ตัวแบบการจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับ ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2560

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

Sripatum University

เชิงนามธรรม

สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจเปรียบเสมือนเหรียญเงินที่มีสองด้าน และต้องพิจารณาให้เกิดความเหมาะสมอย่างความสอดคล้อง การสร้างระบบเศรษฐกิจที่มุ่งไปสู่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะทำให้เกิดลดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมผ่านการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างสรรค์แนวทางหรือวิธีการเลือกใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน ทั้งนี้สหภาพยุโรปได้ใช้กลไกทางสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างข้อกีดกันทางการค้าแบบมิใช่ภาษีเพื่อปกป้องตลาดในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทยที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักในการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาตัวแบบ การจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับของภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดและเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศไทย การศึกษาได้ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสานด้วยวิธี Explanatory Research โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ส่งออกจำนวน 420 ตัวอย่าง มาทำการวิเคราะห์ทางสถิติได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์เส้นทางและสมการโครงสร้าง หลังจากนั้นดำเนินการวิจัย เชิงคุณภาพ ด้วยการสนทนากลุ่มจากผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษา พบว่า พลเมืองธุรกิจมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับ มากที่สุด รองลงมา คือ การจัดการโลจิสติกส์ขาไปและเทคโนโลยีสารสนเทศตามลำดับ จากผลการวิจัยเชิงปริมาณได้นำไปสู่การบูรณาการร่วมกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ตัวแบบการจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับที่เหมาะสม คือ MVP Model ประกอบไปด้วย การบริหารจัดการ (Management: M) การเพิ่มคุณค่า (Value Added: V) และกระบวนการ (Process: P)

คำอธิบาย

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ. ปีการศึกษา 2558. มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

โลจิสติกส์ย้อนกลับ, การจัดการโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

การอ้างอิง

ปุญญภณ เทพประสิทธิ์. 2559. "ตัวแบบการจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับ ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย." วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.