบวนการผลิต (2) เก็บข้อมูลของการสูญเสียที่ส่งผลต่อค่า OEE (3) จัดลำดับความสำคัญของปัญหา (4) วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และ (5) ปรับปรุงกระบวนการ งานวิจัยนี้เลือกผลิตภัณฑ์ A ที่ผลิตที่เครื่องจักร A20 เพื่อวิเคราะห์ค่า OEE จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ค่า OEE ต่ำเกิดจากประสิทธิภาพการเดินเครื่อง (Performance Efficiency; PE) จากปัญหาการขาดของเส้นด้าย (Yarn Break) และอัตราคุณภาพ (Quality Rate; QR) จากการเรียงตัวของเส้นด้ายที่ผิดปกติทำให้เกิดการเสียรูป การปรับปรุงทำโดยจัดทำระเบียบปฏิบัติงาน จัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance; PM) ในการตรวจสอบชิ้นส่วนทางผ่าน และการเข้าตรวจชิ้นส่วนที่มีผลต่อการเกิดการเสียรูป ผลลัพธ์หลังปรับปรุง พบว่าค่า OEE ในการปรับปรุงรอบแรกเพิ่มขึ้นจาก 66.36% เป็น 75.23% และเพิ่มขึ้นเป็น 79.71% ในการปรับปรุงรอบที่ 2 ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ A ที่เป็นระดับเกรด A เพิ่มขึ้น เกิดรายรับจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น 68,011 บาทต่อปี | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9810 | |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | OEE การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน กระบวนการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ การขาดของเส้นด้าย | th_TH |
dc.title | การเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ชนิดเส้นด้ายไนลอนฟิลาเม้นท์ | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
ไฟล์
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.71 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: