ปัญหากฎหมายในการดำเนินงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน: ศึกษากรณีการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมที่น่าสงสัย

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2556-10-16T02:00:54Z

ผู้เขียน

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

การศึกษาเรื่องปัญหากฎหมายในการดำเนินงานของสำนักงานป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน: ศึกษากรณีการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมที่น่าสงสัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวความคิดเกี่ยวกับการฟอกเงินของไทยและต่างประเทศ การใช้ดุลพินิจการเข้าถึงข้อมูลและ หลักการกำหนดให้การฟอกเงินเป็นความผิดทางอาญา (2) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ เข้าถึงข้อมูลของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทั้งของประเทศไทย และต่างประเทศ (3) วิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงข้อมูลของเจ้าหน้าที่ ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ และ (4) กำหนดมาตรการและข้อเสนอแนะในการเข้าถึงข้อมูลของผู้กระทำผิดฐานฟอกเงินและคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพของประชาชน ผลการศึกษาพบว่าตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 (1) มาตรา 38 (3) ให้อำนาจมากเกินไปแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการเรียกให้สถาบันการเงิน หรือส่วนราชการส่งข้อมูลหรือหลักฐานมายังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (2) การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ ป.ป.ง. ในการให้ผู้ประกอบการส่งมอบข้อมูลใน ธุรกรรมที่น่าสงสัยประการ เช่น มาตรการในการเข้าถึงบัญชี ข้อมูลทางการสื่อสารและข้อมูลทาง คอมพิวเตอร์ตามมาตรา 46 หลายครั้งเกิดจากเงื่อนไขการใช้อำนาจที่ไม่เหมาะสม ขาดความชัดเจน (3) การใช้ดุลพินิจพิจารณาธุรกรรมของพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการปฎิบัติตามกฎหมายหลาย ครั้งขาดพยานหลักฐาน และไม่มีเหตุผลเพียงพอทำให้เกิดความเสียหาย(4) การเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ไม่มีบทกำหนดโทษ และไม่มีอำนาจเข้าสู่ระบบคอม- พิวเตอร์ผ่านระบบอินเตอร์เนตของสถาบันการเงินได้โดยตรง ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสำหรับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ดังนี้ (1) ควรจะพิจารณาให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกระเบียบกำหนด องค์ประกอบหลัก- ฐานและเหตุผลในการปฎิบัติหน้าที่ ตาม มาตรา 38 ของ กรรมการธุรกรรม เลขาธิการ และพนักงาน เจ้าหน้าที่ (2) ควรหามาตรการการใช้อำนาจเกินกว่าเหตุของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจเป็นความผิด ตามกฎหมาย และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จะต้องรับผิดต่อความเสียหายที่อาจ จะเกิดขึ้น (3) ควรจะพิจารณาให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกระเบียบกำหนด องค์ประกอบของ การใช้ดุลพินิจ อันประกอบด้วย การใช้ดุลพินิจที่ไม่ขัดกับหลักกฎหมาย ไม่เกินขอบเขตที่กฎหมาย กำหนด ไม่บิดเบือนวัตถุประสงค์ของกฎหมายการฟอกเงิน มีขั้นตอนการพิจารณา มีพยานหลักฐาน หรือมีพยานบุคคล มีเหตุผลเพียงพอ และหรือข้อกำหนดอื่นๆ (4) ควรให้มีกฎหมายกำหนดบทลงโทษ ผู้เจตนาปกปิดรายการธุรกรรม การทำข้อมูลให้ สับสนเกินกว่าที่ควรจะเป็น การส่งรายการล่าช้า การบันทึกรายการธุรกรรมล่าช้า ให้กำหนดโทษ สมควรกับขนาดของธุรกรรม

คำอธิบาย

นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำหลัก

การฟอกเงิน, ธุรกรรม, การเข้าถึงข้อมูล, การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

การอ้างอิง