การสร้างสรรค์ภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์
dc.contributor.author | ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤดล จิตสกูล | th_TH |
dc.date.accessioned | 2564-02-05T08:12:38Z | |
dc.date.available | 2021-02-05T08:12:38Z | |
dc.date.issued | 2563-12-18 | |
dc.description.abstract | การสื่อสารด้วยภาพเป็นทักษะพื้นฐานของมนุษย์ในการถ่ายทอดเรื่องราวจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร การสร้างสรรค์ภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์ เป็นการออกแบบสื่อเพื่อสร้างการรับรู้ทางสายตาไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เน้นสื่อสารด้วยภาพประกอบมากกว่าการใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร ทำให้เกิดความโดดเด่น เกิดแรงดูดใจ ตลอดจนการตัดสินใจซื้อในสินค้าและบริการ ซึ่งถือเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ ในยุคปัจจุบันการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์ นิยมใช้ในช่องทางสื่อสารผ่านสื่ออย่างแพร่หลาย โดยหากแบ่งตามลักษณะสื่อ ของการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ สามารถแบ่งได้ 6 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1. การออกแบบเครื่องแต่งกาย 2. การออกแบบงานโฆษณา 3. การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ 4. การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ 5. การออกแบบสัญลักษณ์สื่อสารความหมาย และ 6. การออกแบบนิทรรศการ แต่ถ้าจะแบ่งตามประเภทของวิธีการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ สามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1. ภาพถ่าย 2. ภาพวาดลายเส้น 3. ภาพวาดระบายสี 4. ภาพพิมพ์ 5. ภาพกราฟิกและภาพวาดดิจิทัล และ 6. ภาพประกอบสื่อผสม ซึ่งนอกเหนือจากนี้แล้ว ยังสามารถแบ่งตามรูปแบบเนื้อหาของการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ได้อีก 3 รูปแบบ คือ 1. ภาพประกอบแบบเหมือนจริง 2. ภาพประกอบแบบดัดแปลงธรรมชาติ และ 3. ภาพประกอบแบบอิสระ | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7275 | |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การสร้างสรรค์ ภาพประกอบ การสื่อสาร การออกแบบพาณิชยศิลป์ | th_TH |
dc.title | การสร้างสรรค์ภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
ไฟล์
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.71 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: