ปัญหาและอุปสรรคการดาเนินคดีแบบกลุ่มในคดีผู้บริโภค
dc.contributor.author | จุฑามาศ วัฒนะศิริขจร | en_US |
dc.date.accessioned | 2555-03-09T09:11:15Z | |
dc.date.available | 2555-03-09T09:11:15Z | |
dc.date.issued | 2555-03-09T09:11:15Z | |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องคดีแบบกลุ่มในคดีผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันกฎหมายที่ใช้ในเรื่องดังกล่าวไม่มีบัญญัติไว้ จึงต้องอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 จึงก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องคดี การพิจารณาคดี และการบังคับคดี เพราะตามกฎหมายดังกล่าวเป็นการฟ้องคดีเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น ส่วนการดาเนินคดีแบบกลุ่มเป็นการพิจารณาคดีแบบพิเศษที่ต้องอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการฟ้องคดีแบบกลุ่มเป็นการเฉพาะ จากการศึกษาพบว่า ในต่างประเทศได้มีการนารูปแบบการดาเนินคดีแบบกลุ่ม (Class action) มาปรับใช้ในคดีที่มีผู้เสียหายจานวนมาก เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการดาเนินคดี ลดภาระการพิจารณาคดีของศาลและเพื่อให้การอานวยความยุติธรรมเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการดาเนินคดีแบบกลุ่มเป็นรูปแบบการดาเนินคดีที่ผู้แทนคดีดำเนินคดีแทนผู้เสียหายคนอื่นๆ ซึ่งมีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ใช้เรียกร้องเป็นอย่างเดียวกันโดยผู้เสียหายเหล่านั้นไม่จำต้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดี และคำพิพากษาของศาลจะผูกพันสมาชิกทั้งหมด หากมีการนาหลักการดำเนินคดีแบบกลุ่มมาปรับใช้แก่คดีผู้บริโภคที่มีผู้เสียหายจานวนมากแล้วย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เสียหายและต่อกระบวนพิจารณาคดีของศาล ผู้ศึกษาขอเสนอแนะให้มีการแก้ไขหลักการดาเนินคดีแบบกลุ่มโดยแก้ไขพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มขึ้นเป็นการเฉพาะโดยกาหนดให้มีการจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษและสร้างผู้พิพากษาที่ความเชี่ยวชาญในกระบวนพิจารณาคดีแบบ กลุ่ม และออกข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการคัดเลือกผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีแบบกลุ่มและควรมีการสอบใบอนุญาตว่าความในคดีแบบกลุ่ม และให้ผู้มีอำนาจ ดำเนินคดีแทนผู้บริโภคเป็นโจทก์ฟ้องคดีแบบกลุ่มได้ และให้ศาลมีอำนาจในการสงวนสิทธิแก้ไขคำพิพากษาและพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษ และให้มีการจัดตั้งศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลฎีกาแผนกการดาเนินคดีแบบกลุ่มและให้สมาชิกกลุ่มมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกา และบังคับคดี โดยให้หนี้ค่าเสียหายที่สมาชิกกลุ่มพึงได้รับนั้นเป็นหนี้ในลาดับเดียวกันกับหนี้บุริมสิทธิ ทั้งนี้ เพื่อให้รูปแบบการดาเนินคดีแบบกลุ่มในคดีผู้บริโภคมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มากยิ่งขึ้น | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3367 | |
dc.subject | การดำเนินคดีแบบกลุ่ม | en_US |
dc.subject | ผู้บริโภค | en_US |
dc.title | ปัญหาและอุปสรรคการดาเนินคดีแบบกลุ่มในคดีผู้บริโภค | en_US |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 12
กำลังโหลด...
- ชื่อ:
- 2abstract.pdf
- ขนาด:
- 152.42 KB
- รูปแบบ:
- Adobe Portable Document Format
- คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.72 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: