การคุ้มครองพยานในคดีอาญา: ศึกษาปัญหาการใช้มาตรการพิเศษเพื่อคุ้มครองพยานในคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547
dc.contributor.author | อุดมเดช ฟองอ่อน | th_TH |
dc.date.accessioned | 2566-08-24T04:04:58Z | |
dc.date.available | 2023-08-24T04:04:58Z | |
dc.date.issued | 2566 | |
dc.description | ตารางประกอบ | th_TH |
dc.description.abstract | สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องการคุ้มครองพยาน กรณีที่นำมาตรการพิเศษมาใช้ในการคุ้มครองพยานในคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ด้วยลักษณะของคดีพิเศษ เป็นคดีอาญาที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวน สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพิเศษ เป็นคดีอาญาที่หรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือระบบเศรษฐกิจการคลังของประเทศ ความผิดที่มีลักษณะเป็นการกระทำความผิดข้ามชาติหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม หรือคดีอาญาที่มีผู้ทรงอิทธิพลหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดี ในการดำเนินคดีอาญาดังกล่าวนี้จำเป็นที่จะต้องอาศัยพยานหลักฐานที่สำคัญทั้งพยานเอกสาร พยานวัตถุ และพยานบุคคล มาพิสูจน์ความผิด หรือความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลย โดยเฉพาะพยานบุคคลที่เป็นประจักษ์พยานนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเสนอข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย แต่พยานในคดีที่สำคัญดังกล่าวมักจะมีโอกาสและความเสี่ยงจากการมุ่งประสงค์ร้ายจากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อมิให้พยานบุคคลเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมอันจะให้การหรือเบิกความนำไปสู่การพิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดที่แท้จริงได้ หากจะนำมาตรการทั่วไปในการคุ้มครองพยานมาใช้กับพยานบุคคลที่อยู่ในคดีพิเศษอาจจะไม่สามารถป้องกันภยันตรายหรือภัยคุกคามที่เกิดขึ้นได้ จำเป็นที่จะต้องนำมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยที่เป็นมาตรการสูงสุด คือ มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยานมาใช้กับพยานในคดีพิเศษที่มีโอกาสหรือความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากการที่จะมาเป็นพยานหรือได้มาเป็นพยานนั้น ผลจากการศึกษาพบว่า การขอใช้มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 มิได้ระบุเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ชัดเจนถึงการนำไปใช้คุ้มครองพยานบุคคลที่อยู่ในคดีพิเศษ แต่บัญญัติเป็นการทั่วไปที่จำกัดให้การขอใช้มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยานจะต้องดำเนินการผ่านสำนักงานคุ้มครองพยาน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เพื่อให้เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย ซึ่งอาจเกิดความล่าช้าและไม่ทันต่อสภาพปัญหาหรือการป้องกันเหตุอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่เป็นพยาน ครอบครัว รวมถึงบุคคลที่ใกล้ชิดกับพยานได้ ในการนี้ ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวน สอบสวน และดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับคดีพิเศษ คือ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้สามารถรับคำร้องและเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย และดำเนินการใช้มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยานได้โดยตรง เพื่อให้พยาน ครอบครัว และบุคคลที่ใกล้ชิดกับพยาน ได้รับการคุ้มครองและช่วยเยียวยาด้วยวิธีการและรูปแบบที่รวดเร็ว เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ | th_TH |
dc.description.sponsorship | Sripatum University | th_TH |
dc.identifier.citation | อุดมเดช ฟองอ่อน. 2566. "การคุ้มครองพยานในคดีอาญา: ศึกษาปัญหาการใช้มาตรการพิเศษเพื่อคุ้มครองพยานในคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9327 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.subject | การคุ้มครองพยาน | th_TH |
dc.subject | มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยาน | th_TH |
dc.title | การคุ้มครองพยานในคดีอาญา: ศึกษาปัญหาการใช้มาตรการพิเศษเพื่อคุ้มครองพยานในคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 | th_TH |
dc.title.alternative | WITNESS PROTECTION IN CRIMINAL CASES: STUDY THE PROBLEMS OF USING SPECIAL MEASURES TO PROTECT WITNESSES IN SPECIAL CASES ACCORDING TO THE SPECIAL CASE INVESTIGATION ACT B.E. 2547 | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 13
กำลังโหลด...
- ชื่อ:
- กิตติกรรมประกาศ (Final).pdf
- ขนาด:
- 68.06 KB
- รูปแบบ:
- Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.71 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: